ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง







rok (Mobile)

 


พ.ศ.2545 หมวด7 บทกำหนดโทษดังนี้


 มาตรา 45 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ตาม มาตรา 16 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา 46 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 19 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าแสนบาท


มาตรา 47 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 20 หรือ มาตรา 27 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่


มาตรา 48 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท


มาตรา 49 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 22 หรือ มาตรา 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ


มาตรา 50 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 23 หรือ มาตรา 25 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท


มาตรา 51 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 26 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง หรือ มาตรา 37 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท


มาตรา 52 ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงใดไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงแผนการจ่ายผลตอบแทนให้นายทะเบียนทราบ ตาม มาตรา 38 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท


มาตรา 53 ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี กระทำความผิด ต่อพระราชบัญญัตินี้อีก ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น


มาตรา 54 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคลให้กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่ จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น


มาตรา 55 บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีตาม มาตรา 46 ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และในการนี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนิน การเปรียบเทียบได้ โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบหรือเงื่อนไข ประการใดๆ ให้แก่ผู้ได้รับมอบหมายตามที่เห็นสมควรก็ได้


ภายใต้บังคับของบทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ในการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องมายังคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้มีอำนาจเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง ภายในเจ็ดวันนับ แต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ


เมื่อผู้กระทำความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา


 


 


Credit By : นิตยสารลีดเดอร์ไทม์ ฉบับที่157 เดือนธันวาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น