ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดีเอสไอ (DSI) ประสานกองปราบฯ บุกทลายแชร์ลูกโซ่ตะเกียงน้ำมัน


ดีเอสไอ ผนึกกำลังกองปราบปรามฯ ทลายรังแชร์ลูกโซ่ ตะเกียงน้ำมันหอมระเหย หลังเหยื่อกว่า 400 คน วิ่งโร่แจ้งความดำเนินคดี เหตุสูญเงินหลายแสนให้กับบริษัทขายตะเกียงลวงโลก คาดมีผู้เสียหายกว่า 2.5 หมื่นคนหลงเชื่อนำเงินเข้าลงทุน มูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท เร่งตามจับตัวการใหญ่ 20 ราย ในข้อหาร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

จากกรณีที่มีข่าวลือเกี่ยวกับธุรกิจเครือข่าย ชื่อว่า DCHL หรือ บริษัท ดิจิตอล คราวน์ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจขาย ตะเกียงน้ำมันหอมระเหย ที่อาจทำธุรกิจเข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ เพราะมีการชักชวนให้สมาชิกร่วมลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก และเน้นไปที่การหาสมาชิกเพิ่ม ปรากฏว่าตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียหายเข้าร้องเรียนกับทาง สคบ.และ ดีเอสไอ เพื่อให้ตรวจสอบบริษัทนี้เป็นจำนวนหลายร้อยคน

ล่าสุด เมื่อวันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา พ.ต.อ.นิรันดร์ อดุลยศักดิ์ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 1 กรมสอบสวนคดี พิเศษ (ดีเอสไอ) สนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่กองปราบปรามกว่า 50 นาย พร้อมหมาย ค้นศาลอาญา เข้าตรวจค้นสำนักงาน บริษัท ดิจิตอล คราวน์ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ (DCHL) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 338 อาคาร ดี ซี เอช แอล จำกัด ถ.พระราม9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ หลังได้รับการร้องเรียนว่า บริษัทดำเนินธุรกิจในลักษณะแชร์ ลูกโซ่ มีการชักชวนให้ร่วมลงทุน และหา สมาชิกเพิ่ม เบื้องต้นคาดว่ามีมูลค่าความเสียหาย กว่า 5 พันล้านบาท

พันตำรวจเอกนิรันดร์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบ พบว่า ผู้เสียหายแต่ละรายได้ รับความเสียหายจากการนำเงินไปลงทุนเฉลี่ยคนละ 2 แสนบาท และจากการสอบ ถามพบว่า บางคน ถึงกับลงทุนนำบ้านและ ที่ดินมาจำนอง กู้เงินธนาคาร เพื่อนำเงินมาลงทุนกับบริษัทนี้ แลกกับคำโอ้อวดจาก บริษัทว่าจะมีรายได้อย่างต่ำเดือนละ 4 หมื่นบาท บางรายมั่นใจเพราะญาติเป็นผู้ชักชวน แต่สุดท้าย ปรากกฏว่าได้ผลตอบ แทนประมาณ 1-2 เดือนแรกเท่านั้น จากนั้นบริษัทจะมีการบ่ายเบี่ยงไม่จ่ายเงินให้สมาชิกตามสัญญา และตั้งเงื่อนไขว่า หากอยากได้ผลตอบแทนต้องไปหาสมาชิกมาลงทุนเพิ่ม การดำเนินงานดังกล่าวจึงเข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ ไม่ใช่การทำธุรกิจขายตรง

จากข้อมูล พบว่าธุรกิจดังกล่าวเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2545 ตลอดระยะเวลา 10 ปี มีผู้หลงเชื่อสมัครเข้ามาเป็นสมาชิก แล้วกว่า 2.5 หมื่นคน มีเงินหมุนเวียนกว่า 5 พันล้านบาท ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ออก หมายจับผู้ต้องหารวมทั้งหมด 20 ราย ที่เป็นผู้บริหารและผู้นำระดับสูงของบริษัท ในข้อหาร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527

ส่วนรายงานความคืบหน้าล่าสุด มีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์กับดีเอสไอแล้วรวม กว่า400 คน จากที่คาดว่าจะมีผู้เสียหาย ทั้งหมดประมาณ 2,600 คน ตนจึงขอความ ร่วมมือให้ผู้เสียหายที่ยังไม่เข้าแจ้งความ รีบแจ้งดำเนินคดี เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้รวบรวมพยานหลักฐาน หากเราได้สอบ สวนตามคำผู้เสียหายหมดเมื่อไร จะรีบสรุป สำนวนส่งพนักงานอัยการ ซึ่งคาดว่าจะไม่เกิน 3 เดือน และขณะนี้ ดีเอสไอ ได้อายัดบัญชีของ บริษัท DCHL แล้วเป็นเงินประมาณ 500 ล้านบาท เงินที่อายัดดังกล่าว คาดว่าอย่างน้อยจะนำมาเฉลี่ยคืนให้ผู้เสียหายเมื่อคดีสิ้นสุด หากเงินไม่พอสำหรับจ่าย ก็อาจจะมีหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม อย่างเช่น กรมคุ้มครอง สิทธิ ที่ให้ความช่วยเหลือ เมื่อมีความเสีย หายทางคดีอาญาเกิดขึ้นได้ ดังนั้นผู้เสียหายที่เข้าร้องเรียนทุกคนจึงวางใจได้

ด้าน พันตำรวจเอกสุวัฒน์ แสงนุ่ม พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ กองบังคับ การตำรวจกองปราบปราม เปิดเผย ความ คืบหน้าการจับกุมผู้ต้องหาทั้ง 20 คน ว่า ล่าสุด เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้แล้วทั้งหมด 7 ราย มีการมอบ ตัว 1 ราย และมีผู้ต้องหาเข้าไปมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ 1 ราย รวมทั้งหมด 9 ราย เหลืออีก 11 ราย เป็นคนไทยทั้งหมด

พ.ต.อ.สุวัฒน์ กล่าวย้ำว่า ผู้ต้องหาที่เหลือหากเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่จะมีสิทธิประกันตัว แต่หากเจ้าหน้าที่จับได้ จะไม่มีสิทธิประกันตัวไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น โดยความผิดข้อหากู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาทถึง 1 ล้านบาท

ส่วนกรณีผู้เสียหาย ที่จะเข้ามาแจ้ง ความกับเจ้าหน้าที่ หากใครมีความรู้สึกไม่ ปลอดภัย กลัวจะมีภัยคุกคาม ก็มีกฎหมาย คุ้มครองพยานอยู่แล้ว ผู้เสียหายจึงควรวาง ใจ และรีบเข้ามาให้ปากคำ เพื่อเจ้าหน้าที่จะ ได้รวบรวมพยานหลักฐานที่รัดกุมต่อไป ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือกองปราบฯ จะได้มีการ พิจารณาจัดการคุ้มครองตามความเหมาะสม

ด้าน นายณัชภัทร ขาวแก้ว นิติกรชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้ม ครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ในฐานะผู้ดูแล เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง ก็ได้กล่าวชี้แจงกับผู้สื่อข่าวว่า ในส่วนของบริษัท DCHL ณ วันนี้ทางเลขาธิการคณะกรรมการคุ้ม ครองผู้บริโภค ในฐานะนายทะเบียน ได้มีคำสั่งเพิกถอนไม่อนุญาตให้บริษัทนี้ทำธุรกิจ ขายตรงแล้ว นับตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม เป็นต้นไป ถ้าหากขัดคำสั่ง ก็จะมีการปรับ เป็นรายวัน วันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท

ส่วนกรณีมีผู้ตั้งข้อสังเกตถึงการทำงานของ สคบ.ว่ามีการเอาผิดกับบริษัท ดังกล่าวล่าช้า นายณัชภัทร ก็ได้เปิดเผยว่า สคบ.ดำเนินคดีนี้มานานแล้ว แต่การร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่จะเอาความ ผิด ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อป้องกันการ ผิดพลาด ที่ผ่านมา สคบ.จะมีการประชุม ร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนัก งานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกลุ่มป้องกันการเงินนอกระบบ อยู่เป็น ระยะ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงมีอยู่ เพราะมีคนร้องเรียนกันมาตั้งแต่ปลายปี 2553 เรื่อยมา เพียงแต่พฤติกรรมแตกต่างกันไป บ้าง ยังไม่ชัดเจนพอที่จะทำให้เราดำเนินคดีในฐานความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ต่อมาเมื่อได้หลักฐานเพิ่มที่ชัดเจน รัดกุมกว่า ที่ผ่านมา จึงนำไปสู่ขบวนการขั้นสุดท้ายเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ที่ผ่านมา


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: นสพ.สยามธุรกิจฉบับที่ 1349 ประจำวันที่ 3-11-2012 ถึง6-11-2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น