ธุรกิจขายตรงจัดเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน
ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมา นับตั้งแต่ “เอวอน” เข้ามาทำตลาดขายตรงในไทย และถือเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจแขนงนี้ในปี พ.ศ.2521 ธุรกิจขายตรงก็เริ่มเป็นที่รู้จักของคนกว้างขึ้นเรื่อยๆ
จากการกำเนิดของธุรกิจขายตรงนี้เอง ซึ่งจาก 1 บริษัท กลายเป็น 2 เป็น 3 และกว่า 800 บริษัทในปัจจุบัน สิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจขายตรง ได้รับความนิยมมากเพียงใด ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
เมื่อทุกสิ่งเข้าร่องเข้ารอย ในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2526 สมาคมขายตรงสมาคมแรกๆ ก็เกิดขึ้น นาม TDSA หรือสมาคมการขายตรงไทย ซึ่งขึ้นตรงกับ สมาคมพันธ์การขายตรงโลก หรือ WFDSA
ตลอดระยะเวลากว่า 29 ปี ของสมาคมการขายตรงไทย มีการเลือกตั้งผู้นำสมาคม หรือนายกสมาคมแล้ว 18 ครั้ง มีผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายกหมุนเวียนสลับบ้าง ซ้ำบ้าง 14 ท่าน โดยมี “ปรีชา ประกอบกิจ” อดีตกรรมการผู้จัดการ “แอมเวย์ ประเทศไทย” ที่ได้รับการคัดเลือกบ่อยครั้งมากที่สุด คือ 4 ครั้ง
ตำแหน่งนายกสมาคมการขายตรงไทย จะมีวาระการนั่งตำแหน่งครั้งละ 2 ปี โดยผู้ที่จะได้รับตำแหน่งจะต้องมาจากการลงคะแนนโหวตของบรรดาผู้บริหารแบรนด์ ขายตรง ที่เป็นสมาชิกของสมาคม
โดยสมาคมการขายตรงไทย ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 32 บริษัท ซึ่งล้วนเป็น บริษัทขายตรงทั้งสิ้น ซึ่งแต่ละปีจะมีการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมาคมประมาณ 2-3 บริษัท แต่ตัวเลขที่ออกมาว่า ปัจจุบันมีบริษัทสมาชิกเพียง 32 บริษัท เนื่องจากการ คัดเลือกบริษัทเข้าเป็นสมาชิกที่ยุ่งยาก ทำให้หลายบริษัทมีคุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์ สมาคม
TDSA หรือสมาคมการขายตรงไทย จัดว่าเป็นสมาคมที่เก่าแก่ที่สุด หากเทียบกับ 3 สมาคมขายตรงที่มีอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสมาคมอุตสาหกรรม ขายตรงไทย หรือสมาคมพัฒนาการขายตรงไทย ซึ่งเป็นสมาคมใหม่
เหตุที่ธุรกิจขายตรงต้องมีการรวมตัว ตั้งเป็นสมาคม ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะจับ กลุ่มบริษัทขายตรงด้วยกัน เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น ใช้สิทธิ์ใช้เสียงในการเรียกร้อง ความต้องการไปยังหน่วยงานภาครัฐในเรื่องต่างๆ
นี่คือเหตุผลหลักในการจัดตั้งสมาคม
โดยในเดือนมิถุนายนนี้ เป็นเดือนที่จะครบวาระ 2 ปีของนายกสมาคมคนปัจจุบันของสมาคมการขายตรงไทย ซึ่งมี “อิทธิศักดิ์ อำพันธ์ยุทธ์” กรรมการผู้จัดการ ใหญ่ ค่าย “คังเซน-เคนโก” นั่งในตำแหน่งนี้
จากผลงานเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ของท่านนายกสมาคมผู้นี้ TDSA ดูจะเงียบเหงา ไปเสียหน่อย เมื่อดูจากผลงาน หรือกิจกรรมที่สมาคมได้จัดขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบกับ 2 สมาคมร่วมวงการ เห็นได้ชัดว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทั้ง 2 สมาคม มีการเคลื่อนไหวที่ดีกว่า ดังกว่า อย่างเห็นได้ชัด ทั้งการประกาศลั่นของนายกสมาคม อุตสาหกรรมขายตรงคนใหม่อย่าง “อัศวิน วัฒนปราโมทย์” ที่ต้องการรวม 3 สมาคม ไทยที่มีอยู่ตั้งเป็นสมาพันธ์ขายตรงไทย เพื่อรวมกลุ่ม 3 ก๊กให้เป็น 1 สู้กับบริษัท ขายตรงต่างชาติ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือจะเป็นทางสมาคมพัฒนาการขายตรงไทย ที่จัดการอบรมผุดกิจกรรมไม่เว้นแต่ละไตรมาส
จากเหตุนี้เอง การเลือกตั้งนายกสมาคมการขายตรงคนใหม่ เห็นทีจะมีการเปลี่ยนหน้าอย่างแน่นอน เพราะมองแล้ว “อิทธิศักดิ์ อำพันธ์ยุทธ์” คงไม่ขอนั่งตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกันเป็นแน่
ตัวเก็งนายกสมาคมการขายตรงไทยในวาระต่อไป มองแล้วตามความเป็นจริง มีผู้เหมาะสมไม่มาก โดยหลายท่านที่เหมาะสมที่จะนั่งเป็นหัวของสมาคมในยุคขายตรงเฟื่องฟูเช่นนี้ ก็ดูแล้วจะพากันส่ายหัวไม่รับตำแหน่งไปหมด
ทำให้หลายฝ่ายมองไปที่ “ภคพรรณ ลีวุฒินันท์” ประธาน “นู สกิน ประเทศไทย” ที่เคยประกาศว่าพร้อมที่จะนั่งตำแหน่ง เพราะมองเห็นหลายโอกาส หากได้เป็นนายหัวสมาคม
นายกสมาคมการขายตรงไทยเป็นได้ไม่ยาก แต่ใครที่เป็นแล้วดี นี่คือเรื่องยาก เพราะจากที่ทราบ ปัจจุบันขายตรงเต็มไปด้วยเสือ สิงห์ กระทิง ทั้งนั้น
ซึ่งการรวมกลุ่มเป็นเรื่องดี แต่จ่าฝูงต้องดีด้วย ไม่เช่นนั้น ปากเสียงที่อยากจะมีเพื่อต่อรองกับภาครัฐ จะกลายเป็นปากเสียงที่ต่อรองกันเองในสมาคมมากกว่า..
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: นสพ.สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1305 ประจำวันที่ 2-6-2012 ถึง 5-6-2012
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น