ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข่าว "สคบ." จับมือ "ทิพยประกันภัย" เอาใจ 3 ส. ลดเบี้ยประกันติดตรามาตรฐาน


สคบ. ดึง 3 สมาคม วงการขายตรง ให้ความรู้ติดตราสัญลักษณ์มาตรฐาน เฟ้นหาบริษัทน้ำดีนำร่องประทับตรา ด้าน ทิพยประกันภัย ถูกดันให้เป็นบริษัทรับประกันสินค้า และนักธุรกิจอิสระ ส่วนเรื่องเบี้ยประกันยัง ไม่ชัดขอเวลาปรึกษา แย้มบริษัทในสังกัด 3 สมาคมมีสิทธิ์ได้เฮ เบี้ยประกันลดให้ในราคาพิเศษ เหตุผลเป็นบริษัทดี

นายนพปฎล เมฆเมฆา รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค เปิดเผยว่า แต่ละปี สคบ.รับเรื่องร้องทุกข์จากประชาชนผู้บริโภคหลายพันราย ในความเสียหายต่อทรัพย์สิน เงินทอง และการเสียชีวิตจาก การใช้สินค้าและบริการต่างๆ จนทำให้ กระบวนการแก้ปัญหา หรือเยียวยาให้แก่ผู้บริโภค ต้องใช้ระยะเวลานานเกือบปีหรือบางรายก็หลายปี เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว รัฐบาลจึงมีนโยบายให้ สคบ. จัดทำตราสัญลักษณ์ สคบ. หรือ CONSUMER PROTECTION GUA-RANTEE ขึ้น เพื่อลดกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยากในการพิจารณา โครงการ นี้จึงถือเป็นมิติใหม่ของหน่วยงาน สคบ. ที่จะริเริ่มการทำงานเชิงรุกสำหรับการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริง

ทาง สคบ.เองเริ่มต้นรณรงค์การ ขอรับตราสัญลักษณ์โดยตัดสินใจเลือก ธุรกิจขายตรงเป็นธุรกิจแรก เนื่องจาก ที่ผ่านมามักมีผู้บริโภคเข้ามาร้องเรียนผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงเป็นจำนวน มาก เราจึงต้องมีระบบการตรวจสอบที่น่าเชื่อถือทั้งระบบการตรวจสอบบริษัท การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบระบบค้ำประกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้ประกอบการจะมีระบบชดเชยเยียวยาที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค

ทั้งนี้ในส่วนของหลักเกณฑ์การขอรับ ตราสัญลักษณ์ นายนพปฎล กล่าวว่า ในเบื้องต้น สคบ.จะตรวจสอบประวัติของผู้สมัคร โดยสถานประกอบการนั้นๆ จะต้องผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่กำหนดทั้งหมด เช่น บริษัทจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีคดีฟ้องร้องติดค้างและต้องผ่านการตรวจรับรองฉลากโฆษณา ถูกต้อง รวมถึงตรวจสัญญาต่างๆ ก่อนจะแจกตราสัญลักษณ์คุ้มครองผู้บริโภค โดยตรา สัญลักษณ์ดังกล่าว รัฐบาลต้องการให้ติดทั้ง ที่สถานประกอบการ และบนฉลากสินค้าทั้งหมดของบริษัท ดังนั้น จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องนำหลักฐานรับรองคุณภาพ มาตรฐานต่างๆ ของสินค้าแต่ละตัวเข้ามาแสดงด้วย ซึ่งการออกตราสัญลักษณ์ ดังกล่าว ทางสคบ.คาดว่าในปลายเดือนกรกฎาคมนี้ น่าจะเห็นผลโดยชัดเจน โดยผู้ที่ได้รับตราสัญลักษณ์สินค้าต้องมาต่ออายุ ทุก 2 ปีและเจ้าหน้าที่จะลงตรวจสินค้าทุก 6 เดือน

อย่างไรก็ดี เงื่อนไขที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง สำหรับการขอรับตราสัญลักษณ์คุ้มครอง ผู้บริโภค ก็คือ แต่ละบริษัทจะต้องมีการขอ รับประกันจากบริษัทประกันภัยก่อน เพื่อให้ บริษัทประกันเข้ามาคุ้มครองผู้บริโภค หรือนักธุรกิจอิสระ เวลาที่เขาซื้อสินค้าไปแล้วเกิด ความเสียหาย แทนที่สคบ.หรือผู้บริโภคจะเข้าไปฟ้องร้องเอง ซึ่งอาจทำให้ใช้ระยะเวลา นานกว่าที่ผู้บริโภคจะได้รับการเยียวยา บริษัท ประกันภัยก็จะเข้ามารับผิดชอบตรงจุดนี้ ส่วนวงเงินของการทำประกัน จะดูประวัติเป็นรายบริษัทไปว่า บริษัทนี้มีเรื่องร้องเรียน มากน้อยแค่ไหน โดยปัจจุบันบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการกับสคบ.ยังคงมีเพียงบริษัท ทิพยประกันภัย เพียงบริษัทเดียว เนื่องจากทิพยประกันภัยเป็นบริษัทที่ภาครัฐถือหุ้นอยู่ ทั้งนี้ทางสคบ.ก็ไม่ได้จำกัดว่า บริษัทประกันภัย ต้องเป็นทิพยฯ เท่านั้น จะ เป็นบริษัทอื่นๆ ก็ได้ เพียงแต่ ณ วันนี้ เมื่อเป็นการเริ่มต้นเราก็ต้องร่วมงานกับบริษัทประกันภัยที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้น

ทั้งนี้ นายนพปฎล ยังได้กล่าวเพิ่มเติม ว่า การขอรับตราสัญลักษณ์ดังกล่าวไม่ได้เป็นภาคบังคับ ยังคงเป็นเพียงภาคสมัครใจ เพราะหากบริษัทไหนมีตราก็ถือว่าบริษัทนั้น ได้มีการพัฒนา มีระบบการคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความเชื่อมั่นกับผู้บริโภคมากกว่า ส่วนประเด็นสอบถามที่ว่าบริษัทขาย ตรงที่จะได้รับตราสัญลักษณ์ต้องอยู่ในสังกัด สมาคมขายตรงต่างๆ หรือไม่ นายนพปฎล กล่าวว่า จริงๆ แล้วเดิมที สคบ.ก็อยากจะ ให้อยู่ในสมาคม เพราะจะได้มีการกำกับดูแล อย่างทั่วถึง แต่ท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแสดงเหตุผลที่น่าสนใจว่า คนที่เขาไม่สังกัดสมาคมเขาก็ทำถูกต้อง แล้ว มีระบบประกันภัยที่ดี เขาก็ควรมีสิทธิขอ รับตราสัญลักษณ์ได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาว่า บริษัทขายตรงทุกๆ บริษัทหากมีองค์ประกอบตามหลักเกณฑ์ที่เรากำหนด ก็สามารถขอรับตราสัญลักษณ์ได้

ด้าน นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ทิพยประกันภัย (จำกัด) มหาชน กล่าวถึง หลักเกณฑ์สำหรับการพิจารณาออกเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัท ที่จะขอรับตราสัญลักษณ์สคบ. ว่า ในเบื้องต้นบริษัทจะคิดเบี้ยประกันตามกลุ่มลักษณะความเสี่ยงเดียวกัน คือ ผู้ประกอบธุรกิจเดียวกัน เราก็จะออกเบี้ยประกันในพื้นฐานเดียวกันก่อน

ต่อมาคณะกรรมการของสคบ.และเจ้าหน้าที่ของบริษัททิพยฯ ก็จะเข้าไปดำเนิน การตรวจสอบประวัติของแต่ละบริษัท ซึ่งการคิดเบี้ยประกันภัยหลังจากนี้จะเริ่มคิดแยกตามประวัติความเสี่ยงหรือความผิดต่างๆ ที่เคยมีของแต่ละบริษัท โดยแยกเป็น ความผิดเกี่ยวกับสินค้า และความผิดขององค์กร ดังนั้นแม้ว่าแต่ละองค์กรจะมีการขายผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกัน ก็อาจมีเบี้ยประกันภัยที่แตกต่างกัน ตามลักษณะของความเสี่ยงดังที่กล่าวมา

อย่างไรก็ดี นายสมพร ก็ได้กล่าวต่อ ว่า หากหน่วยงานหรือบริษัทขายตรงที่เข้ามาขอรับประกันภัยนั้นสังกัดสมาคมขายตรง ต่างๆ อัตราเบี้ยประกันก็อาจมีสัดส่วนที่ลดลง เนื่องจากทิพยฯเชื่อว่าหน่วยงานที่มีการสังกัดสมาคมการขายตรงต่างๆ นั้นถือเป็นผู้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่ถูกต้อง อยู่แล้ว ฉะนั้นความเสี่ยงจึงลดลง บริษัทเหล่านี้ก็จะมีส่วนลดในเรื่องของเบี้ยประกันภัย

ทั้งนี้รายละเอียดเกี่ยวกับอัตราเบี้ยประกันภัยในขณะนี้ยังไม่ชัดเจน เนื่องจาก บริษัททิพยฯ และ สคบ.ต้องการปรึกษากับ ทางสมาคม หรือชมรมขายตรงต่างๆ ก่อน เพื่อระดมความคิดเห็นสำหรับเรื่องนี้ เพราะ ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการโดยตรงและรู้ดี ว่าปัญหาหรือข้อจำกัดของบริษัทต่างๆ นั้นคืออะไร จะทำให้เราได้ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือ และยุติธรรมสำหรับทุกฝ่าย บริษัททิพยฯ จึง อาจใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในการพบ ปะกับผู้ประกอบการขายตรง เพื่อร่วมปรึกษา สำหรับวางข้อกำหนดในการจัดทำเบี้ยประกัน ภัยต่อไป นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัททิพยฯ กล่าว


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: นสพ.สยามธุรกิจฉบับที่ 1318 ประจำวันที่ 18-7-2012 ถึง20-7-2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น