ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วัดระดับความพอใจของธุรกิจขายตรงต่อผู้บริโภค ปี 2554-2555

ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใด ย่อมจะต้องสร้าง ความพึงพอใจต่อลูกค้าให้เกิดขึ้น เพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ และอาจมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในครั้งต่อไป สำหรับธุรกิจขายตรงเองถึงแม้ว่ารูปแบบการนำเสนอสินค้าจะเป็นรูปแบบของการนำเสนอสินค้าแก่ผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคเองเมื่อใช้แล้ว ย่อมจะทราบถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อสินค้านั้นๆ ผู้บริโภคจะเกิดการเรียนรู้ จดจำข้อมูล เพื่อเป็นปัจจัยในการประกอบการตัดสินใจในครั้งต่อไป รวมถึงโอกาสที่เกิดขึ้นในกรณีที่มีการแนะนำสินค้าและบริการต่อไป รวมถึงยุคของระบบ Social Network ที่พัฒนาและเข้าสู่วิถีชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบัน การสื่อสารกันอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับข้อมูล สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อธุรกิจหรือองค์กรทั้งสิ้นที่จะต้องให้ความสำคัญและมีความรับผิดชอบในการทำธุรกิจ บริษัท นาโน เซิร์ช จำกัด ได้ดำเนินการศึกษาผู้บริโภคจำนวน 200 ตัวอย่าง เกี่ยวกับแนวคิดของผู้บริโภคต่อการเปิดรับผลิตภัณฑ์รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายของทางผลิตภัณฑ์หรือสินค้าในธุรกิจขายตรง ซึ่งผู้บริโภคที่ทำการศึกษานั้นเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งนำข้อมูลมาเปรียบเทียบระหว่างปี 2555-2554 ในช่วงเวลาเดียวกันของการเก็บข้อมูล โดยขอนำเสนอในประเด็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อผลิตภัณฑ์ภายใต้ระบบธุรกิจขายตรงในภาพรวม ซึ่งความเชื่อมั่นเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยอย่างไรนั้น ทำการเปรียบเทียบระหว่างปี 2555 และ 2554 ผู้บริโภคประเมิน 2 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นในเรื่องของความพึงพอใจที่มีต่อสินค้า และประเด็นความเชื่อมั่นที่ในเรื่องของคุณภาพสินค้า พบว่า ในปี 2555 ประเด็นในเรื่องของความพึงพอใจที่มีต่อสินค้า อยู่ในระดับความพึงพอใจ 3.34 คะแนน (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) ซึ่งเดิมในปี 2554 ผู้บริโภคมีระดับความพึงพอใจด้วยคะแนน 3.43 คะแนน และ ประเด็นเรื่องความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของสินค้า อยู่ที่ 3.35 คะแนน (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) สำหรับปี 2554 นั้นผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.42 คะแนน กล่าวได้ว่า ผู้บริโภคซึ่งเคยใช้สินค้าภายใต้ระบบธุรกิจขายตรงแล้ว มีระดับความพึงพอใจปานกลางค่อนไปทางสูง นั่นแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีของผลิตภัณฑ์ในธุรกิจขายตรงดังกล่าว และทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าวมีระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก


เมื่อความต้องการของผู้บริโภคมีหลากหลายทำให้ธุรกิจเองมองถึงตลาดของธุรกิจขายตรงและช่องว่างทางการตลาดที่สามารถเข้าไปได้ ก็ทำให้เกิดสินค้าหรือบริการ ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย และดูเหมือนว่าสินค้าในธุรกิจขายตรงในปัจจุบันนี้ก็มีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว จากการสอบถามผู้บริโภคในปี 2554 พบว่า ผู้บริโภคนั้นมองสินค้าที่มีจำหน่ายในธุรกิจขายตรงในปัจจุบันมีเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคแล้ว คิดเป็น 50.7% และเห็นว่า สินค้าในตลาดของธุรกิจขายตรงนั้นในปัจจุบันมีมากเกินความจำเป็น คิดเป็น 38.3% จากทั้งสองประเด็นพบว่า ผู้บริโภคนั้นรู้สึกในเชิงที่สินค้ามีมาก-มากเกิน แต่ในมุมกลับกันของปี 2555 สิ่งที่ผู้บริโภคสะท้อนกลับมานั้นเกี่ยวกับสินค้าของระบบธุรกิจขายตรงที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาดในขณะนี้ ผู้บริโภคแสดงความคิดเห็นว่า สินค้าในระบบธุรกิจขายตรงในปัจจุบันมีมากเกินความจำเป็น คิดเป็น 54.5% ลำดับรองลงมาคือ สินค้าของระบบธุรกิจขายตรงในปัจจุบันนี้ มีเพียงพอกับความต้องการแล้ว คิดเป็น 37.5% และมีเพียง 8.0% เท่านั้นที่เห็นว่า สินค้าในระบบธุรกิจขายตรงในตลาดมีน้อยเกินไป ตามลำดับ


และในภาพรวมของการเข้าถึงสินค้าของผู้บริโภคต่อระบบธุรกิจขายตรง พบว่า ประเด็นที่น่าสนใจที่สะท้อนจากมุมมองของผู้บริโภค คือ ปี 2554 นั้น ผู้บริโภคเห็นว่าในปัจจุบันนี้การเข้าถึงธุรกิจขายตรงเป็นเรื่องที่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย คิดเป็น 91.0% และที่เห็นว่าสามารถเข้าถึงได้ยากนั้นมีเพียง 9% เท่านั้น และในปี 2555 ได้มีการพัฒนาวิธีการและระบบการเข้าถึงสินค้าของธุรกิจขายตรงในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาเพื่อให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย มีความสามารถในการเข้าถึง รับรู้ข้อมูลสินค้าได้มากขึ้น สำหรับสินค้าในระบบธุรกิจขายตรงปัจจุบัน ในมุมมองของผู้บริโภคมองว่า ตัวของผู้บริโภคเองนั้นสามารถเข้าถึงสินค้าในระบบธุรกิจขายตรงได้ง่าย ถึง 97% และ ที่มองว่าการเข้าถึงสินค้าในธุรกิจขายตรงทำได้ยากมีเพียง 3% เท่านั้น


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: นสพ.สยามธุรกิจฉบับที่ 1310 ประจำวันที่ 20-6-2012 ถึง22-6-2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น