ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อุทธรณ์ยืนคุกผู้บริหารแชร์บลิสเชอร์1.2แสนปี



วันนี้ (23ม.ค.) ที่ห้องพิจารณา 901 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำ ด.4756/2537 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท บลิสเชอร์ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด , น.ส.อังสุนีย์ พัฒนานิธิ อดีตกรรมการบริษัทฯ น.ส.ปัรจวรรณ เบญจมาศมงคล อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทฯและผู้ถือหุ้น นายแสงทอง แซ่กิม อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทฯและพนักงานฝ่ายขายอิสระ และนายอรรณพ หรือ อาร์ต กุลเสวตร์ อดีต ผจก.สาขาศูนย์สีลม เป็นจำเลยที่ 1- 5 ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ประกอบ 83 และความผิดตาม พ.ร.ก.ว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 4, 5, 12 และ 15


โจทก์ฟ้องระบุความผิดสรุปว่า ระหว่างวันที่ 18 ก.ค. 34 - 11 ก.พ. 37 บริษัทฯ ซึ่งประกอบธุรกิจจัดสรรวันพักผ่อน หรือไทม์ แชริ่ง โฆษณาชักชวนประชาชนให้สมัครสมาชิกใช้บริการที่พักฟรีตามสถานที่พักตากอากาศ หรือโรงแรมที่บริษัทฯ จำเลยจัดไว้ 4 วัน 4 คืนต่อปี นาน 20 ปี มีรูปแบบการสมัครสมาชิกเป็นรูปแบบบัตรทอง และบัตรเงิน โดยบัตรเงิน จ่ายค่าสมาชิกปีละ 30,000 บาท พร้อมค่าบำรุงปีละ 2,500 บาท และบัตรทอง จ่ายค่าสมาชิก 60,000 บาท พร้อมค่าบำรุงปีละ 4,500 บาท หากสมาชิกรายใดจะสมัครเป็นฝ่ายขายต่อจะต้องเสียค่าสมัครเพิ่ม 1,500 บาทต่อปี และหากหาสมาชิกได้จะได้ค่านายหน้าเพิ่มรายละ 5,000 บาท มีผู้เสียหายหลงเชื่อสมัครเป็นสมาชิก 24,189 ราย มูลค่าความเสียหาย 826,266,000 บาท


ต่อมากระทรวงการคลังพบว่าจำเลยไม่อาจดำเนินการซื้อขายสินค้าตามที่ประกาศได้ เพราะไม่มีสินค้า และให้ค่าตอบแทนในวิธีฟรีโฟร์ คิดแล้วสูงกว่าดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนด ไม่มีการประกอบกิจการจริง อันเป็นการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นการฉ้อโกงประชาชน จำเลยให้การปฏิเสธ


คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2551 ให้จำคุกจำเลยที่ 2 , 4 และ5 ซึ่งเป็นกรรมการที่มีอำนาจในบริษัทฯ ฐานฉ้อโกงประชาชน คนละ 120,945 ปี แต่ตามกฎหมายเมื่อรวมลงโทษทุกกระทงแล้วคงให้จำคุกจำเลยทั้งสามได้ไม่เกิน 20 ปี จึงให้จำคุกจำเลยที่ 2,4 และ 5 คนละ 20 ปี และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1และ 3 เนื่องจากพบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นกับการวางแผนบริหารนโยบายดังกล่าว


โจทก์ ยื่นอุทธรณ์ ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 ด้วย ส่วน จำเลยที่ 2 , 4 และ 5 ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง ภายหลังจำเลยที่ 5 ถอนอุทธรณ์ขอรับโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยวันนี้จำเลยที่ 2 และ 4 ไม่เดินทางมาศาล มีเพียงจำเลยที่ 3 มาศาลคนเดียวเท่านั้น ศาลจึงอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ลับหลังจำเลย ที่ 2 และ 4 พร้อมกับให้ออกหมายจับ ปรับนายประกันจำเลยที่ 2 และ 4


ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้วรับฟังได้ว่า อุทธรณ์ของโจทก์ว่า จำเลยที่ 3 กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่าแม้โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการบริหารบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 อีก 2 บริษัท แต่พยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนกระทำความผิดร่วมกับคนอื่นหรือไม่ ซึ่งคดีนี้เป็นคดีทางอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ มีความซับซ้อนกว่าคดีอาชญากรรมพิเศษทั่วไป เมื่อคดีมีข้อสงสัยจึงยกประโยชน์แห่งการสงสัยให้จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น


ส่วนจำเลยที่ 2 และ 4 กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่าที่จำเลยที่ 2 และ 4 ยกข้อกฎหมายมานั้น ฟังไม่ขึ้น อีกทั้งโจทก์นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้ง 2 มีอำนาจบริหารสั่งการในบริษัทของจำเลยที่ 1 เห็นว่าก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 มีกลุ่มบริษัทต่างๆทั้งที่สุจริตและไม่สุจริตเกิดขึ้นมากมาย ที่ไม่สุจริตได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมหาศาล ทำให้มีการออกกฎหมายจำนวนมากออกมาแก้ไข ความผิดในกรณีนี้ เกี่ยวข้องกับกฎหมาย พ.ร.ก.ว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 แม้จะไม่การระบุเรื่องธุรกิจไทม์ แชร์ริ่ง ก็ตาม แต่การหลอกลวงประชาชนด้วยความไม่สุจริต ด้วยวิธีดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อโกง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2,4,5 ร่วมกับประกอบกิจการอันเป็นการฉ้อโกงประชาชนหลอกให้สมัครสมาชิก โดยหวังว่าให้สมาชิกเป็นฝ่ายขาย โดยให้ค่าตอบแทนแก่พนักงานขายสูงกว่าบริษัทจำเลยที่ 1 จะจ่ายให้แก่สมาชิกได้ จนรัฐต้องเข้าไปแทรกแซงให้ปิดบริษัทก่อนจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและประชาชนมากกว่านี้


ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์จำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนว่า จำเลยที่ 2 และ 4 มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน และกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน ลงโทษจำคุก 24,189 กรรม ลงโทษกรรมละ 5 ปี รวมจำคุก 120,945 ปี แต่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 คงให้จำเลยรับโทษจำคุก จริงรวม 20 ปี และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 .


ที่มา: นสพ.เดลินิวส์


 


 


 



เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2556 ที่ห้องพิจารณาคดี 901 ศาลอาญา ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 2 เป็นโจทก์ ฟ้อง บริษัทบลิสเชอร์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด น.ส.อังสุนีย์ พัฒนานิธิ น.ส.ปัรจวรรณ เบญจมาศมงคล นายแสงทอง แซ่กิม และนายอรรณพ กุลเสวตร์ ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1 ถึง 5 ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ประกอบ 83 และความผิดตาม พ.ร.ก.ว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 4, 5, 12 และ 15


โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 18 ก.ค.34 ถึง 11 ก.พ.37บ.บลิสเชอร์ฯ ประกอบธุรกิจจัดสรรวันพักผ่อน หรือไทม์ แชริ่ง โฆษณาชักชวนประชาชนให้สมัครสมาชิกใช้บริการที่พักฟรีตามสถานที่พักตากอากาศ หรือโรงแรมที่บริษัท จำเลยจัดไว้ เป็นเวลา 4 วัน 4 คืนต่อปี หรือ ฟรีโฟร์ นาน 20 ปี มีรูปแบบการสมัครสมาชิกเป็นรูปแบบบัตรทอง และบัตรเงิน โดยบัตรเงินจ่ายค่าสมาชิกปีละ 30,000 บาท พร้อมค่าบำรุงปีละ 2,500 บาท และบัตรทองจ่ายค่าสมาชิก 60,000 บาท พร้อมค่าบำรุงปีละ 4,500 บาท หากสมาชิกรายใดจะสมัครเป็นฝ่ายขายต่อจะต้องเสียค่าสมัครเพิ่ม 1,500 บาทต่อปี และหากหาสมาชิกได้ จะได้ค่านายหน้าเพิ่มรายละ 5,000 บาท มีผู้เสียหายหลงเชื่อสมัครเป็นสมาชิกจำนวน 24,189 ราย มูลค่าความเสียหาย 826,266,000 บาท ต่อมากระทรวงการคลังพบว่าจำเลยไม่อาจดำเนินการซื้อขายสินค้าตามที่ประกาศได้ เพราะไม่มีสินค้าให้ไปขายจริง และให้ค่าตอบแทนในวิธีฟรีโฟร์ คิดแล้วสูงกว่าดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนด ไม่มีการประกอบกิจการจริง อันเป็นการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน


คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 4 มี.ค.51 ให้จำคุกจำเลยที่ 2, 4 และ 5 ซึ่งเป็นกรรมการที่มีอำนาจในบริษัท ฐานฉ้อโกงประชาชน ให้จำคุกคนละ 120,945 ปี แต่ตามกฎหมายเมื่อรวมลงโทษทุกกระทงแล้วให้จำคุกจำเลยทั้งสามได้ไม่เกิน 20 ปี จึงพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 2,4 และ 5 คนละ 20 ปี และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และ 3 เนื่องจากพบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นกับการวางแผนบริหารนโยบายดังกล่าว โจทก์และจำเลยที่ 2, 4 และ 5 ยื่นอุทธรณ์ ภายหลังจำเลยที่ 5 ถอนอุทธรณ์ขอรับโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยวันนี้จำเลยที่ 2 และ 4 ไม่ได้เดินทางมาศาล มีเพียงจำเลยที่ 3 มาศาลเท่านั้น ศาลจึงอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ลับหลังจำเลยที่ 2 และ 4 พร้อมกับมีคำสั่งให้ออกหมายจับ ปรับนายประกันจำเลยที่ 2 และ 4


ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้วเห็นว่าปัญหาของอุทธรณ์ของโจทก์ว่าจำเลยที่ 3 กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่าแม้โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการบริหารบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 อีก 2 บริษัท แต่พยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนกระทำความผิดร่วมกับคนอื่นหรือไม่ ซึ่งคดีนี้เป็นคดีทางอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีความซับซ้อนกว่าคดีอาชญากรรมพิเศษทั่วไป เมื่อคดีมีความสงสัยจึงยกประโยชน์แห่งการสงสัยให้จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น


ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อมาว่าจำเลยที่ 2 และ 4 กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลเห็นว่าที่จำเลยที่ 2 และ 4 ยกข้อกฎหมายมาต่อสู้นั้นฟังไม่ขึ้น ทั้งโจทก์นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้ง 2 มีอำนาจบริหารสั่งการในบริษัทของจำเลยที่ 1 เห็นว่าก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 มีกลุ่มบริษัทต่างๆ ทั้งที่สุจริตและไม่สุจริตเกิดขึ้นมากมาย ที่ไม่สุจริตได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมหาศาล ทำให้มีการกฎหมายจำนวนมากออกมาแก้ไข ความผิดในกรณีนี้เกี่ยวข้องกับกฎหมาย พ.ร.ก.ว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 แม้จะไม่การระบุเรื่องธุรกิจไทม์ แชร์ริ่ง ก็ตาม แต่การหลอกลวงประชาชนด้วยความไม่สุจริต ด้วยวิธีดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อโกง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2,4,5 ร่วมกับประกอบกิจการอันเป็นการฉ้อโกงประชาชนหลอกให้สมัครสมาชิก โดยหวังว่าให้สมาชิกเป็นฝ่ายขาย โดยให้ค่าตอบแทนแก่พนักงานขายเกินกว่าบริษัทจำเลยที่ 1 จะจ่ายให้แก่สมาชิกได้ กระทั่งรัฐต้องเข้าไปแทรกแซงให้ปิดบริษัทก่อนจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและประชาชนมากกว่านี้


เห็นว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย พิพากษายืน ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 และ 4 ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน และกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน จำคุก 24,189 กรรม ลงโทษกรรมละ 5 ปี รวมจำคุก 120,945 ปี แต่ความผิดฐานนี้กฎหมายกำหนดให้รับโทษสูงสุดไม่เกิน 20 ปี จึงพิพากษาจำคุก จำเลยที่ 2 และ 4 เป็นเวลา 20 ปี และให้ยกฟ้องจำเลยที่3


ที่มา : มติชนออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น