ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

"ขายตรง"จ่อปรับราคารับต้นทุนพุ่ง แอมเวย์นำร่องขึ้น6%-มิสทินลดโปรโมชั่นแก้เกม


ค่าย ขายตรงจ่อขยับราคาตามต้นทุนค่าแรง-วัตถุดิบ แอมเวย์นำร่องรายแรก มิสทินอั้นไม่ไหวเล็งขึ้นราคาสินค้าใหม่ ส่วนสินค้าเดิมทยอยขึ้นปีหน้า ปรับชูกลยุทธ์ "จุดคุ้มทุน" ลดเปิดตัวสินค้าใหม่ หั่นงบฯโปรโมชั่น พร้อมผุดไซซ์ประหยัด เล็งตั้งโรงงานพม่าอีก 2 ปี ด้านกิฟฟารีนรอซัพพลายเออร์ส่งสัญญาณขึ้นราคาก่อนสรุปครึ่งปีหลัง เน้นจัดซื้อวัตถุดิบล่วงหน้าแก้เกม ส่วนอาวียองซ์ยันไม่มีนโยบายปรับราคา


นโยบาย ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ 1 เมษายน กลายเป็นประเด็นที่ร้อนแรงและน่าจับตาอย่างใกล้ชิดในช่วงหลังจากนี้ เพราะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของทุกกลุ่มอุตสาหกรรม รวมไปถึง "ธุรกิจขายตรง" ที่มองทั้งโอกาสจากกำลังซื้อของผู้บริโภครากหญ้าที่จะเพิ่มขึ้น แต่อีกมุมก็มีความเสี่ยงจากต้นทุนต่าง ๆ ทั้งราคาน้ำมัน ต้นทุนวัตถุดิบต่างๆ ค่าบริหารจัดการ ที่พร้อมใจกันปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ค่ายขายตรงเตรียมขยับราคาให้สอดคล้องกับโครงสร้างต้นทุนใหม่


แอมเวย์ขึ้นราคารอบ 4 ปี


จริง ๆ ค่ายที่ขยับตัวในเรื่องนี้อย่างชัดเจนคือ "แอมเวย์" ที่ยอมรับว่าต้องมีการปรับขึ้นสินค้าบางรายการเฉลี่ย 6% ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนถึงทิศทางการปรับราคาของอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างชัดเจน จากการเปิดเผยของนางรัตนา ชาญนรา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ในช่วงต้นเดือนมีนาคมว่า เป็นการปรับราคาในรอบ 4 ปี เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าบริหารจัดการแอมเวย์ช็อปที่มีการปรับตัวสูง ขึ้นทุกปี ซึ่งแม้ว่าจะทำให้โอกาสการขายลดลง แต่ก็เชื่อมั่นว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และประสิทธิภาพของสมาชิกในการให้คำแนะนำลูกค้าจะยังให้แข่งขันได้


หวั่นขึ้นค่าแรงกระทบต้นทุน


นาย ดนัย ดีโรจนวงศ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้มีเม็ดเงินสะพัดในตลาด ช่วยให้พฤติกรรมการจับจ่ายดีขึ้น ซึ่งแม้ว่าจะเริ่มนโยบายดังกล่าว


สิ้น เดือนเมษายน แต่เชื่อว่าในแง่ของจิตวิทยาจะกระตุ้นบรรยากาศการใช้จ่ายให้คึกคักตั้งแต่ ต้นเดือนเมษายน ซึ่งมีจำนวนวันหยุดหลายวัน โดยบริษัทคาดว่าจะมียอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก 10% จากปัจจุบันมียอดใช้จ่ายเฉลี่ย 1,700 บาท


อย่างไรก็ตาม ในแง่ของค่าครองชีพก็มีแนวโน้มที่จะปรับสูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตและสินค้าสำเร็จรูปมีแนวโน้มปรับขึ้น เฉลี่ย 3-10% เมื่อเทียบค่าแรงที่ปรับขึ้น 40% ยังเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยกว่า


"สิ่งที่น่ากังวลคือต้นทุนค่าแรง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะที่ส่งออกต้องปรับตัวเปลี่ยนมาใช้เครื่อง จักรแทนแรงงานคนหรือย้ายฐานการผลิต ส่วนต้นทุนวัตถุดิบเชื่อว่ามีกลไกของตลาดเป็นตัวควบคุมราคา ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาทดแทนและยังมีข้อ ดีจากการเปิดเออีซีในปี 2558"


มิสทินเล็งขึ้นราคาสินค้าใหม่


นาย ดนัยกล่าวว่า ปัจจุบันต้นทุนวัตถุดิบของมิสทินคิดเป็นสัดส่วน 80% ต้นทุนค่าแรง 20% หลัก ๆ เป็นค่าแรงในกลุ่มสกินแคร์และแป้งมีสัดส่วน 10% และต้นทุนค่าแรงกลุ่มเมกอัพมีสัดส่วนเฉลี่ย 7-9% กรณีการปรับขึ้นค่าแรงจะทำให้ต้นทุนค่าแรงในกลุ่มสินค้าเมกอัพเพิ่มขึ้น 4-5% ส่วนต้นทุนค่าแรงในกลุ่มแป้งและสกินแคร์เพิ่มขึ้น 6-7% ทำให้สินค้าใหม่ที่จะออกมาทำตลาดในอีก 1-2 เดือนข้างหน้ามีราคาที่สูงขึ้น สะท้อนโครงสร้างต้นทุนที่แท้จริง


สำหรับสินค้าที่มีจำหน่ายในตลาด อยู่แล้ว บริษัทไม่มีแผนปรับขึ้นราคาภายในปีนี้ แต่จะทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าเฉลี่ย 2-5% โดยดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปครั้งละ 2% ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ต้นปี 2556


ลดสินค้าใหม่-ผุดไซซ์ประหยัด


นอก จากนี้ บริษัทได้ศึกษาแนวทางรับมือไว้หลายวิธี โดยกลางปีนี้จะเริ่มใช้กลยุทธ์จุดคุ้มทุนหรือ optimum point อาทิ ออกสินค้าใหม่ลดลงเหลือ 40-50 รายการ จากปีก่อน 70 เอสเคยู โดยจะเลือกออกสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และคาดว่าจะเป็นสินค้าที่ได้รับการตอบรับมากที่สุด ในแง่ของการผลิตก็มีการใช้บรรจุภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้ "economy of scale" ดีขึ้น รวมถึงเลือกสินค้าที่มียอดขายดีนำมาพัฒนาขนาดใหม่ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นหรือ ไซซ์ขนาดประหยัด แต่ยังคงตอบโจทย์ความพึงพอใจในตัวสินค้าและราคา พร้อมประหยัดงบฯกิจกรรมลดแลกแจกแถม


"มิสทินเป็นมาร์เก็ตติ้งคอมปะนี จึงไม่มีโรงงานผลิตในประเทศ แต่ในต่างประเทศมีโรงงานผลิตแป้งโรยตัวและโรลออนในพม่า อีก 2 ปีข้างหน้าจะขยายโรงงานแห่งใหม่ในพม่า เพื่อผลิตสินค้า


ทุกรายการรอง รับการเปิดตลาดอาเซียน ทั้งนี้มองว่าพม่ามีศักยภาพในแง่ของทรัพยากรและค่าแรงงานถูกกว่า แนวโน้มระบบโลจิสติกส์ในการจัดส่งที่ดี"


กิฟฟารีนรอสรุปครึ่งปีหลัง


นายพงศ์พสุ อุณาพรหม ผู้อำนวยการใหญ่สายงานการตลาด บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด กล่าวว่า บริษัทยังไม่มีนโยบายปรับขึ้นราคาสินค้าและยังคงราคาไว้ตลอด 5 ปี เนื่องจากโครงสร้างราคาสินค้าเป็นไปตามต้นทุนจริง ซึ่งขณะนี้ซัพพลายเออร์วัตถุดิบยังไม่มีรายใดปรับขึ้นราคา และบริษัทมีการบริหารต้นทุนที่เหมาะสม ทั้งในแง่ของการคาดการณ์สต๊อกล่วงหน้า ซึ่งขณะนี้เตรียมไว้ถึงเดือนกันยายนและการวางแผนซื้อวัตถุดิบเป็นวอลุ่มใหญ่ ทำให้ราคาต้นทุนค่อนข้างนิ่ง


"ถ้าต้นทุนวัตถุดิบขึ้นราคาและเรารับไม่ไหวก็จำเป็นต้องขึ้น แต่ตอนนี้ยังไม่มี ต้องรอดูครึ่งปีหลัง ในแง่บุคลากรก็ต้องปรับขึ้นค่าแรง แต่ไม่ผลักภาระให้ผู้บริโภค ดูว่าจะลดต้นทุนอะไรได้ เพิ่มประสิทธิภาพโปรดักต์และบุคลากร"


ด้านขายตรงอาวียองซ์ในเครือยู นิลีเวอร์ นางสาวอดิศรา วัลลภศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ภาคธุรกิจผลิตภัณฑ์ชั้นสูง บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ยอมรับว่า นโยบายขึ้นค่าแรงถือเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทได้มีการพิจารณาประเด็นดังกล่าว แต่ยังไม่มีแผนปรับขึ้นราคา และเบื้องต้นอาจจะยังตรึงราคาไว้ก่อน


ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น