ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

ผู้ประกอบการกระอัก ตราสัญลักษณ์ สคบ. พ่นพิษโวยรัฐจำกัดสิทธิ์เกินเหตุ







นายจิรชัย-มูลทองโร่ย550


ความคืบหน้าตราสัญลักษณ์ได้ข้อสรุป บริษัททำการันตีนำเงินฝากแบงก์ขั้นต่ำ 500,000 เพื่อเยียวยาผู้บริโภค เลขาสคบ. เผยนโยบายมอบตราสัญลักษณ์ไม่ได้ทำซ้ำซ้อน แต่เป็นการสร้างเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค ชี้ใครได้รับตราสัญลักษณ์แล้วเสียเงินสายตรงถึง สคบ. มั่นใจปีนี้มีผู้ประกอบการ เข้ารับ 60 ราย ด้านผู้ประกอบการ ระส่ำ ไม่เห็นด้วย ระบุรัฐทำงานซ้ำซ้อน ทั้งๆที่อ.ย. เอเชีย มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดและรัดกุม แถมตีกรอบการเข้ารับตรา สคบ. จนไม่เป็นธรรม ตัดสิทธิ์ผู้ประกอบการที่ดี เพียงเพราะไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมขายตรงใดเลย วอน สคบ. ควรนำเรื่องกลับไปทบทวนใหม่

หลังการเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา จิรชัย มูลทองโร่ย ได้มีการจัดระเบียบภายในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หลายเรื่อง โดยเฉพาะการเข้ามาจัดระเบียบและสนับสนุนธุรกิจขายตรงไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือประเด็นการจัดทำตราสัญลักษณ์ สคบ. เพื่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดแก่ผู้บริโภค สำหรับตราสัญลักษณ์ สคบ. ที่ก่อนหน้านี้ได้มีการพูดคุยกันในวงกว้างเกี่ยวกับการกำหนดกฎเกณฑ์ที่ซ้ำซ้อนหรือเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน เนื่องจากสินค้าทุกรายการที่จะนำมาจำหน่ายนั้นต้องผ่านการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และจะต้องขออนุญาตการจำหน่ายจาก สคบ. อีกครั้ง และ ที่สำคัญสินค้าทุกรายการจากบริษัทขายตรงข้ามชาติ หรือแม้แต่บริษัทขายตรงภายในได้มีมาตรการในการ ควบคุมสินค้าอย่างละเอียดถี่ถ้วนอยู่แล้ว หากเกิด ปัญหาในการใช้สินค้ากับผู้บริโภค

ก่อนหน้านี้ สคบ. ได้เสนอ 3 ทางเลือกให้กับ ผู้ประกอบการเพื่อเป็นการการันตีความเสี่ยง หาก เกิดความเสียหายกับผู้บริโภค นั่นคือ การตั้งธนาคาร ให้เป็นหนึ่งในองค์กรประกันความเสียหาย การให้ บริษัทเอกชนตั้งกองทุนขึ้นมาเอง เพื่อเป็นการ เยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้บริโภค และสุดท้ายคือ การใช้กลไกบริษัทประกันภัยเข้ามาร่วมดำเนินการ ความคืบหน้าล่าสุด ในการรับตราสัญลักษณ์ สคบ. ที่ก่อนหน้านี้มีการให้ผู้ประกอบการนำเงิน ฝากแบงก์ 300,000-500,000 บาท ขึ้นอยู่กับยอดขาย ซึ่งข้อสรุปจาก สคบ. ที่ได้คือผู้ประกอบการต้องนำ เงินฝากแบงก์ในเบื้องต้น 500,000 บาท นอกจากนี้ ยังมีข่าวออกมาว่า นอกจากการนำเงินการันตีฝาก แบงก์แล้ว ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายค่าสมาชิกรายปี ให้กับ สคบ. อีกประมาณ 20,000-30,000 บาท

กับประเด็นดังกล่าว จิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า ในปีนี้คาดว่าจะมีผู้ประกอบการ ธุรกิจขายตรงเข้ารับตราสัญลักษณ์ สคบ. ประมาณ 50-60 ราย ซึ่งขณะนี้มีบริษัทที่ติดต่อ สคบ. เพื่อรับ ตราสัญลักษณ์ สคบ. แล้วประมาณ 10 ราย ในส่วนของหลักเกณฑ์การรับตราสัญลักษณ์ สคบ. ผู้ประกอบการต้องดำเนินธุรกิจถูกต้องตาม กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายขายตรง รวมถึงการรับหลักเกณฑ์มาตรการเยียวยาความ เสียหายด้วยการนำเงินกองทุนที่ได้ฝากแบงก์ไว้ ขั้นต่ำจำนวน 500,000 บาท นอกจากนี้ผู้ที่จะรับ ตราสัญลักษณ์ สคบ. จะต้องเป็นสมาชิกของสมาคม ขายตรงใดสมาคมหนึ่ง

อย่างไรก็ดี กรณีที่มีข่าวว่าการนำเงินฝาก แบงก์เพื่อเยียวยาความเสียหายผู้บริโภคถือเป็นการ ทำงานที่ซ้ำซ้อน ส่วนตัวไม่ได้มองว่าเป็นการทำงาน ที่ซ้ำซ้อน แต่มองว่านโยบายดังกล่าวถือเป็น มาตรการในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค หรือจะกล่าวได้ว่าภาครัฐได้สนับสนุนผ้ปู ระกอบการ ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง กับประเด็นข่าวที่ว่าผู้ประกอบการจะต้อง จ่ายเงินค่าสมาชิกรายปีให้กับ สคบ. หรือจะมีการ จ่ายให้ สคบ. 2 ปีต่อ 1 ครั้ง เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เลย และหากมีข่าวว่าบริษัทใดรับตราสัญลักษณ์ สคบ. แล้วเสียเงิน ให้มาบอกเลขา สคบ. เลขา สคบ. กล่าว

อย่างไรก็ตาม กับประเด็นการรับตรา - สัญลักษณ์ สคบ. ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย โดยแหล่งข่าวในวงการธุรกิจราย หนึ่ง เปิดเผยกับ เดอะ พาวเวอร์ เน็ตเวิร์ค ว่า การนำเงินการันตีฝากแบงก์ขั้นต่ำจำนวน 500,000 บาท มองว่าเป็นจำนวนเงินไม่สูงและไม่น้อย จนเกินไป แต่มองว่าเงินจำนวนดังกล่าวอาจจะส่ง ผลกระทบกับบริษัทขายตรงรายเล็ก ที่มีผลกระทบ ถึงสภาพคล่องทางด้านการเงิน

ในเมื่อสินค้าได้รับใบอนุญาตจาก สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว ทำไมต้อง ขอตรา สคบ. อีก ตรงนี้เหมือนเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน ต้องบอกก่อนว่าในตลาดต่างๆ ทั่วโลก อย. เอเชีย ขึ้นชื่อ และได้รับการยอมรับในเรื่อง มาตรฐานการตรวจสอบมากที่สุด ตรงนี้ อย. มีความ รอบคอบมากๆ แหล่งข่าวรายหนึ่ง กล่าว ด้าน กนกพร แซ่ตั้ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทม์ลี่ จำกัด เปิดเผยกับ เดอะ พาวเวอร์ เน็ตเวิร์ค ว่า การรับตราสัญลักษณ์ สคบ. ไม่ใช่ วิธีการแก้ปัญหาที่ดี เนื่องจากนโยบายดังกล่าว เสมือนเป็นการสกัดไม่ให้บริษัทรายเล็กเข้ามา ทำธุรกิจ โดยเฉพาะการฝากเงินผ่านแบงก์ขั้นต่ำ 500,000 บาท นั้น เป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน และ มองว่าโดยส่วนใหญ่มีผู้ประกอบการหลายราย ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว

ขณะที่ อัศวิน วัฒนปราโมทย์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โดกุดามิ เอเชีย จำกัด กล่าวกับ เดอะ พาวเวอร์ เน็ตเวิร์ค ว่า นโยบายตรา- สัญลักษณ์ สคบ. ในปัจจุบันยังไม่สามารถหา ข้อยุติได้ บางรายเห็นด้วยและบางรายไม่เห็นด้วย ส่วนกรณีการจำกัดผู้ประกอบการที่จะเข้ารับตรา สคบ. นั้นจะต้องเป็นสมาชิกของสมาคมขายตรงใด สมาคมหนึ่ง เรื่องนี้ไม่เห็นด้วย และมองว่า ไม่ยุติธรรมกับหลายบริษัทที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของ สมาคมขายตรง

เราไม่เห็นด้วยกับการที่ทุกบริษัทจะต้อง เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมขายตรง เหมือนกับ สคบ. ไปจำกัดสิทธิ์จนเกินไป เรื่องนี้ สคบ. ควรเปิดโอกาส ให้ทุกฝ่ายอยู่ในระบบการค้าเสรี ในทางกลับกัน ก็ยังมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร อยากถามว่ารัฐ ไม่มีมาตรการที่จะทำให้ผู้ประกอบการที่ดีได้รับ การพิจารณาแล้วหรือ เรื่องนี้ถ้า โดกุดามิ ไม่ได้ รับตรา สคบ. เพียงเพราะเราไม่ได้เป็นสมาชิกของ สมาคมขายตรงใดเลย แต่กลับถูกตีกรอบจาก สคบ. ก็ไม่เป็นไร

อย่างไรก็ตาม มีคำถามที่ต้องการฝากไปถึง สคบ. ว่า หากผู้ประกอบการไม่ชอบสมาคม ขายตรงใดเลย แล้วจะเข้าไปได้อย่างไร และหาก สมาคมขายตรงทุกสมาคมไม่ชอบผู้ประกอบการ แล้วผู้ประกอบการจะเข้าไปอยู่ในสมาคมนั้นได้ อย่างไร ซึ่งมองในภาพรวมเมื่อผู้ประกอบการไม่มี ความเชื่อมั่นในสมาคมขายตรงที่ปัจจุบันมีถึง 4 สมาคมขายตรง เรื่องนี้ สคบ. จะแก้ปัญหา อย่างไร ดังนั้น สคบ. ควรนำกลับไปทบทวนใหม่




ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ.The Power Network ฉบับที่ 221 ประจำวันที่ 16-30 เมษายน 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น