ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผงะ !! ขายตรงแห่แซ้งกิจการ 4 เดือน สคบ.เซ็น ปิด มากกว่า เปิด







bankruptcy (Mobile)


ตะลึง!! สคบ. เซ็นใบอนุญาตผู้ประกอบการขายตรงปิดกิจการ มากว่าจดทะเบียนใหม่ แค่ 4 เดือน (ต.ค.-ธ.ค.55) เซ็นคำสั่งยกเลิกไปแล้วมากกว่า 25 บริษัท ขณะที่เซ็นใบอนุญาตใหม่มีไม่ถึง 10 บริษัท ส่วนยอด 6 เดือนแรก ปี 56 มีบริษัทยื่นขอปิดตัวไปแล้วกว่า 10 บริษัท อ้างเหตุผล 3 ข้อ เบื่อพวกแม่ทีมแสบชอบย้ายค่ายบ่อย-หาสมาชิกไม่ได้-สินค้าติดตลาดแล้ว ด้าน ฐิตินันท์ ยอมรับเหตุ สคบ. เซ็นใบอนุญาตผู้ประกอบการรายใหม่น้อยกว่าเซ็นยกเลิกกิจการ เพราะต้องการคุมเข้มบริษัทขายตรง หวังปกป้องสิทธิผู้บริโภคให้มากที่สุด ล่าสุดจับมือพันธมิตรลงพื้นที่ตรวจสอบเอกชนรายใดดำเนินธุรกิจเข้าข่ายมันนี่เกมระดมทุนและแชร์ลูกโซ่ เตรียมเชือดทันที


รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ระบุว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2555 สคบ. ได้เซ็นคำสั่งยกเลิกผู้ประกอบการขายตรงที่ยื่นขอยกเลิกกิจการไปแล้ว 25 ราย ส่วนตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการยื่นเรื่องเข้ามายัง สคบ . เพื่อขอยกเลิกกิจการไปแล้วกว่า 10 ราย ขณะที่ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2555 สคบ. เซ็นอนุมัติบริษัทขายตรงที่ยื่นขอจดทะเบียนใหม่มีไม่ถึง 10 บริษัท สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจาก สคบ. ภายใต้การบริหารงานใหม่ของ จิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการ สคบ. คนใหม่ต้องการให้มีการเข้มงวด เพื่อตรวจสอบบริษัทขายตรงที่ยื่นขอจดทะเบียนใหม่มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ประกอบการหลายรายที่ได้รับใบอนุญาตจาก สคบ. ไปแล้ว แต่ดำเนินธุรกิจผิดไปจากที่ยื่นไว้กับ สคบ. ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้มากขึ้นจนทำให้มีข่าวลือหนาหูว่า สคบ. ยุคได้มีการเรียกรับรับเงินจากผู้ประกอบการ


ฐิตินันท์ สิงหา ผู้อำนวยการส่วนงานขายตรงและตลาดแบบตรง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการขายตรงยื่นเรื่องขอจดทะเบียนที่ สคบ. มีประมาณ 10-20 บริษัท ซึ่ง สคบ. ได้อนุมัติไปแล้วไม่ถึง 5 บริษัท สาเหตุที่ สคบ. อนุมัติล่าช้า เนื่องจากติดปัญหาในเรื่องของกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น กฎหมายเรื่องของอาหารสัตว์ ที่เกี่ยวข้องกับกรมปศุสัตว์ หรือกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดังนั้น หาก สคบ. อนุมัติไปโดยไม่มีการตรวจสอบเกรงว่าจะมีผลกระทบกับหน่วยงานอื่นๆได้


ทั้งนี้ นโยบายของท่าน จิรชัย มูลทองโร่ย เลขาฯ สคบ. ต้องการให้มีการดำเนินการไปตามกฎหมายทั้งที่เกี่ยวกับ สคบ. และกฎหมายอื่นอย่างเคร่งครัด เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการร้องเรียนจากหน่วยงานอื่นว่า มีสินค้าของบริษัทขายตรงที่โฆษณาในเคเบิลทีวีเกินความเป็นจริงซึ่งโฆษณาบางส่วน สคบ. จะเข้าไปดูว่าสินค้าบางรายการที่ผู้ประกอบการยื่นมาต้นทุนค่อนข้างสู.เกินความเป็นจริง ทำให้การอนุมัติค่อนข้างล่าช้าเพราะเรามีหน้าที่ที่ต้องดูแลถึง 3 ส่วนกันได้แก่ ผู้ประกอบการ,ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค


สาเหตุที่ทางผู้ประกอบการได้ใบอนุญาตล่าช้า เพราะทางท่านเลขาฯ ต้องการให้มีการเข้มงวดในการออกดใบอนุญาต โดยได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาในการตรวจสอบแผนการจ่ายผลตอบแทนให้กับสมาชิกว่า จ่ายในอัตราที่มากเกินความเป็นจริงหรือไม่ จากนั้นทางท่านเลขาฯ จะเป็นผู้พิจารณาอีกครั้ง ซึ่งบางรายที่ยื่นสินค้าเข้ามา อาจจะไปเกี่ยวพันกับกฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมายของกรมการขนส่ง,กฎหมายที่เกี่ยวกับกรมวิชาการเกษตร หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับทาง กสทช. เป็นต้น ซึ่งทางสคบ.จะต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดค่อนข้างมากจึงทำให้ต้องใช้เวลาในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการรายใหม่


ฐิตินันท์ กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ประกอบการขายตรงยื่นเรื่องขอยกเลิกกิจการว่า สาเหตุที่ผู้ประกอบการเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้มีปัจจัยหลัก 3 ข้อ ได้แก่ 1. ไม่ประสงค์จะทำธุรกิจต่อ ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากกาย้ายค่ายบ่อยของแม่ทีม ทำให้เจ้าของรู้สึกเบื่อหน่าย 2.เจ้าของธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จในการหาสมาชิกใหม่เข้ามาเพิ่มได้ และ 3.สินค้าติดตลาดแล้วเปลี่ยนแผนมาทำตลาดแบบตรงแทน ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการยกเลิกกิจการไปแล้ว 25 รายและตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556 มีผู้ประกอบการยื่นเรื่องเพื่อขอยกเลิกกิจการมานานแล้วกว่า 10 ราย ซึ่งการที่ สคบ. ในฐานะที่มีหน้าที่กำกับดูแลบริษัทขายตรงโดยตรงจะเข้าไปดูว่าในรายละเอียดว่าการยกเลิกกิจการดังกล่าวมีผลต่อผู้จำหน่ายอิสระหรือไม่ หรือหากยกเลิกกิจการไปแล้ว แต่ผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบสมาชิก หากมีการร้องรียนเข้ามาเป็นต้น


ตั้งแต่ตุลาคม 2555 จนถึงปัจจุบัน มีเรื่อง ร้องเรียนจากผู้จำหน่ายอิสระเข้ามายัง สคบ. ประมาณไม่ถึง 10 บริษัท ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไม่จ่ายค่าผลตอบแทน และโดนตัดรหัส ซึ่งทาง สคบ. ได้เรียกทั้ง 2 ฝ่าย เข้ามาไกล่เกลี่ย มีบางกรณีก็สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ แต่ก็มีบางกรณีที่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ ก็ต้องปล่อยให้ทั้ง 2 ฝ่าย ไปตกลงกันเอง


ส่วนกรณีที่มีผู้ประกอบการบางรายที่ได้รับใบอนุญาตจาก สคบ. ไป แล้วไปดำเนินธุรกิจที่เข้าข่ายเป็นธุรกิจมันนี่เกม ระดมทุน หรือ แชร์ลูกโซ่นั้น สคบ.ได้มีการตรวจสอบโดยการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อเข้าไปแฝงตัวหาข้อมูลในเชิงลึก ซึ่งมีหลายคดีที่ สคบ. ได้ส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เป็นพันธมิตรให้เข้าไปดำเนินการต่อเช่น กรมสอบสวนคดีพอเศษ (ดีเอสไอ) และกลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ กระทรวงการคลังเป็นต้น ซึ่งหากพบว่าบริษัทใดเข้าข่ายเป็นธุรกิจมันนี่เกม ระดมทุน และแชร์ลูกโซ่ก็จะเข้าดำเนินการทันที






ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ.The Power Network ฉบับที่ 227 ประจำวันที่ 16-31 กรกฎาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น