ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สงคราม MLM ครึ่งปีแรก "รัฐ-เอกชน-สมาคม" สลับกันเด่น พาวงการร้อน!!

 


 








network-marketing-opportunities (Mobile)

จับประเด็น 6 เดือนแรกปี 56 ภาครัฐอย่าง "สคบ." ได้ผลงานนโยบายรณรงค์ "ตราสัญลักษณ์ สคบ." ผ่านฉลุย 29 บริษัทขายตรงผ่านสเป็ก รับมอบเรียบร้อย ด้านเอกชน "นีโอ ไลฟ์" จัดงานใหญ่ต่อเนื่อง พร้อมสานต่อ "นีโอ สตาร์ โปรเจกต์ 2" เด็กมัธยมร่วมประกวดร้อง เต้น ชิงรางวัลรวมกว่า 2 ล้านบาท "นู สกิน" เปิดตัวโฆษณาฟรีทีวีตัวแรก นับตั้งแต่ตั้งสาขาไทย "มิ้ลค์กี้ เวย์" แตกหักจากคู่รัก เปลี่ยนเป็นคู่แค้น ฝั่งสมาคมขายตรงกลายเป็น 4 ก๊ก หลัง TDNA เปิดตัวหนุนรัฐแก้กฎหมาย ตั้งหน่วยงานดูแลเฉพาะ ด้าน TDSA ชิงหาแนวร่วมตั้ง "สมาพันธ์ขายตรงอาเซียน" ตัดหน้า TSDA


+ สคบ. ยิ้มร่า 29 บ. น้อมรับ "ตราสัญลักษณ์"
"สำนักงานคณะกรรมการเลขาธิการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)" ดูจะอิ่มเอิบเป็นที่สุด ภายใต้การบริหารของ "จิรชัย มูลทองโร่ย" เลขาธิการคนปัจจุบัน จากนโยบายข้ามปีของหน่วยงาน รัฐนามนี้ว่าที่เรื่องการรณรงค์ให้ 26 ธุรกิจ เข้ามาขอรับ "ตราสัญลักษณ์ สคบ." เพื่อการันตีคุณภาพของบริษัทนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการยกระดับวงการธุรกิจทั้ง 26 วงการ


โดยนโยบายดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อประมาณกลางปี 55 ช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงตัวเลขาธิการ สคบ. จาก "นิโรธ เจริญประกอบ" ที่เกษียณตัวเองก่อนวัย มาเป็น "จิรชัย" ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ามากุมอำนาจของ สคบ.แทน ซึ่งหลังจากที่ได้เลขาธิการ สคบ.คนใหม่ เรียบร้อย นโยบาย "ตรา สคบ." กลายเป็นนโยบายหลักของหน่วยงาน ซึ่งต้องทำให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม โดยธุรกิจขายตรงเป็น 1 ใน 26 ธุรกิจที่ต้อง เข้าขอรับตราดังกล่าว


เรื่องนี้ยืดเยื้อกินเวลานานหลายเดือน ในการหาข้อสรุปว่ากฎกติกาของการขอรับ จะต้องมีอะไร อย่างไร โดยเฉพาะเรื่องของ การทำประกันกับบริษัทประกัน เพื่อเป็นทุน ในการเยียวยาผู้บริโภค หากเกิดเหตุที่ผู้บริโภค ได้รับความเสียหายจากการใช้สินค้า ซึ่งผู้ประกอบการของหลายบริษัทเห็นพ้องว่า เบี้ยประกันนั้นแพง อีกทั้งการจะทำประกันก็เป็นเรื่องเกินความจำเป็น สุดท้ายจากการ พูดคุยเสนอแนะหลายครั้ง ก็สรุปว่าบริษัท ส่วนใหญ่ยินยอมตามเงื่อนไขที่ สคบ.เปิดให้ธนาคารเข้ามาบริการตั้งกองทุนรับประกัน แทน และราคาของการตั้งกองทุนเยียวยาก็ถูกกว่า จนวันที่ 30 เม.ย. กลายเป็นวันดีของ สคบ.ที่ธุรกิจขายตรง 29 บริษัทได้รับตราสัญลักษณ์ดังกล่าว


+ ค่ายใหญ่รุกลูกค้ากลุ่มใหม่/ "มิ้ลค์กี้ เวย์" แตกหัก


หากจะว่าไปช่วงครึ่งปีแรกถือเป็น ช่วง Low Season ของวงการขายตรงก็ว่า ได้ จากการบอกเล่าของเหล่ากูรูผู้คลุกคลีกับ ขายตรง รวมทั้งบรรดาผู้ประกอบการระดับ หัวแถว ต่างก็ให้ความเห็นที่ไม่ต่างกันว่า ช่วงครึ่งปีแรกยอดขายจะไม่ดีเท่าช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งในช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายของแต่ละ ปี จัดว่าเป็นช่วงโกยเงินที่บริษัทขายตรงจะ วัดกึ๋น วัดคม แชร์ตลาดกันอย่างเผ็ดร้อน


แต่ถึงกระนั้น หลายบริษัทก็อาศัยช่วง เวลานี้ในการโหมตลาด โดยไม่ทิ้งเวลาให้ผ่านไปอย่างไร้ประโยชน์ เริ่มตั้งแต่บริษัท นีโอ ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ภายใต้การกุมบังเหียนของ "ดร.นพรุจ เวชกุล" และ "ดร.รัชนี มหานิยม" ที่ยังคงโหมกิจกรรมในทุกสัปดาห์ ที่จะมีการอบรมประชุมสร้างนักธุรกิจมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด นอกจากนี้ ในทุกเดือนก็ยังมีในเรื่องของการมอบเข็มเกียรติยศให้กับนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ อย่างต่อเนื่อง จนได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่มีผู้ประสบความสำเร็จมากที่สุดของเมืองไทย


นอกจากนี้ "นีโอ ไลฟ์" ยังได้จัดประกวด "นีโอ สตาร์ โปรเจกต์ 2" ภายใต้ โครงการประกวดร้องเพลง และลีลาประกอบเพลงระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ชิงถ้วยเกียรติยศพร้อมเงินสนับสนุน ครั้งที่ 1 ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 2 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นกิจกรรมการที่บริษัทจัดเพื่อสมาชิกได้ร่วมความบันเทิง ทั้งยังอาจส่งผลให้มีการ เดินเข้ามาของนักธุรกิจเลือดใหม่


ไม่เพียงแต่ "นีโอ ไลฟ์" ที่ขยับตัว อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา บริษัท นู สกิน เอ็นเตอร์ไพร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ก็ออกตัวในปีนี้ได้แรงไม่แพ้กัน โดยบริษัทได้ทำหนังโฆษณา 30 วินาที ผ่านสื่อฟรีทีวี เพื่อเป็นการสร้างแบรนด์ให้กับบริษัท โดยเนื้อหาจะเน้นไปที่สินค้ากลุ่มชะลอริ้วรอย ซึ่งเป็นสินค้าหัวหอกของบริษัท ผ่านงบประมาณที่บริษัทตั้งไว้คือ 20 ล้านบาท


จากข่าวดีมาถึงข่าวที่ไม่ค่อยดีบ้าง ในช่วงครึ่งปีแรกของปี บริษัท มิ้ลค์กี้ เวย์ เน็ตเวิร์ค จำกัด แตกหักกลายเป็น 2 จากการหย่าร้างกับภรรยาของ "สุมิตร วชโรดมทรัพย์" จนต้องมาตั้งบริษัท มิ้ลค์กี้ เวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด และต้องเปลี่ยนสถานะจากคู่รัก กลายเป็นคู่ที่ต้องห้ำหั่นทางธุรกิจแทน


+ TDNA เปิดตัวดันแก้ ก.ม./TDSA เร่งตั้งสมาพันธ์ฯ


อีกประเด็นร้อนประจำครึ่งปีแรก คือ การเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการของ "สมาคมธุรกิจเครือข่ายขายตรงไทย (TDNA)" โดยในงานแถลงข่าวเปิดตัว ก็สร้างความฮือฮาด้วยการตั้งม็อบเรียกร้องให้ภาครัฐยกระดับวงการขายตรง โดยเน้นประเด็นหลักไปที่เรื่องของการแก้ไขกฎหมายขายตรงในหลายประเด็น รวมถึงผลักดันให้มีการ ตั้งหน่วยงานที่จะเข้ามากำกับดูแลวงการขายตรงอย่างเฉพาะ ไม่ใช่เพียงเป็นแผนกหนึ่งใน สคบ.ที่มีคนดูแลเพียง 6 คน อย่างปัจจุบัน


การเดินหน้าผลักดันนโยบายของ TDNA มาควบคู่กับการว่าจ้างให้ "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย" ทำวิจัยวงการขายตรงในชนิดทุกมิติ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการรณรงค์การแก้ไขกฎหมายขายตรง รวมถึงไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคตต่อไป


ในส่วนของความเคลื่อนไหวของสมาคม ขายตรงที่มีอยู่ 4 สมาคมในปัจจุบัน ดูจะมีเพียง TDNA และ "สมาคมการขายตรงไทย (TDSA)" เท่านั้นที่ขยับตัวเป็นประเด็นในช่วงนี้ โดยฝั่ง TDSA ก็เตรียมเดินหน้าตั้ง "สมาพันธ์ขายตรงอาเซียน" เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของ AEC ซึ่งจะเป็นการ รวมสมาคมขายตรงของประเทศต่างๆ ในอาเซียน แต่ทุกสมาคมต้องอยู่ภายใต้ "สมาพันธ์การขายตรงโลก (WFDSA)" โดยในการผลักดันตั้งสมาพันธ์ขายตรงอาเซียน ดูจะไปทับเส้นกับ "สมาคมพัฒนา การขายตรงไทย (TSDA)" ที่ต้องการตั้งสมาพันธ์ขายตรงอาเซียนเช่นกัน


ทั้งนี้ จากประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกในปี 56 วงการขายตรงยังแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันของธุรกิจที่ร้อนระอุไม่เว้นช่วง ทำให้ตีความได้ชัดเจนว่า ธุรกิจขายตรงนี้ได้รับความนิยมมากมายเพียงใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น