ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รมต.วราเทพ เครื่องร้อน! จี้ สคบ. เปิดช่องทางเพิ่มรับเรื่องร้องเรียน









หลังขึ้นคุมสำนักนายกรัฐมนตรีแทน วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีสายล่อฟ้า วราเทพ รัตนากร ก็โชว์พลังเครื่องร้อนฉ่า ล่าสุดเร่งระดมสมอง สคบ. นำทีมรับลูกโดย เลขาธิการฯ จิรชัย ปรับใหม่กลยุทธ์ รุก รับ ชูประเด็น สั่งเปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค ขณะที่ความคืบหน้าของ พ.ร.บ. ขายตรงฯ ฉบับใหม่ยังคงไม่ชัดเจนต่อไป


รมต.วราเทพ เครื่องฟิตจัดแผนรุก-รับ


ต่อประเด็นดังกล่าว หลังจากที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกคนใหม่ ได้เปิดตัวขึ้นรับตำแหน่งไปเมื่อไม่นานมานี้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่ผ่านมา วราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะของประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางไปยังที่ทำการ สคบ. ณ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยมี จิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมด้วย นพปฎล เมฆเมฆา รองเลขาธิการ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฝ่ายบริหาร สุทธิศักดิ์ ภัทระมานะวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ คุ้มคองผู้บริโภคฝ่ายวิชาการ และคณะผู้บริหารของ สคบ. ให้การต้อนรับ


โดยในโอกาสนี้เอง รมต. วราเทพ ในฐานะประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้กล่าวในที่ประชุมมอบ แนวทางการปฏิบัติงาน ให้กับ สคบ. ใดยดให้มีการทำงานใน หลากหลายมิติ ทั้งใน เชิงรุกและเชิงรับ ให้มากยิ่งขึ้น โดยประเด็นสำคัญหลักที่ รมต. วราเทพ ตอกย้ำคือประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ที่อยากให้ตระหนักรู้ว่า สิทธิผู้บริโภค นั้นเป็นเรื่องสำคัญทั้งกฎหมายยังบัญญัติบทลงโทษเอาไว้ชัดเจน อีกทั้งยังได้กล่าวถึง ผู้ประกอบการ ว่าต้องระมัดระวัง ไม่ให้ละเมิดสิทธิผู้บริโภคไม่ว่าจะโดยจงใจหรืออาศัยความได้เปรียบทางการค้าก็ตาม


สำหรับในส่วนของนโยบาย เชิงรุก คือการออกตรวจสินค้าและบริการ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค รวมไปถึงการปฎิบัติงาน ตามแนวทางการป้องปรามต่างๆทั้งโดยบุคลากรของ สคบ. เอง และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือภูมิภาคตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือไปยังมูลนิธิ สมาคมต่างๆ และที่เน้นย้ำก็คือ ภาคประชาสังคม ในฐานะที่ต้นก็เป็นผู้บริโภคเอง ซึ่งทั้งหมดจะต้องผนึกกำลังกันให้เป็นเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ที่พร้อมในการเฝ้าระวัง และคอยตรวจสอบ ในขั้นตอนก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคและกระจายไปยังวงกว้าง


ส่วนการทำงานใน เชิงรับ นั้น ให้พิจารณา เพิ่มช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียน จากผู้บริโภคให้มีการตอบสนองและจัดการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และให้เสร็จสิ้นด้วยความพึงพอใจ โดยในการนี้ เลขาธิการ สคบ. ได้รับทราบนโยบายพร้อมเตรียมนำไปปฎิบัติตามแผนงานต่อไป


เลขาฯ สคบ. ผุดไอเดียอีก ชูกองทุนเยียวยา


อย่างไรก็ดี ทางดด้านของ จิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการ สคบ. ได้ออกมาเปิดเผยคตวามคืบหน้าประเด็นสำคัญ ในส่วนของ นโยบายตราสัญลักษณ์ สคบ. ที่ถูกกระแสออกมาต่อต้านอย่างหนักในขณะนี้ ล่าสุดเจ้าตัวยอมรับว่า ยังมีปัญหาในเรื่องของการที่จะใช้ เครื่องชี้วัดแบบไหน เป็นตัวกำหนดว่า บริษัทใดควรจะจ่ายเบี้ยประกันเท่าไหร่ เนื่องท่องจากที่ผ่านมา เริ่มต้นคาดว่าจะใช้การกำหนดเบี้ยจากยอดขายรายปี แต่พบว่าการตอบรับไม่เห็นด้วยรุนแรงมาก เนื่องจากไม่เป็นที่ยอมรับจากผู้ประกอบการ แต่โดยส่วนตัวแล้วมั่นใจว่าทุกอย่าง ก็เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลักอย่างแท้จริง


ดังนั้น ขณะนี้จึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่า อาจมีการนำ ความเสี่ยง ขึ้นมาเป็นตัวกำหนด อาทิเช่น ประวัติการดำเนินธุรกิจว่าบริษัทนั้นๆ เคยถูกฟ้องหรือถูกร้องเรียนมากน้อยแค่ไหน หากประวัติไม่ดี ก็ถือว่าบริษัทนั้นมีความเสี่ยงสูง เบี้ยก็อาจต้องสูงตาม เรียกได้ว่า เป็นการประกันตามความเสี่ยงสูง เบี้ยก็อาจต้องสูงตามเรียกได้ว่าเป็นการประกันตามความเสี่ยง หรืออีกตัวเลือกหนึ่ง ก็อาจให้กลุ่มบริษัทต่างๆ ตั้งกองทุนเยียวยา ขึ้นมาเอง เมื่อมีความเสียหาย ก็เอาเงินจากกองทุนดังกล่าวมาชดใช้และเยียวยา ซึ่งคงต้องหาบทสรุปให้ได้อย่างชัดเจนอีกครั้ง


มั่นใจโครงสร้างใหม่ ดูแลขายตรงปึ้กขึ้น


นอกจากนี้ในส่วนของการปฎิบัติงาน ควบคุมดูแลธุรกิจขายตรงโดยเฉพาะนั้น เลขาฯ สคบ. เปิดเผยว่านับตั้งแต่ตนได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้ ก็ได้ทำการปรับปรุงเรื่องของกระบวนการทำงานไปหลายจุดแล้ว หลักๆ คงเป็นการตั้งกองทำงานให้เป็นสัดส่วนมากขึ้น โดยแบ่งออกแป็น 3 ส่วนคือ 1.ทีมการจดทะเบียนบริษัท 2.กองติดตามประเมินผลการทำงาน และ 3. ฝ่ายตรวจสอบและดำเนินการจัมกุม นั่นเพราะ สคบ. พยายามจะสร้างการทำงานให้มีสัดส่วน ลดปัญหาและความยุ่งยากที่เกิดจากจำนวนคนที่น้อย ทำให้ต้องแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจนมากขึ้น


ปัจจุบันมีบริษัทที่จดทะเบียนขายตรงถึง 852 บริษัท แต่พบว่ามีเพียง 100 บริษัทเท่านั้น ที่ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่ ดังนั้นการทำงานขั้นต่อไปคือ การจัดทำฐานข้อมูลของธุรกิจขายตรงใหม่ โดยต้องแยกว่าบริษัทใดยังอยู่และบริษัทใดเลิกกิจการไปแล้ว ไปจนถึงการทำข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า การจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับแผนการจ่ายของแต่ละบริษัท ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ มีการเปลี่ยนแผนจากที่ได้จดยื่นขออนุญาตกับสคบ.ไว้หรือไม่


ส่วนเรื่องสำคัญสุดท้าย ที่ยังคงเป็นที่รอคอยของชาวขายตรงคือ พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง ฉบับใหม่ นั้น เลขา สคบ. กล่าวว่า สคบ. เองก็พยายามเร่งทำให้เกิดขึ้นอยู่ตลอด แต่ยังติดปัญหาในบางส่วน ทำให้ต้องรื้อทุกอย่างใหม่หมด เพราะต้องการที่จะให้ พ.ร.บ.ขายตรงฯ ฉบับใหม่นี้ออกมาสมบูรณ์แบบและครอบคลุมที่สุด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องแก้ไขอีก ซึ่งหากมีความคืบหน้าเมื่อไหร่ จะรีบแจ้งให้ทุกฝ่ายทราบต่อไปแน่นอน




ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ อินเน็ตเวิร์ค ปักษ์เเรก ประจำวันที่ 1-15 ธันวาคม 2555 ฉบับที่ 155


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น