ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เลขาฯ ตอกยํ้าตราสัญลักษณ์สคบ. ชูเป็นใบเบิกทางสู่ตลาดขายตรงอาเซียน









จิรชัย ดันตรา สัญลักษณ์ สคบ. ขึ้นเป็น นโยบายระลอก 2 หลังเปลี่ยน เก้าอี้ รมต.ใหม่ วราเทพ เสียบแทน หวังเป็นเกราะ กันภัยหากผู้ประกอบการ ต้องการเปิดตลาดอาเซียน หนุนธุรกิจขายตรงทั้งใน และ ตปท.จิรชัย ดันตราสัญลักษณ์ สคบ. ขึ้นเป็นนโยบายระลอก 2 หลังเปลี่ยน เก้าอี้ รมต.ใหม่ วราเทพเสียบแทน หวังเป็นเกราะกันภัยหากผู้ประกอบการ ต้องการเปิดตลาดอาเซียน หนุนธุรกิจขายตรงทั้งในและ ตปท.พร้อมรับมือ AEC...ร่วมหารือ DSI ต้องแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที ป้องกันการลากเกมยืด เฉกเช่นกรณีแชร์ลูกโซ่ DCHL
นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้ม ครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้ สคบ. ได้หารือ ร่วมกับอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เกี่ยวกับการดำเนินงานร่วมกัน ซึ่ง มี 2 ประเด็นหลักด้วยกัน คือ ประเด็นที่ 1. การสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบ การขายตรง ในบทบาทของ สคบ.และ บทบาทของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่จะ ต้องมีการทำงานร่วมกัน ประเด็นที่ 2. เรื่อง ข้อมูลที่จะต้องมีการประสานงานกันอย่าง ชัดเจนและเชื่อมโยงกัน รวมถึงการดำเนิน งานจะต้องไม่ล้าช้าหรือยืดเยื้อเหมือนเช่น ที่ผ่านมา
โดยเนื้อหาที่ สคบ. ได้มีการประชุม หารือร่วมกับผู้ประกอบการขายตรงและ ทางสมาคมต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจขายตรง ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการทำความเข้าใจกับ กลุ่ม ธุรกิจขายตรงในการที่จะส่ง เสริมธุรกิจ นี้ให้ก้าวไกล ซึ่งมีอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน คือ 1. ธุรกิจจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย อะไร ที่เป็นข้อห้ามและเกิดผลเสียต่อสังคม ห้าม กระทำการอย่างเด็ดขาด และ 2. การ สนับสนุนธุรกิจขายตรงทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
โดยเฉพาะในส่วนของการสนับสนุน ธุรกิจขายตรงทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ ตรงนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนธุรกิจขายตรงในประเทศ ให้ทัดเทียมนานาประเทศ สคบ.จะมีนโย บายที่ส่งเสริมธุรกิจนี้ด้วยการสร้างความ เชื่อมั่นให้กับผู้ที่ซื้อสินค้า รวมถึงการ เยียวยาความเสียหายของแต่ละบริษัท ตรง นี้จะมีหรือไม่ซึ่งหากมีการเยียวยาผู้ที่ได้รับ ความเสียหาย ก็ถือว่าทำถูกต้องตามนโย บายของ สคบ. และจะมีการมอบตรา สัญลักษณ์ให้กับผู้ประกอบการต่อไป
ส่วนการสนับสนุนธุรกิจขายตรงใน ต่างประเทศนั้น สคบ.รวมถึงประเทศ อาเซียนทั้ง 10 ชาติ ขณะนี้ได้มีการประสาน งานความร่วมมือกันบ้างแล้ว เพื่อคุ้ม ครอง ผู้บริโภค ซึ่งแต่ล่ะประเทศต่างมีจุดประสงค์ เดียวกันคือ ต้องการนำธุรกิจขายตรงมา เปิดตลาดในเวทีอาเซียนให้ได้
จึงได้มีการหารือกับทางเลขาธิการ อาเซียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยท่าน เลขาธิการฯ ค่อนข้างที่จะเป็นห่วงในเรื่อง ของกฎหมาย เนื่องจากในแต่ละประเทศกฎหมายจะแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นที่จะต้องทำอย่างไรให้ธุรกิจนี้ ในแต่ละประเทศมีความสอดคล้องกัน โดยที่ไม่มีกำแพงทางการค้ากีดกั้น ซึ่งก็ได้ มีการหารือในเบื้องต้นบ้างแล้ว ด้วยการ จะให้มีการจับมือกับทางภาครัฐและผู้ ประกอบการเพื่อหาแนวทางร่วมกัน
เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค เผยต่ออีกว่าสำหรับมติ ในการดำเนินการคุ้ม ครองผู้บริโภคของชาติ อาเซียนที่จะมีการทำ งานในทิศทาง เดียวกัน มีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อ คือ 1. การ เยียวยาผู้บริโภคข้ามพรมแดน ซึ่งจะ เป็นการบอกถึงว่า หากคนในชาติอาเซียน เกิดความเสียหาย จะมีการร้องเรียนได้ที่ ไหน รวมถึงกระบวนการขั้นตอนในการ จัดการจะดำเนินการอย่างไร เป็นต้น 2. กรณีสินค้าที่มีการเรียกคืนสินค้า มีการสั่ง ห้ามขายแบรนด์สินค้าไหนบ้าง ซึ่งใน 10 ประเทศ จะต้องแชร์ข้อมูลร่วมกัน เพื่อที่จะ ได้รู้ว่ามีสินค้าไหนบ้างที่ห้ามขาย มีสินค้า อะไรที่สั่งเรียกคืน ในประเทศนั้น ๆ และ 3. การสร้างความรู้ในกลุ่มต่างๆ ล่าสุดทาง สคบ. เอง ได้รับอาสาจะมาดำเนินการใน กลุ่มของเยาวชน เพื่อต้องการที่จะสร้าง ความเชื่อมั่นให้เกิดกับกลุ่มนี้ก่อน
นโยบายการเยียวยาผู้บริโภคข้าม แดนในเบื้องต้นนั้น จะมีทางหน่วยงานของ แต่ละประเทศประสานงานร่วมกัน เช่น หาก คนในประเทศอินโดนีเซียมาที่ประเทศไทย และได้ซื้อสินค้ามาใช้บริการและเกิด ความเสียหาย ก็สามารถที่จะร้องเรียน ที่ประเทศไทยได้เลย ซึ่งทาง สคบ. ประเทศไทยก็จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ ตรงนี้รับผิดชอบ เช่นเดียวกับในประเทศ อื่น ๆ เช่นเดียวกัน ก็จะมีหน่วยงานตรงนี้ รับผิดชอบ หากพบว่ามีผู้บริโภคเกิดความ เสียหาย
นอกจากนี้ นายจิรชัย ยังได้พูดถึง กรณีที่ได้เข้าไปหารือกับ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายก รัฐมนตรีในช่วงที่ผ่านมา ว่าท่านรัฐมนตรี วรเทพ ได้ขอดูการทำงานในเบื้องต้นของ สคบ. ที่กำลังดำเนินการอยูในขณะนี้ว่ามี อะไรบ้าง พร้อมกับแนวทางที่จะดำเนินการ ในปี 2556 รวมถึงยังมีการมอบหมายนโยบายอยาก จะให้ทาง สคบ. บูรณาการกับ หน่วยงานอื่น ๆ ให้มีความเข้ม ข้นมากขึ้นด้วย พร้อมกับการให้ ความสำคัญถึงกลุ่มประเทศ อาเซียนด้วย ว่าตรงนี้ สคบ.จะ มีการดำเนินการอย่างไร เพื่อที่ จะทำให้ธุรกิจของไทยสามารถ เข้าไปเปิดตลาดในต่างประเทศ ได้
ส่วนในเรื่องของตรา สัญลักษณ์ สคบ. เพื่อต้องการ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ บริโภคนั้น ตนเองได้มีการหารือ กับทางรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อย แล้ว ซึ่งขณะนี้ยังติดขัดอยู่กับ ในเรื่องของอัตราการชดเชย บางอย่างที่ยังไม่ครบถ้วน โดย ทางท่านรัฐมนตรีก็ได้มีการ แนะแนวทางไว้ 3 เรื่อง คือ 1. ให้ ทางธนาคารการันตี 2. บริษัท อาจจะต้องมีการตั้งกองทุน และ 3. ต้องมีการทำประกัน ซึ่ง จะเป็นการดูแลถึงความเสี่ยง ของผู้ประกอบการเหล่านั้น ที่ เคยมีความเสี่ยงต่อผู้บริโภค โดยอาจจะใช้ผู้บริโภคเป็น เกณฑ์สำคัญ
ส่วนกรณีที่ว่า บริษัท นีโอ ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จะมีการนำร่องติดตรา สัญลักษณ์ สคบ. นั้น ณ ขณะ นี้ทางผู้บริหาร บริษัท นีโอล์ฟฯ ได้มีการมาประสานในเรื่องดัง กล่าวแล้ว โดยให้ความสนใจ เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล เพื่อจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับ ผู้บริโภค แต่ต้องอยูภายใต้องค์ ประกอบของภาครัฐด้วย นั่นคือ 1. ต้องดำเนินธุรกิจถูกต้องตาม กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค 2. ต้องดำเนินธุรกิจตามกฎหมาย อื่น ๆ ที่ถูกต้อง และ 3. บริษัท ต้องมีแบงก์มาการันตี มีการตั้ง กองทุน หรือมีการทำประกัน โดยในลักษณะของการตั้ง กองทุนจะต้องเป็นการตั้งโดย บริษัทของเขาเอง ซึ่งทาง สคบ. จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง




ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ ตลาดวิเคราะห์ ประจำวันที่ 1-15 ธันวาคม 2555 ปีที่ 15 ฉบับที่ 333

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น