ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

TDNA โหมโรงเรื้อกม.ขายตรง นิโรธ แนะตั้ง กรม คุมเข้มธุรกิจ









สมาคมธุรกิจเครือข่ายขายตรงไทย (TDNA) ประกาศ เดินหน้าแก้กม.ขายตรง เสนอให้มีหน่วยงานดูแลธุรกิจโดยเฉพาะ อ้างปัจจุบัน ธุรกิจขายตรงเหมือนถูก ฝากเลี้ยง เอาไว้ กับสคบ. เหตุคนกำกับดูแลมีเพียง6 คน ขณะที่ผู้ป ระกอบการพุ่งสูงถึง 885 ราย ชี้ควร แยกให้เด็ดขาดระหว่าง ธุรกิจขายตรงกับธุรกิจตลาดแบบตรง พร้อมเสนอตั้ง กองทุนคุ้มครอง ผู้เสียหายจากการทำธุรกิจขายตรง


รายงานล่าสุดเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา สมาคมธุรกิจเครือข่ายขายตรงไทย หรือ TDNA นำโดยอดีตเลขาธิการสำนักงานคณะ กรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ.นายนิโรธ เจริญประกอบ นายกสมาคม ฯ คนปัจจุบัน ได้ เปิดเผยว่า กฎหมายขายตรง หรือพระราชบัญญัติขายตรง และตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 ซึ่งบังคับใช้มาเป็นเวลา 11 ปี เต็ม พบว่ายังมีปัญหาในการ บังคับใช้ค่อนข้างมาก
ทั้งนี้เนื่องจากตัวกฎหมายเองที่ล้าสมัย ไม่ สามารถจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย มี หลายมาตราไม่สอดคล้องกับ ธุรกิจที่พัฒนาไปไกลกว่า กฎหมาย เช่นนิยามคำว่า ขาย ตรง ไม่ครอบคลุมการทำธุรกิจ โดยรวมทั้งหมด จึงได้มีการพูด คุยเรื่องนี้กันในสมาคม และ เสนอให้มีการรณรงค์แก้ไข กฎหมายครั้งใหญ่ รวมทั้งเสนอ ให้มีการตั้งสำนักงานเทียบเท่า กรมเพื่อกำกับดูแลธุรกิจขาย ตรงเป็นการเฉพาะ
โดยประเด็นหลักที่ทาง สมาคม ฯ ออกมาผลักดัน จำเป็นที่คนในวงการขายตรง ต้องร่วมกันผลักดัน เช่นนิยาม คำว่า ขายตรง ในตัวพระราช บัญญัติขายตรงและตลาดแบบ ตรง พ.ศ.2545 มีความหมาย แคบไป ไม่ครอบคลุมลักษณะ ของธุรกิจขายตรงที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะที่เป็น ธุรกิจเครือข่ายในสัดส่วนที่ มากขึ้น ดังนั้นควรที่จะเพิ่มให้ ครอบคลุมความหมายตาม ความเป็นจริงไปถึงธุรกิจเครือ ข่ายด้วย
ประเด็นต่อมาที่เป็น ปัญหาการบังคับใช้มาโดย ตลอด ตามกฎหมายเดิมปี 2545 ธุรกิจขายตรงและตลาด แบบตรง มีการรวมเอาไว้ใน ฉบับเดียวกัน จึงสมควรเสนอให้ มีการแยกเป็นธุรกิจขายตรงและ เครือข่ายเอาไว้ฉบับหนึ่ง และ ธุรกิจตลาดแบบตรงไว้อีกฉบับ ต่างหาก
ในส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภค ควรที่จะมีการบัญญัติ ให้มีการจัดตั้งกองทุนของธุรกิจ ขายตรง เฉกเช่นเดียวกับกองทุน ประกันภัย หรือกองทุนคุ้มครอง ผู้ฝากเงิน โดยให้มีการตั้งคณะ กรรมการกองทุนเพื่อมาบริหาร จัดการ ในกรณีที่บริษัทขายตรง กระทำผิดทำให้ผู้บริโภคหรือนัก ธุรกิจอิสระเสียหาย ก็จะ สามารถใช้เงินกองทุนมาชดใช้ เยียวยาได้ โดยให้มีการจัดเก็บ เงินกองทุน ตามรายได้ผล ประกอบการของแต่ละบริษัท เป็นเปอร์เซนต์
นอกจากนี้ควรแก้กฎหมายกำหนดให้มีการขึ้น ทะเบียนนักธุรกิจอิสระ ให้หน่วย งานราชการที่ควบคุมกำกับดูแล เป็นผู้พิจารณาการรับรองการ ออกบัตรประจำตัวให้กับนัก ธุรกิจอิสระ และประเด็นสุดท้าย ที่มี ผลต่ออนาคตของธุรกิจ จึง สมควรแก้ไขกฎหมายกำหนด ให้มีหน่วยงานราชการเฉพาะซึ่ง มีสถานะเทียบเท่ากรม เป็นผู้ ควบคุม กำกับดูแลและรับรอง การประกอบธุรกิจขายตรงแทน สคบ. เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจ ขายตรงเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ มูลค่ารวมเกือบแสนล้าน/ปี เกี่ยวข้องกับการเติบโตทาง เศรษฐกิจ สร้างงานสร้างรายได้ ให้คนไทยจำนวนมหาศาล มีผู้ เกี่ยวข้องทั้งการบริโภค และการ ประกอบเป็นอาชีพทั่วประเทศ กว่า 10 ล้านคน
โดยล่าสุดข้อมูลการจด ทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจ ขายตรง ตั้งแต่ปี 2545 -30 พฤศจิกายน 2555 มีผู้ได้รับการ จดทะเบียนให้ประกอบธุรกิจ ขายตรงไปแล้ว 885 ราย ที่ผ่านมา จะเห็นว่า สคบ.มีบุคลากรจำ กัด งบ ประมาณก็จำกัด โดยมีบุคคลที่ ดูแลด้านธุรกิจขายตรงเพียง 6 คนเท่านั้นขณะที่ผู้ประกอบการมีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 885 ราย ทำให้การกำกับดูแล ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
นายนิโรธ กล่าวพร้อมกับ เสริมว่าจำนวนผู้ประกอบการที่ เพิ่มขึ้นทุกปี รวมทั้งมูลค่าตลาด จำนวนมหาศาล และคนที่ เกี่ยวข้องกับการขายตรงมี จำนวนมากขึ้นทุกวัน ยังไม่รวม ว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กำลังจะเกิดขึ้นเต็มรูปแบบในปี 2558 นี้ ซึ่งจะทำให้ทุนใหม่ ๆ ด้านธุรกิจขายตรงจากต่างชาติ จะไหลทะลักเข้ามามากขึ้น ขนาดธุรกิจและการเกี่ยวข้อง ของผู้สนใจในธุรกิจนี้ก็จะเพิ่ม มากขึ้นซึ่งสาเหตุสำคัญก็จะทำ ให้สคบ.รับภาระหนักมากขึ้น โดยที่ปัจจุบันก็แบกภาระด้านนี้ มากเกินกำลังอยู่แล้วแม่ล่าสุด สคบ.จะมีความพยายามทำงาน แบบบูรณาการร่วมกับหน่วย งานรัฐอื่น ๆ เพื่อให้มีประสิทธิ ภาพมากขึ้นแต่ก็สามารถกำกับ ดูแลได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ในประเด็น เรื่อง ความรัดกุมทางด้าน กฎหมายก็ยังไม่เพียงพอ โดยมี กิจการที่มีการทำธุรกิจไม่ชอบ อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย เข้า มาดำ เนินธุรกิจ จนทำ ให้ ภาพพจน์ของธุรกิจขายตรงเสีย หาย รวมไปถึง พ.ร.บ.ขายตรง ฯ ก็ไม่มีบทลงโทษอะไรเลย กรณี ผู้ประกอบการที่ไม่มีใบอนุญาต มาดำเนินธุรกิจขายตรง ส่วนเรื่อง การที่จะต้อง รายงานผลการดำเนินงาน ใน ทางกฎหมายก็ระบุเอาไว้ชัดเจน ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับใบ อนุญาตจะต้องรายงานผลการ ดำเนินงานทุก 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง แต่ที่ผ่านมาก็ไม่ค่อยได้ รับความสนใจ สคบ.ขาดความ จริงจังในการบังคับใช้กฎหมาย การดำเนินการส่วนใหญ่ จึงเป็นไปในลักษณะตั้งรับ คือ เมื่อเกิดกรณีปัญหา หรือเกิด ความเสียหายขึ้น จึงจะมีการ เข้าไปดำเนินการ ซึ่งตรงนี้ไม่ เพียงแต่ส่งผลเสียกับประชาชน ทั่วไป แต่ยังจะส่งผลเสียต่อผู้ ประกอบการที่ทำธุรกิจตรงไป ตรงมาด้วย
ไม่เพียงในประเด็น หลัก ๆ ที่กล่าวมาเท่านั้น ในการ พิจารณาคัดเลือกบริษัทที่จะรับ ใบอนุญาต ก็ยังมีการกำหนด กรอบไม่ชัดเจน โดยเฉพาะใน ประเด็น เรื่องตัวสินค้า ที่ยังมี การถกเถียงกันอยู่ก็คือ กรณี ของ สินค้าประเภทบริการ ซึ่ง ปัจจุบัน สคบ.มองว่า เป็นสินค้า ที่ไม่มีความชัดเจน จึงไม่มีการ อนุญาตให้ผู้ประกอบการที่ขาย สินค้าบริการ ได้รับใบอนุญาต การประกอบธุรกิจขายตรงได้ แต่ในหลักความเป็นจริง สินค้า บริการ หากซื้อแล้วสามารถ คืนได้ก็น่าจะอยู่ในกลุ่มสินค้า ทั่วไป นอกจากนี้ก็ยังมีประเด็น ปลีกย่อยอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราเคยเสนอไป ในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยเสนอไป 5 ประเด็นหลัก แต่รัฐบาลก็มีการ ประกาศยุบสภาเสียก่อน จวบ จนกระทั่งมาถึงรัฐบาลปัจจุบัน จึงถือเป็นโอกาสดีที่จะมีกลับ มาทบทวนใหม่ โดยทางเราได้ เตรียมเสนอแก้กฎหมายใน ประเด็นหลัก ๆ เอาไว้ 10 ประเด็นด้วยกัน ซึ่งหลังจากนี้ก็ จะมีการหารือร่วมกับอีก 3 สมาคม ที่ทำธุรกิจด้านขายตรง ก่อนที่จะเสนอเรื่องผ่านไปยัง รัฐบาล นายนิโรธ กล่าว


 


 


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ.ตลาดวิเคราะห์ ฉบับที่ 338 ประจำวันที่ 16-28 กุมภาพันธ์ 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น