ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข่าวขายตรง (MLM) : คนขายตรงง้าง รมต.! ค้านแหลกตรา สคบ.


หลังฉาก สคบ. ยังวุ่นไม่เลิก เป็นประเด็นร้อน ที่ รมต.วรวัจน์ เสนอโครงการตรา- สัญลักษณ์ สคบ. ยังไม่มีข้อสรุป ผู้ประกอบการขายตรงไม่เห็นด้วย ชี้โครงการดีต่อ ผู้บริโภค แต่ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนสินค้าเพิ่ม อีกทั้งยังเป็นการทำงาน ที่ซํ้าซ้อนโดยใช่เหตุ ยันเรื่องนี้สมาคมการขายตรงไทยต้องหารือร่วมกันเพื่อหา ข้อสรุปที่ชัดเจน ยํ้าต้องหยั่งเสียงบริษัทขายตรงกว่า 800 บริษัทว่าเห็นด้วยหรือไม่

กลายเป็นประเด็นร้อนและยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ สำหรับโครงการมอบตรา- สัญลักษณ์คุ้มครองผู้บริโภคที่นำร่อง 4 ธุรกิจ ที่รวมธุรกิจขายตรงด้วย ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นนโยบาย ร้อนของ วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่มอบหมายงานให้สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ดำเนินการ ภายใต้แนวคิดที่ต้องการสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า ด้วยการนำระบบประกันภัยมาสนับสนุนกระบวนการเยียวยาให้แก่ผู้บริโภค ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือได้รับความเสียหายจากสินค้าและบริการเบื้องต้นจะมีการนำร่องตราสัญลักษณ์กับธุรกิจ 4 ประเภท ประกอบด้วย ธุรกิจบริการอู่ซ่อมรถยนต์ ธุรกิจรถยนต์ใช้แล้ว ธุรกิจทองรูปพรรณ และธุรกิจขายตรง ซึ่งเหตุผลที่ สคบ. เลือกธุรกิจขายตรง เนื่องจากธุรกิจขายตรงมีอัตราการเติบโต สูง และมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายในวงกว้างเกือบทุก สังคมและอาชีพ จึงจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่น และยก ระดับภาพลักษณ์ของธุรกิจให้ดีขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขัน โดยเฉพาะการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคใน การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558

แม้ว่าภาพรวมของโครงการนี้จะเป็นเรื่องดี และเป็น โครงการสมัครใจ ไม่ได้บังคับให้ผู้ประกอบการต้องติดตรา สัญลักษณ์ แต่ทว่าความชัดเจนในประเด็นการขอรับตรา สัญลักษณ์คุ้มครองผู้บริโภค ยังไม่มีความชัดเจนในหลายด้าน โดยเฉพาะประเด็นประกันภัย ทั้งในเรื่องของความซํ้าซ้อน ของการประกันภัยความเสี่ยง โดยเฉพาะในกรณีบริษัท ต่างชาติ ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมี ระบบดังกล่าวจากต่างประเทศอยู่แล้ว ต้องทำประกันส่วนนี้ เพิ่มหรือไม่ รวมถึงเบี้ยประกันที่จะเรียกจัดเก็บว่าควรเป็น เท่าใด เนื่องจากเบื้องต้น บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด ที่ เป็นบริษัทนำร่องในการเข้าร่วมโครงการนี้ ยังไม่มีบทสรุปที่ ชัดเจนเกี่ยวกับเบี้ยประกันที่ต้องจ่าย แต่เบื้องต้นคาดว่า จะมีการจัดเก็บเบี้ยประกันภัยในอัตรา 0.1-0.5% ของราคา สินค้า

กับประเด็นดังกล่าว ได้มีการตั้งคำถามกันในวงกว้าง ว่า สุดท้ายแล้วโครงการนี้จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับ ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยกันทุกฝ่ายหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ ที่อาจจะต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง เรื่องนี้ผู้ประกอบการได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ โครงการตราสัญลักษณ์โดยเริ่มจาก น.ต.พญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด เปิดเผยกับ เดอะ พาวเวอร์ เน็ตเวิร์ค ว่า โครงการที่ สคบ. จัดทำขึ้นนี้ ถือว่าเป็นโครงการที่ดีในการส่งเสริมยกย่องบริษัท ที่ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง แต่ในมุมกลับกันคงต้องมีการพูด คุยหารือถึงแนวทางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ โดยเฉพาะประเด็น เบี้ยประกัน ที่จะมีการจัดเก็บในอัตรา 0.1-0.5% ของราคา สินค้านั้น ถือว่าเป็นอัตราที่สูงมาก

ทั้งนี้ การจัดเก็บในอัตราดังกล่าว บริษัทจะต้องมี การจ่ายเบี้ยประกันสูงถึง 15-25 ล้านบาทต่อปี ซึ่งถือเป็น เม็ดเงินที่สูงมาก เนื่องจากตามปกติบริษัทมีระบบที่รองรับ ความเสียหายและรับผิดชอบลูกค้าอยู่แล้ว ซึ่งจากการหารือ กับผู้ประกอบการในสมาคมการขายตรงไทยในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับตัวสินค้าหรือ บริการนั้น ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นมีการชดเชยแค่ระดับหลัก หมื่นบาทเท่านั้น ซึ่งหากต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันสูงขึ้น ถือว่า เป็นเงินที่สูงเกินไป แต่คงต้องมีการหารือถึงแนวทางที่ เหมาะสมอีกครั้ง

ด้าน อิทธิศักดิ์ อำพันยุทธ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คังเซน-เคนโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า ประเด็นตราสัญลักษณ์ สคบ. คงต้องรอความชัดเจนจากการ ประชุมร่วมกับสมาชิกสมาคมการขายตรงไทย หรือ TDSA เพื่อหาแนวทางกันอีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้ส่วนตัวมองว่าเป็น โครงการที่ดี แต่ในทางกลับกันโครงการมอบตราสัญลักษณ์ จะกระทบต่อต้นทุนสินค้า ดังนั้น คงต้องมานั่งคุยกันหลายๆ ฝ่าย เพื่อให้อยู่ในขอบข่ายและอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้

ขณะที่ วิภารัตน์ รัตนพรหมมา ผู้จัดการฝ่ายขาย ประจำประเทศไทย บริษัท โมรินดา เวิร์ลไวด์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง โครงการมอบตราสัญลักษณ์ สคบ. ว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดี เนื่องจากจะทำให้ผู้บริโภค มีความมั่นใจในการซื้อสินค้า ซึ่งส่วนตัวไม่เห็นด้วย เพราะ จะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการ เรื่องนี้ หน่วยงานภาครัฐควรกลับไปทบทวนเกี่ยวกับโครงการ ดังกล่าวว่า การมอบตราสัญลักษณ์นั้นจะเป็นการทำงาน ที่ซํ้าซ้อนกันหรือไม่

สินค้าทุกตัวต้องผ่าน อย. ก่อนนำออกมาขายอยู่ แล้ว แน่นอนว่าถ้าไม่ผ่านสินค้าก็ออกมาสู่ตลาดไม่ได้ อันนี้ เมื่อได้รับการอนุมัติจาก อย. แล้ว จะต้องไปผ่านตรา สัญลักษณ์จาก สคบ. อีก เรื่องนี้รัฐคงต้องไปคิดทบทวนดูก่อน ว่า การที่จะมาทำโครงการนี้ รัฐควรที่จะเอาเวลาไปตรวจ สอบผู้ประกอบการขายตรงที่ปัจจุบันมีมากกว่า 800 บริษัท ดีกว่าจะมาทำโครงการนี้ดีกว่าไหม วิภารัตน์ กล่าว

ส่วน ร.ต.ต.ดร.สุรเชษฐ์ เชื้อศรี ประธานกรรมการ- บริหาร บริษัท ลาชูเล่ คอสเมติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า การนำเสนอโครงการตราสัญลักษณ์ผู้บริโภค เป็นสิ่งที่ดี แต่ยังไม่เหมาะ เรื่องนี้ควรจะให้สถานการณ์บ้าน- เมืองมีความเสถียรกว่านี้ โดยเฉพาะปัญหานํ้าท่วมที่คาดว่า จะเกิดขึ้นอีกในปีนี้ รวมถึงการเตรียมรับตลาดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนที่ใกล้จะมาถึงในปี 2558 ซึ่งจะมีการแข่งขัน ที่สูงขึ้น เรื่องนี้มีหน่วยงานใดที่จะรับมือกับการฟอกเงิน หรือไม่ และมีกฎหมายฟอกเงินจากต่างชาติที่จะเข้ามา รองรับแล้วหรือไม่ ซึ่งประเด็นดังกล่าวถือเป็นประเด็น ที่เร่งด่วน เนื่องจากต่างชาติมีกฎหมายรองรับเป็นอย่างดี

โครงการนี้มันทำ ให้เกิดการระคายเคืองต่อ ผู้เสียภาษี และคิดว่ายังไม่เหมาะสม อยากให้รัฐยืดเวลา ออกไปก่อน ควรนำเรื่องนี้มาคุยกับผู้ประกอการเพื่อเรียก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาหารือร่วมกัน ในการหาทางออก เพราะ เท่าที่คุยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ดังนั้น เราอยาก ให้รัฐออกกฎหมายเข้มงวด เพื่อตรวจสอบผู้ประกอบการกว่า 800 บริษัทใหไ้ ดก้ อ่ น อีกอย่างบุคลากรที่ปฏิบัติงานสว่ นงาน ขายตรงก็มีน้อยด้วย เรื่องนี้อยากให้มีการแยกแยะ หากรัฐ คิดที่จะทำโครงการแบบนี้ก็ถือว่าฆ่าตัวตายชัดๆ ตรงนี้ก็อยาก ให้ประเทศชาติขับเคลื่อนไปได้ สมาคมการขายตรงไทย เปิดมามากกว่า 20 ปียังไม่เคยเจอ ฉะนั้น รัฐต้องทบทวน และอยากให้นำกลับไปคิดใหม่ทำใหม่ ที่สำคัญเรื่องนี้ อยากให้มีการทำประชาพิจารณ์ถามผู้ประกอบการ 828 บริษัทก่อนว่าเห็นด้วยหรือไม่อย่างไรกับโครงการนี้ ร.ต.ต.ดร.สุรเชษฐ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังคงเป็นประเด็นให้ติดตาม กันต่อว่า สุดท้ายแล้วโครงการตราสัญลักษณ์ที่ วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปิ๊ง ไอเดียออกมานั้น จะเป็นอย่างไรต่อไป และจะมีการเดิน- หน้าโครงการหรือไม่ หากมีเสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการ ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว และคงต้องเป็นประเด็น ที่ทุกฝ่ายต้องถกหารือร่วมกันต่อไป เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับ ความเสมอภาคเท่าเทียมกันที่สุด


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: นสพ พาวเวอร์ เน็ตเวิร์ค ฉบับที่ 203 วันที่ 16-31 กรกฏาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น