ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

ข่าวโดกุดามิ (Dokudami) : "โดกุดามิ" แย้ง "ตราสคบ." ไม่ควรบังคับสังกัดสมาคม







img_556f8a5cc895a7cd3b42ac01d8269bf8 (Mobile)


"อัศวิน" แม่ทัพใหญ่ "โดกุดามิ" ประกาศไม่เห็นด้วยกับภาครัฐหลายเรื่อง หลังเข้าร่วมสัมมนา เรื่อง "แนวทางการ ดำเนินการของผู้ประกอบธุรกิจขายตรง เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" โดยเฉพาะกฎเกณฑ์การขอรับ "ตราสัญลักษณ์สคบ." แย้ง สคบ.ควรตั้งมาตรฐานสินค้า และบริษัท ที่ควรได้ตรา สคบ. ไม่ใช่ให้ความสำคัญกับขายตรงที่มีสมาคม สังกัด ชี้บริษัทมีสมาคมอยู่ ไม่ได้ดีกว่าบริษัทที่เป็นเอกภาพ


ศ.เกียรติคุณ ดร.อัศวิน วัฒนปราโมทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โดกุดามิ เอเชีย จำกัด เปิดเผยในประเด็นนี้ว่า ตนไม่เห็นด้วยกับหลายเรื่องที่ สคบ. และหน่วย งานรัฐได้กล่าวในการสัมมนาครั้งนี้ โดยเฉพาะเรื่องของการขอรับ "ตราสัญลักษณ์ สคบ." ที่ สคบ.ให้ความสำคัญแต่บริษัทที่มีสมาคมขายตรงสังกัดอยู่ โดยไม่ได้เปิดรับให้บริษัทที่ไม่มีสังกัดสมาคมได้เข้ามาร่วมโครงการดังกล่าว


"การที่ สคบ. เปิดโอกาสให้แต่บริษัท ที่มีสังกัดสมาคมอยู่ เพื่อเข้าขอรับตราสัญลักษณ์ สคบ. เป็นเรื่องที่ไม่เห็นด้วยไม่ได้ เนื่องจากตนไม่เห็นด้วยที่ว่า บริษัทที่มีสมาคมสังกัดเป็นบริษัทที่ดีกว่า บริษัทที่ไม่มี สังกัดสมาคม เพราะไม่ว่าสมาคมใดที่มีอยู่ ณ วันนี้ ก็ใช่ว่ามีแต่บริษัทน้ำดี โดยที่ สคบ. เอาอะไรมาวัดว่า บริษัทใดดีไม่ดีอย่างไร"


อย่างไรก็ดี ปัญหาหนึ่งของการที่หลาย บริษัทไม่มีสังกัดสมาคมก็เพราะบริษัทนั้นๆ ไม่ต้องการร่วมกับสมาคมใดสมาคมหนึ่ง ถึงแม้ว่าบริษัทนั้นจะเป็นบริษัทน้ำดีก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้น บางสมาคมก็ไม่รับบริษัทขนาด เล็ก หรือสมาคมบางสมาคมก็มีขนาดเล็ก ซึ่งบริษัทต่างๆ ไม่ต้องการเข้าร่วม นี่คือปัญหาที่ว่าทำไมบริษัทขายตรงส่วนใหญ่จึงไม่มีสังกัดสมาคม


"สคบ.ควรตั้งมาตรฐานการขอรับตรา สัญลักษณ์ สคบ.ให้มีความชัดเจน ยกตัวอย่างตรามาตรฐาน "มอก." ที่มีมาตรฐาน คุณภาพของสินค้าที่จะเข้ารับอย่างชัดเจน ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าของบริษัทใด มีสังกัดอย่างไรยังไง ซึ่ง สคบ.ควรนำวิธีนี้ไปตั้งมาตรฐานบริษัทที่จะเข้ามาขอรับตราแทน ที่จะแยกชนชั้น ว่าบริษัทที่จะเข้ามาขอรับตรา สคบ.นั้น จะต้องมีสังกัดสมาคมใดสมาคม หนึ่ง"


ดังที่กล่าวมา ในวันสัมมนาที่ผ่านมา มี 353 บริษัทที่ลงทะเบียนรายงานตัวว่ายังดำเนินธุรกิจอยู่ แต่เมื่อแยกเป็นบริษัทที่มีสังกัดสมาคมทั้ง 3-4 สมาคม ก็มีไม่ถึง 100 บริษัทด้วยซ้ำที่มีสังกัดสมาคม แล้วอีกกว่า 250 บริษัท จะทำอย่างไร ทั้งๆ ที่กลายเป็น เสียงส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ซึ่งการที่ สคบ.จะเปิด รับตราสัญลักษณ์ สคบ.นี้ ควรตั้งมาตรฐาน ที่ชัดเจน ไม่ใช่ว่าต้องเป็นบริษัทสังกัดสมาคม ซึ่งเรื่องนี้ตนไม่เห็นด้วยกับภาครัฐ


ในส่วนของการรื้อกฎหมาย และตั้งหน่วยงานรัฐขึ้นมาดูแลธุรกิจขายตรงโดยเฉพาะ ที่รัฐแสดงความเป็นไปได้ในเรื่องนี้นั้น ทาง "ดร.อัศวิน" เผยว่า เรื่องนี้ตนเห็นด้วย เนื่องจากกฎหมายเดิมที่ใช้อยู่ ก็มีอายุ กว่า 10 ปีแล้ว ส่วนการตั้งกฎหมายใหม่นั้น รัฐจะต้องให้ความเป็นธรรมกับ 3 ฝ่ายคือ 1.ผู้ประกอบการ 2.นักธุรกิจอิสระ และ 3.กลุ่ม ผู้บริโภค ซึ่งทั้งหมดเป็นกลุ่มคนสำคัญที่รัฐต้องให้ความเป็นธรรม


ส่วนเรื่องของการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาดูแลธุรกิจโดยเฉพาะนั้น ก็นับเป็นเรื่องที่ดี ซึ่ง สคบ.ปัจจุบัน มี หน้าที่ และภาระมาก ถึงเวลาแล้ว ที่สคบ.ต้องปล่อย ให้หน่วยงานเฉพาะดูแลธุรกิจขายตรง เพื่อยกระดับวงการอย่างจริงจังต่อไป


ทั้งนี้ ในช่วงก่อนหน้านี้ "โดกุดามิ" เคยเป็นหนึ่งในบริษัทที่สังกัด สมาคมอุตสาหกรรมขายตรงไทย โดยที่ "ศ.เกียรติคุณ ดร.อัศวิน วัฒนปราโมทย์" ก็ได้รับการแต่งตั้งให้นั่งเป็นนายกสมาคมด้วยซ้ำ แต่ด้วยนโยบายหลักของตัวเอง ที่ต้องการเห็น การรวมตัวกันของสมาคมขายตรงที่มีอยู่ทั้งหมดในช่วงนั้น 3 สมาคม อย่าง สมาคม การขายตรงไทย (TDSA), สมาคมพัฒนา การขายตรงไทย (TSDA) และสมาคมอุตสาหกรรมขายตรงไทย (TDIA) รวมเป็นหนึ่ง สมาพันธ์ขายตรงไทย ซึ่งไม่มีใครเห็นชอบกับเรื่องนี้ จนเป็นเหตุให้ตนลงจากตำแหน่ง นายกสมาคม และถอนตัวบริษัทจากการเป็นสมาชิกสมาคม


โดย "อัศวิน" ได้กล่าวในวันลาออกจากการเป็นสมาชิก และนายกสมาคมฯ ว่า ในวันแรกที่ตนเข้ารับตำแหน่งนายกสมาคมฯ นโยบายสำคัญที่ตนอยากจะเร่งให้เกิดขึ้น คือ แนวคิดการจัดตั้งสมาพันธ์การขายตรงไทย เพราะอยากให้เกิดความรัก ความสามัคคีกันระหว่างสมาคมต่างๆ ในอุตสาหกรรมขายตรงในประเทศ แต่ ณ วันนี้ ตนคงต้อง ยอมรับแล้วว่า แนวความคิดดังกล่าวคงไม่ สัมฤทธิผลอย่างที่หวังไว้อีกต่อไป เนื่องจาก ประเด็นการรวม 3 สมาคมเป็นหนึ่งเดียว ไม่สอดรับกับนโยบายของทางเบื้องบน และ ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้นำในบางสมาคม


"การที่ตนจะทำงานให้สำเร็จลุล่วงนั้น จะต้องมีกำลัง มีคณะกรรมการที่เข้มแข็ง คือมีคณะกรรมการที่มีความตั้งใจจริง มีความเห็นตรงกันในวัตถุประสงค์หลักของสมาคม ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อให้สมาคมมีความยั่งยืน เป็นที่พึ่งของบรรดาผู้ประกอบการกิจการขายตรง แต่เมื่อเห็นแล้วว่า ยังไม่สามารถทำให้บรรลุสิ่งเหล่านี้ได้ ตนก็ไม่อยากเสียเวลาที่จะต้องไป ทำให้คนอื่นเขามีความล้าช้า ในการที่เขาจะก้าวเดินอย่าง ที่เขาต้องการอีกต่อไป"




Credit By :http://www.siamturakij.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น