ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เซ็งลี้ใบอนุญาตขายตรงกระหึ่ม สะพัดหน้าใหม่จ่ายใบละ3แสน







01 (Mobile)


แฉพฤติกรรมผู้ประกอบการหัวหมอ ยื่นขอใบอนุญาตขายตรงตุนเอาไว้เต็มกระเป๋า อาศัยช่วงที่สถานการณ์เศรษฐกิจกำลังร้อนแรง เร่ขายใบอนุญาตเกลื่อนตลาด ด้วยสนนราคาย่อมเยาใบละ 300,000 บาท ยังไม่รวมค่าที่ปรึกษารายเดือนอีกเดือนละ 50,000 บ. แลกกับความ สะดวกสบาย ในการยื่นใบอนุญาตใหม่ ข่าววงในลือกันหึ่ง เกือบ 900 บริษัทฯ มีแสดงตัวตนทำธุรกิจจริงเพียง 353 บริษัทเท่านั้น คาดส่วนที่ เหลืออาจถูกนำมาเซ็งลี้หารายได้เข้ากระเป๋าเป็นลํ่าเป็นสัน สคบ.เดิมเกม ดักคอ สั่งขึ้น บัญชี 2 กรณีพฤติกรรมไม่โปร่งใส

ย้อนอดีตสคบ. ปมเงื่อนปลอ่ยผีใบอนุญาต 900 ใบ

นับตั้งแต่มีการสถาปนาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 จวบจนมาถึงวันนี้ก็ 34 ปีเต็ม ที่กฎหมายพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ.2519ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยมีดำริในการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น แต่ก็มีอันต้องสลายตัวไปพร้อมกับอายุขัยของรัฐบาลจวบจนกระทั่งมาถึงยุครัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ กฎหมายสคบ.ก็สามารถ ผ่านร่างในรัฐสภาเป็นผลสำเร็จโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2522 เป็นต้นมา เหตุผลประกอบการประกาศใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้ ก็คือ ในยุคนั้นมีการเสนอขายสินค้าและ บริการต่าง ๆ มากมาย ซึ่งนับวันก็จะเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการ รวมไปถึงผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาได้นำวิชาการทางการตลาดและการโฆษณามาใช้ในการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการ จนทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ เนื่องจากไม่อยู่ในฐานะที่รู้เท่าทันทางการตลาดประกอบกับคุณภาพและราคาสินค้า เมื่อมีการละเมิดสิทธิ ผู้บริโภคต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นจำนวน มาก อีกทั้งในบางกรณี เมื่อเกิดความไม่ชอบมาพากล ก็ไม่สามารถระงับยับยั้งการกระทำที่ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภคได้ทันท่วงที

เพราะฉะนั้น ตรงจุดนี้ คือ ที่มา ที่รัฐบาลจำเป็นจะต้องมีหน่วยงานหรือองค์กรเข้ามากำกับ ดูแลผู้ประกอบการรวมทั้งให้ความคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม อย่างไรก็ดี ถ้าจะมาดูในเรื่องบทบาทในการเข้ามากำกับ ดูแลธุรกิจขายตรงและการตลาดแบบตรง สคบ. ถือเป็นหน่วยงาน หลักที่มารับผิดชอบโดยตรง ที่เดินคู่ขนานไปกับการคุ้มครอง สิทธิของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการทั่วประเทศโดยภายหลังจากที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค เริ่มบังคับใช้ในปีพ.ศ.2545 สคบ.ก็มีกฎหมายรองรับอีก 1 ฉบับ ในการเข้ามา กำกับดูแลธุรกิจขายตรงและการตลาดแบบตรงกฎหมายขายตรงและการตลาดแบบตรง เกิดขึ้นหลังจากที่ มีผู้ประกอบการขายตรงเกือบ 20 ปี โดยในยุคนนั้นผู้ประกอบการยังมีไม่มาก การทำธุรกิจเครือข่าย ยังอยู่ในวงจำกัด

แต่เมื่อผ่านมาถึงช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ธุรกิจขายตรงกลับเจริญงอกงาม ผุดขึ้นเป็น ดอกเห็ด มีผู้มายื่นขอรับใบอนุญาตประกอบการมากเป็น ประวัติการณ์รายงานตัวเลขล่าสุดจากสคบ.แจ้งว่า ณ วันนี้ ใบอนุญาตที่ปล่อยออกไปทั้งในอดีตและ ปัจจุบัน รวม ๆ กันแล้วเกือบ 900 บริษัท ผ่านการพิจารณาจากผู้มี อำนาจ ซึ่งหมายถึง เลขาธิการ สคบ.มาหลายยุคหลายสมัย โดย ในขณะนี้ จากการเปิดเผยของ นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการ สคบ.คนปัจจุบัน เปิดเผยกับ ว่ามีผู้มายื่นขอ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจขายตรง ในปี 2556 นี้ประมาณ 25-30 บริษัท

จิรชัย กลืนไม่เข้าคายไม่ออก อนุมัติง่ายก็ว่าอนุมัติช้าก็บ่น

ในจำนวนกิจการที่มายื่น ขอใบอนุญาตเหล่านี้ เท่าที่ได้มี การตรวจสอบส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ เสนอมาเพื่อเจตนาทำธุรกิจขาย ตรงแบบมืออาชีพ มีแผนการ ตลาดชัดเจน สินค้าได้มาตรฐาน แต่ก็มีบางกลุ่มที่เสนอ แผนการตลาดที่หวือหวา ให้ผล ตอบแทนสูงที่ผิดปรกติวิสัยของ ธุรกิจขายตรง ตรงนี้เป็นเหตุที่ทำให้การ พิจารณาต้องล่าช้า จนเสมือน กับสคบ. เจตนา เตะถ่วง เพื่อ หวังเรียกร้องผลประโยชน์ แต่เมื่อมามองในมุมกลับ กัน หากมีการปล่อยให้กิจการที่ ดำเนินธุรกิจแบบสุ่มเสี่ยงเข้าไป ดำเนินธุรกิจ หากเกิดความเสีย หายเกิดขึ้น ผลเสียก็จะตกกับ ประชาชน แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การ ยื่นขอใบอนุญาตธุรกิจขายตรง และการตลาดแบบตรง มีหลาย รูปแบบ เริ่มตั้งแต่การไปว่าจ้าง มืออาชีพขายตรง มาเป็นที่ ปรึกษาหรือว่าจ้างให้เป็นผู้ดำเนิน การยื่นเรื่องแทน เป็นกลุ่มที่เรียก ว่า มือปืนรับจ้าง

เท่าที่ติดตามข่าวมา ก็ได้ ยินมาบ้างเหมือนกันว่า ผู้ ประกอบการรายใหม่ที่ขาด ประสบการณ์ บางทีก็จำเป็นจะ ต้องหาคนที่มีความรู้ในเรื่องธุรกิจ ขายตรงมาเป็นที่ปรึกษาดำเนิน เรื่องให้ เนื่องจากเงื่อนไขในการ พิจารณามีหลายเรื่อง ไม่ใช่ว่าใคร อยากจะมาทำก็ทำได้ ต้องมี ประสบการณ์จริง ๆ ทางสคบ.ถึง จะพิจารณาอนุมัติให้ แหล่งข่าว ในวงการขายตรงเปิดเผยกับ ตลาดวิเคราะห์ ถึงการยื่นขอรับ ใบอนุญาตธุรกิจขายตรงในยุค ปัจจุบัน

เรื่องนี้นายจิรชัย มูลทองโรย่ เลขาธิการสคบ. เปิดเผยว่า เป็น สิทธิที่ผู้ประกอบการสามารถ ดำเนินการได้ เนื่องจากตัวผู้ประกอบการ ขอรับใบอนุญาต เพื่อไปดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง แต่ถ้าหาก เป็นไปใน ลักษณะที่มาขอยื่นใบอนุญาตไป เพื่อจำหน่ายจ่ายแจก หรือไป เซ็งลี้ ต่อกันเป็นทอด ๆ เรื่องนี้ถ้า หากถึงทางสคบ.คงจะต้องมี มาตรการในกำกับดูแล โดยใน ขณะนี้ บรรดาผู้ประกอบการที่ เสนอเรื่องเข้ามาส่วนใหญ่จะ ประกอบด้วย 3 เรื่องด้วยกัน เรื่องแรก การขอใบอนุญาต ใหม่เพื่อไปประกอบการ เรื่องที่สอง การยื่นขอ เปลี่ยนแปลงแผนการตลาด เรื่องที่สาม การขอเพิ่มเติม สินค้าเพื่อนำไปสู่ธุรกิจขายตรง ทั้ง ๆ 3 กรณี ถือเป็นเรื่อง ปรกติของธุรกิจขายตรง จะต้องมี การเสนอเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ เหมาะสมกับแนวทางการดำเนิน ธุรกิจของตัวเอง และสถานการณ์ การแข่งขัน แต่สิ่งที่เกินอำนาจที่ สคบ.จะเข้าไปควบคุมก็คือ การ เปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ของผู้ถือหุ้น ด้วยเหตุที่การดำเนินการ ดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเดินมา หาสคบ. เนื่องจากผู้ประกอบการ สามารถไปจดทะเบียนเปลี่ยน แปลงบริคณห์สนธิได้ที่กระทรวง พาณิชย์

ดังนั้น สิ่งที่หลายคนกำลัง ตั้งคำถามกันก็คือว่า ในจำนวน 900 บริษัทขายตรง ที่ได้รับใบ อนุญาตไป จะมีการดำเนินธุรกิจ ในรูปแบบธุรกิจขายตรงสักกี่ เปอร์เซนต์ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา สคบ. เคยทำ หนังสือไปยังผู้รับใบ อนุญาตทั้งหมด เพื่อขอคำยืนยัน ในการดำเนินธุรกิจ ปรากฏว่ามี เพียง 150 กิจการเท่านั้น ที่ตอบ รับ หลังจากนั้นเข้าสู่ปี 2556 มีการทำแบบสอบถามไปอีกครั้ง กลับมีตัวเลขเพิ่มขึ้นมาเป็น 353 บริษัท นี่คือ สิ่งทีสมาคมธุรกิจ ขายตรงทั้ง 4 สมาคมฯ มีความ กังขา และไม่เข้าใจว่า ใบอนุญาต ที่ลอยอยู่ในอากาศ ถูกขอไปเพื่อ อะไร และถึงวันนี้ คำตอบมันก็ เริ่มปรากฏออกมาแล้วว่า ใบ อนุญาตเหล่านี้ ถูก HOLD เอา ไว้ ที่แท้ก็เพียงเพื่อรอผู้ประกอบ การรายใหม่มา เซ็งลี้เอาไป นั่นเอง...

ได้ฤกษ์สังคายนา ถึงเวลาต้องลงดาบฟัน

มีการตั้งข้อสังเกตจากนัก วิชาการ หลายค่าย ที่มองว่า ธุรกิจ ขายตรงและการตลาดแบบตรง แม้จะมีกฎระเบียบข้อบังคับ ชัดเจนพอสมควร แต่กระบวนการ ในการพิจารณาให้ใบอนุญาต ยัง ขาดความชัดเจน ขาดความชัดเจนทั้งใน ด้านการให้ใบอนุญาต และการ เพิกถอนใบอนุญาต แตกต่างกับ ภาคธุรกิจประกันภัย ที่ไม่ได้ให้ใบ อนุญาตกันพรํ่าเพรื่อ มีการขีดเอาไว้ในวงจำกัด ประการหนึ่ง เพื่อสะดวกในการ กำกับดูแล ประการที่สอง เป็นการ คัดกรองผู้ประกอบการที่จะเข้ามา สู่ธุรกิจว่าจะต้องเป็นมืออาชีพ จริง ๆ

ในยุคก่อนหน้าที่นายจิรชัย มูลทองโร่ย จะเข้ารับตำแหน่ง สคบ. ถือเป็นยุคที่มีการปล่อยใบ อนุญาตขายตรงออกไปมากมาย เกลื่อนตลาด มีทั้งผู้ประกอบการ ที่ขอไปประกอบธุรกิจจริง และ เพื่อหวังจะนำเอาใบอนุญาตมา ปล่อยขายให้กับผู้ประกอบการ หน้าใหม่ หรือรวมไปถึงผู้ประกอบ การ ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน จาก ในระยะแรก ทำธุรกิจขายตรงตาม ระเบียบแบบแผน ไม่เน้นการ ระดมเงิน แต่ในระยะหลังก็เริ่มมี การทำธุรกิจทีเข้าข่าย แชร์ลูกโซ่ จนทางสคบ.รวมทั้งหน่วยงานที่ บังคับกฎหมาย ต้องออกมาปราบ ปรามกันขนานใหญ่

แหล่งข่าวระดับลึกเปิดเผย กับ ตลาดวิเคราะห์ว่า ในช่วง ครึ่งปีแรกของปี 2556 มีการนำ ใบอนุญาตประกอบการธุรกิจขาย ตรงและการตลาดแบบตรง มา ขายกันด้วยสนนราคาใบละ 300,000 บาท พร้อมกับมีการ กำหนดเงื่อนไขในการเป็นที่ ปรึกษากิจการอีกเดือนละ 50,000 บาท เหตุผลที่มีการออกมา เสนอขายจนกลายเป็นข่าวหนาหู ในวงการธุรกิจขายตรงมากเป็น พิเศษในช่วงนี้ แหล่งข่าวเปิดเผย ว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบาย ในการพิจารณาให้ใบอนุญาตของ สคบ.ในยุคนี้ เริ่มมีการเข้มงวด กวดขันมากเป็นพิเศษ ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะมีผู้ ประกอบการบางแห่ง เมื่อได้รับ ใบอนุญาตไปแล้ว ไม่ปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ในการทำ ธุรกิจ ขายตรง รวมไปถึงมีการฝ่าฝืน กฎหมาย จนทำให้เกิดความเสื่อม เสียกับระบบ

อีกด้านหนึ่ง เป็นเพราะใน ปัจจุบันนี้มีผู้ประกอบการที่ได้รับ ใบอนุญาตเป็นจำนวนมาแล้ว เกือบ 900 บริษัท แต่ก็มีจำนวน เกินกว่าครึ่ง ที่ไม่ได้มีการดำเนิน ธุรกิจอย่างจริงจัง ได้ใบอนุญาต ไปแล้วแต่ก็ไม่มีการดำเนินธุรกิจ ประการต่อมา ข้อจำกัดใน บทบาทของสคบ.ในการเข้ามา กำกับดูแล นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการสคบ.เปิดเผยว่า ใน องค์กรที่ทำหน้าที่กำกับเวลานี้ มี บุคคลที่จะทำหน้าที่ดูแลธุรกิจ ขายตรงเพียง 11 คนเท่านั้น ซึ่ง เมื่อเทียบกับปริมาณผู้ประกอบ การ ยังถือว่า มีความแตกต่างกันมาก ทำให้การดูแลอาจไม่ทั่วถึง

ดังนั้น เมื่อการขอใบ อนุญาตใหม่ เป็นไปโดยความ ยากลำบาก หรือถ้าหากจะรอรับ ใบอนุญาตเพื่อไปดำเนินธุรกิจก็ อาจจะต้องใช้เวลาที่ยาวนาน นับปีจึงเป็นเหตุที่ทำให้กลุ่มหรือ ขบวนการที่ถือใบอนุญาตเอาไว้ หลายใบ ก็เริ่มมองว่านี่คือโอกาส ที่น่าจะนำมาแสวงหาประโยชน์ ขณะที่ฝ่ายผู้ประกอบการ รายใหม่ ทั้งที่เป็นกลุ่มทุนจาก ต่างประเทศ หรือในประเทศ เมื่อ มีความประสงค์จะดำเนินธุรกิจ อย่างเร่งด่วน ก็สามารถเข้ามา ดำเนินการได้ทันที

แม้กระบวนการตรวจสอบ จากสคบ. จะมีการยืนยันว่า จะมี การพิจารณาอย่างเข้มงวด แต่ เนื่องจากผู้ประกอบการมีจำนวน มาก ซึ่งแม้ว่าทางสคบ. จะไม่ ยินยอมให้มีการดำเนินธุรกิจใน ลักษณะที่เรียกว่า แบล็คดอร์ แต่ด้วยเทคนิค และประสบการณ์ ของคนเหล่านี้ ก็สามารถผลักดัน ให้ผู้ประกอบการรายใหม่สามารถ เปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างทุน การ บริหาร รวมไปถึงแผนการตลาด และสินค้าได้สำเร็จ เรื่องนี้ ผมยืนยันว่า เรา ไม่มีการสนับสนุนในวิธีการดัง กล่าว เพราะทุกบริษัท หากจะ เปลี่ยนแปลงแผนการตลาด เพิ่ม เติมสินค้า ยังไงก็จะต้องมาให้ทาง สคบ.พิจารณาก่อน แต่การที่มี บางกิจการเสนอเปลี่ยนแปลง แผนหรือตัวสินค้า อาจเป็นไปได้ ที่เขามีการเสนอเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือ หุ้นหรือผู้บริหารใหม่ ซึ่งอันนี้เป็น สิ่งที่ควบคุมได้ยาก นายจิรชัย กล่าวกับ ตลาดวิเคราะห์ ถึง สถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมีการ ตรวจสอบย้อนหลัง แล้วพบว่ามี การกระทำดังกล่าวจริง ทางสคบ. ก็จะมีมาตรการในการควบคุมที่ เข้มข้นขึ้น โดยในปัจจุบันนี้ กลุ่มผู้ ประกอบการธุรกิจขายตรง มีการ จัดแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 บัญชี

บัญชีแรก (First Tier) จะ เป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ประพฤติ ปฏิบัติดี ไม่มีการดำเนินการที่ ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือสร้างความ เสียหายให้กับประชาชน มีการ ร้องเรียนค่อนข้างน้อย ส่วนบัญชี 2 (Second Tier) จะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ ที่อยู่ในข่ายเฝ้าจับตา ซึ่งหากผู้ ประกอบการที่ส่อว่าจะมีการ ดำเนินการในลักษณะ แบล็ค ดอร์ ก็จะอยู่ในกลุ่มนี้ซึ่งคงไม่ถึง กับถอนใบอนุญาต แต่หากจะมี การเสนอเปลี่ยนแปลงอะไรก็ คงจะต้องมีความเข้มงวดกวดขัน มากเป็นพิเศษ แหล่งข่าววงใน เปิดเผยว่า จากกระแสข่าวการนำใบอนุญาต ขายตรงมาเสนอขายให้กับผู้ ประการรายใหม่ นายจิรชัย มูล ทองโร่ย เลขาธิการสคบ. เปิดเผย ว่า เรื่องนี้ตนได้รับทราบข่าวมา ประมาณช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา โดยได้มีการสั่งให้ เจ้าหน้าที่จับตา หากมีลักษณะดังกล่าวจริง ก็จะไม่มีการอนุญาตให้มีการ เปลี่ยนแปลงแผนการตลาด หรือ จดทะเบียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัว สินค้า

ด้านนายธนวัฒน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์ เศรษฐกิจ หอการค้าไทย เปิดเผย ว่า ทางศูนย์ได้รับมอบหมายจาก สมาคมเครือข่ายขายตรง และได้ รับฉันทานุมัติจากสคบ.ให้เข้ามา ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลพื้น ฐานในการดำเนินธุรกิจขายตรง ทั้งระบบ ซึ่งเชื่อว่าภายในระยะ เวลา 6 เดือนนี้ จะทำให้ฐาน ข้อมูลของธุรกิจขายตรงมีความ ชัดเจนขึ้น โดยความชัดเจนดังกล่าวไม่เพียงแต่เฉพาะในเรื่องของ มูลค่าการขายสินค้าขายตรงทั้ง ระบบเท่านั้น หากแต่หมายถึง กลุ่มผู้ประกอบการทุกกิจการที่อยู่ ในระบบ จะต้องมีการแสดง ข้อมูลออกมาชัดเจนขึ้นว่า ใคร ดำเนินธุรกิจหรือไม่ดำเนินธุรกิจ หรือถ้าดำเนินธุรกิจดำเนินใน ลักษณะใด มีความเหมาะสมหรือ ไม่

นี่คือภารกิจที่ทางศูนย์จะ เข้ามาช่วยดูแลในเรื่องฐานข้อมูล ซึ่งหากทุกอย่างมีความชัดเจน การวางแผนเพื่อการพัฒนาก็จะ เป็นขั้นตอนต่อไป ที่จะเป็น ประโยชน์กับทุกฝ่ายทั้งในตัวผู้ ประกอบการด้วยกันเอง ผู้บริโภค รวมไปถึงหน่วยงานที่กำกับดูแล นายธนวัฒน์ กล่าว ปัญหาที่กลุ่มผู้ประกอบ การธุรกิจขายตรง มีการเรียกร้อง นอกเหนือไปจากให้ภาครัฐมีการ แก้ไขกฎหมายเพื่อจัดตั้งหน่วย งานหรือองค์กรเฉพาะเข้ามาดูแล พร้อม ๆ กับแก้ไขกฎหมายให้ ชัดเจนแล้ว สิ่งสำคัญ ที่ทุกคนอยาก เห็นก็คือ ทำ อย่างไรถึงจะมี มาตรการในการกำกับดูแล ผู้ ประกอบการให้เข้าสู่กระบวนการ ตรวจสอบได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะใบอนุญาต 900 ใบ เป็นที่ยอมรับกันอย่างชัดเจน ว่า เกินกว่าครึ่งไม่มีการดำเนิน ธุรกิจขายตรงอย่างจริงจัง แต่มุ่ง หวังเพื่อแสวงหาประโยชน์ในรูป แบบอื่น ตรงนี้ สคบ.จะจัดการกับ บรรดาผู้ประกอบการเหล่านี้ อย่างไร

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แนวทางที่ทางสคบ.ได้ออกมาขับ เคลื่อนร่วมกับ 4 สมาคมขายตรง ก็คือ การใช้มาตรฐานตรา สัญลักษณ์สคบ. เป็นเครื่องมือ ใน การดึงเอาผู้ประกอบการที่ กระจัดกระจาย ไม่มีค่ายมีสังกัด เข้ามาสู่ระบบมากขึ้น โดยผลักดันให้มีการเข้ามา สังกัดในสมาคมใดสมาคมหนึ่ง เพื่อจะได้มีโอกาสได้รับสิทธิ เครื่องหมายมาตรฐานจากสคบ. แต่กับสิ่งที่เกิดขึ้น กลับได้ รับความร่วมมือจากผู้ประกอบ การขายตรงน้อยมาก โดยสมาชิก ใน 4 สมาคม ที่รวบรวมมา มีไม่ ถึง 100 กิจการด้วยซํ้า ปัญหาหรือข้ออ้างส่วน หนึ่ง อาจเป็นไปได้ที่กิจการขาย ตรงขนาดย่อม หรือขนาดกลาง อาจยังไม่เห็นความจำเป็นของ การยกระดับมาตรฐานในธุรกิจ เนื่องจากต้องใช้แบงก์การันตี ไม่ ตํ่ากว่า 500,000 บาท แต่ถ้าหาก มาวิเคราะห์ถึง สาเหตุ และที่มาของ การไม่เข้ามา สังกัดในสมาคมขายตรง ก็อาจตีความได้หลายประการด้วยกัน

ประการแรก อาจเป็น บรรดาผู้ที่ได้รับใบอนุญาตส่วน ใหญ่ ยังไม่พร้อมที่จะดำเนินธุรกิจ อย่างเปิดเผย และส่อเจตนาที่ จะดำ เนินธุรกิจในลักษณะที่ ไม่อยากเป็นเป้าสายตาเกินไป ประการที่สอง ใบอนุญาต ที่มีการขอรับไป อาจจะยังไม่มี การดำเนินธุรกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น และประการที่สาม มี ความไม่พอใจกับการกำหนด กรอบหรือกฎเกณฑ์ภายใต้ สมาคมฯ ที่ดูจะเอนเอียงไปยังผู้ ประกอบการที่มีศักยภาพสูง มากกว่าที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ ประการขนาดกลางขนาดเล็ก นี่คือ มาตรการขอความ ร่วมมือ ที่แม้จะมีการสร้างแรง จูงใจต่าง ๆ นานา แต่มาถึงวันนี้ มันก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า แผนการแยกธุรกิจนํ้าดีกับธุรกิจ น้ำเสีย มันมีคำตอบอยู่ในตัวของ มันเองอยูแล้ว

ดังนั้น หากจะรื้อจะแก้หรือ สังคายนาพระราชบัญญัติขาย ตรงและการตลาดแบบตรงกันอีกครั้ง ก็คงถึงเวลาแล้ว จะต้อง ยื่นดาบอาญาสิทธิ์ให้สคบ.ได้ พิพากษา ผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืน กฎหมายได้เสียที เพราะขืนปล่อยให้ธุรกิจ ขายตรง มีการเติบโตแต่เพียง ปริมาณ แต่หาคุณภาพไม่ได้ ก็ สมควรที่จะต้องเพิกถอนใบ อนุญาตกลับคืนมา ให้กับผู้ ประกอบการที่เขามีเจตนาจะทำ ธุรกิจขายตรงอย่างจริงจัง หรือถ้าเป็นไปได้ ก็ควรจะ ตีกรอบใบอนุญาตธุรกิจขายตรง เอาไว้แต่เพียงแค่นี้

เพราะอย่าลืมว่าใบอนุญาตประกอบธุรกิจขายตรง ฯ เป็น สมบัติของชาติ ไม่ใช่สมบัติ ผลัดกันชมที่จะให้ใครเอาเก็บไป ดองเอาไว้ เพื่อเซ็งลี้ค้ากำไรกัน ง่าย ๆ .....




ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ.ตลาดวิเคราะห์ ฉบับที่ 347 ประจำวันที่ 1-15 กรกฎาคม 2556


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น