ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรรพากร ไล่บี้ขายตรงโอเวอร์เคลมยอด







030289 (Mobile)


ขายตรงถือเป็นธุรกิจที่สร้างเม็ดเงินให้กับเจ้าของ ผู้ประกอบการและผู้จำหน่ายอิสระ หรือสมาชิกในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินมหาศาล สร้างเงินหมุนเวียนในอุตสาหกรรมขายตรงปีละหลายหมื่นล้านบาทนอกจากธุรกิจขายตรงจะสร้างเม็ดเงินจำนวนมากแล้ว ที่สำคัญยังทำเงินง่ายและเร็วอีด้วย ซึ่งนั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ กระโดดเข้ามาสู่ธุรกิจนี้กันอย่างต่อเนื่อง


การเติบโตในอุตสาหกรรมการขายขายตรงไทย ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตสูงกว่าอัตรามวลรวมของประเทศ (GPD) โดยในปี 255 ที่ผ่านมามูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมขายตรงไทยสูงถึง 7,800 ล้านบาทเติบโต 7% ขณะที่ GDP ของประเทศไทยเติบโตเพียงแค่ 4-5% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เสน่ห์ของธุรกิจขายตรง คือ ไม่อิงกับสภาวะทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ แม้ในยามที่เศรษฐกิจในประเทศเติบโตขายตรงก็ยังโต หรือแม้ในยามที่เศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัวธุรกิจขายตรงก็ยังโต


แม้ธุรกิจขายตรงจะมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างสูงส่งผลให้ผู้ประกอบการขายตรง และนักธุรกิจที่มีรายได้กันเป็นกอบเป็นกำ แต่ก็มีผู้ประกอบการบางราย อาศัยช่องวางของกฎหมายส่งงบการเงินไม่ตรงกับความเป็นจริง


โดยมีผู้ประกอบการขายตรงบางรายประกาศผ่านสื่อมวลชนว่า ยอดขายสิ้นปีสูงในระดับหลักร้อยหลักพันล้าน แต่พอเข้าไปตรวจสอบงบที่ยื่นแจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กลับห่างกันลิบลับกับยอดจริง อยู่แค่หลักสิบ หลักร้อยล้านเท่านั้น แถมยังกล้าออกมาประกาศว่าบริษัทของตัวเองจ่ายภาษีครบทุกบาท


จึงเกิดคำถามตามมาว่า แล้วบริษัทขายตรงเหล่านี้ ยอดขายจริงๆเท่าไร และจ่ายภาษีตรงหรือไม่


เพราะแทนที่ภาครัฐจะจัดเก็บภาษีได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย กลับต้องสูญเสียรายได้เข้ารัฐ เพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ กรมสรรพากร ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ของบริษัทขายตรงในการส่งคืนภาษีให้กับภาครัฐ ซึ่งมีหลายบริษัทที่โดนสรรพากรเข้าไปเรียกตรวจสอบข้อมูลการส่งงบการเงินย้อนหลังไปแล้ว


หนึ่งในข้อมูลที่สรรพากรนำมาใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบผู้ประกอบการที่ชอบเลี่ยงภาษี คือการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารบริษัทขายตรงผ่านสื่อต่างๆ ดังนั้นผู้ประกอบการที่ออกมาให้ข่าวในลักษณะว่า ปิดยอดขายที่เท่านั้นเท่านี้สุดท้ายคำพูดที่โอเวอร์เคลมจะกลายมาเป็นดาบสองคมที่ย้อนกลับไปทำร้ายตนเอง ดังสุภาษิตที่ว่า ปลาหมอตายเพราะปาก


ก่อนหน้านี้ วณี ทัศนมณเฑียร ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี กรมสรรพากร ระบุว่า ขณะนี้ทางกรมฯ ได้ติดตามผู้ประกอบการที่มีรายได้เป็นจำนวนมาก เช่น กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค ทุกประเภท ที่กำลังเป็นที่นิยมซื้อขายบนโลกอินเทอร์เน็ตเฉพาะสินค้าประเภทเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และเครื่องสำอาง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าแบรนด์เนมที่นำเข้าจากต่างประเทศ ยังรวมไปถึงสินค้าในกลุ่มธุรกิจขายตรงหรือธุรกิจเครือข่ายในการจัดเก็บภาษี


ด้าน ฐิตนันท์ สิงหา ผู้อำนวยการส่วนงานขายตรงและตลาดแบบตรง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลดูแลธุรกิจขายตรงโดยตรงให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการส่งงบการเงินของบริษัทขายตรงว่า การรายงานผลประกอบการของภาคเอกชนถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะได้ทราบว่าบริษัทเหล่านี้ยังคงดำเนินธุรกิจอยู่หรือไม่ ซึ่งอาจจะมีบางรายที่ไม่รายงานผลประกอบการ หรืออาจรายงานแต่ไม่ตรงกับยอดจริงก็อาจมีความเป็นไปไปได้ที่พันธมิตรอย่าง สรรพากร จะเข้าไปตรวจสอบเพื่อขอดูงบการเงินย้อนหลัง


ขณะที่ กิจธวัช ฤทธีราวี นายกสมาคมการขายตรงไทย (TDSA) บอกว่าการที่กรมสรรพากรเข้ามาตรวจสอบบริษัทขายตรงที่แจ้งยอดไม่ตรงกับความเป็นจริง ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะยังมีบางบริษัทที่ยังเลี่ยงการจ่ายภาษี ซึ่งในส่วนของบริษัทที่เป็นสมาชิกในสมาคมฯ ปฏิบัติตามกฎหมายทุกอย่างถูกต้องอยู่แล้ว


เช่นเดียวกับ นาคาญ์ ทวิชาวัฒน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมขายตรงไทย (TDIA) ที่ให้มุมมองในกรณีผู้ประกอบการขายตรงที่ประกาศตัวเลขยอดขายเกินความจริงว่าการที่ผู้ประกอบการแจ้งตัวเลขยอดขายสูงเกินจริง เพื่อต้องการหวังจะสร้างความฮึกเหิมให้กับสมาชิก แต่ไม่ได้สร้างผลดีกับตัวบริษัทเลย เพราะการที่เจ้าของบริษัทประกาศยอดขายเยอะๆจะทำให้สรรพากรเข้าตรวจสอบได้ดังนั้น อยากได้ผู้ประกอบการอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงไม่ควรโอเวอร์เคลมยอด





ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ.The Power Network ฉบับที่ 227 ประจำวันที่ 16-31 กรกฎาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น