ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

ปรับค่าแรง 300 ไม่กระทบ ขายตรง มีเฮคนแห่ซบ









นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ต่อการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันที่กำลังเป็นข้อถกเถียงในวงกว้างว่าส่งผลดีหรือเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอยู่นี้ แนวคิดหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า รายได้ที่สูงขึ้น คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในท่ามกลางที่ ค่าครองชีพสูงขึ้น ที่สำคัญ แรงงาน ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน ภายใต้กลไกหลายข้อโดยเฉพาะ การใช้จ่าย-การออม-การจ้างงานระดับสูง-คุณภาพแรงงาน-รายได้เพียงพอต่อการใช้จ่าย และที่สำคัญสูงสุด ศักยภาพของรัฐบาล ในการดูแลภาคธุรกิจเอกชนที่ยังมี แรงงาน ค่าแรงน้อยกว่า 300 บาทต่อวันได้มากน้อยแค่ไหนหากธุรกิจนั้นเป็น ธุรกิจขนาดกลางละขนาดย่อม หรือที่เรียกว่า (SME) ซึ่งต้องปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวและได้ผลกระทบในเรื่องของ ต้นทุนการผลิต-การบริการ ที่เพิ่มสูงขึ้นมีผลต่อรายได้ของนักธุรกิจถึงขั้นตอนปิดกิจการและเกิดปัญหาการว่างงาน!!!


ค่าแรง 300 บ. เพิ่มกำลังซื้อ ศก.หมุนเวียน2.3 ลล.บ.


กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังเชื่อว่า นโยบายดังกล่าวนี้จะช่วยให้เกิดการใช้จ่ายและหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในประเทศ น่าจะสร้างเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้มากถึง2.328 ล้านล้านบาท เป็นหนึ่งในกงล้อเศรษฐกิจที่ กิตติรัตน์ ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศปี 2556 ให้ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.5 ทดแทนการ พึ่งพาส่งออก ที่ก่อนหน้านี้เป็นรายได้หลักของประเทศแต่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ยอดส่งออกของไทย ลดลงเหลือร้อยละ 5 หรือบวกลบไม่ถึงร้อยละ 1 จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 15


ขณะที่ 5 มาตรการรองรับผลกระทบ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากนโยบายนั้นจะเห็นว่ายังไม่ ตอบโจทย์ ให้กลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก และปัญหาที่เกิดขึ้นที่หวาดหวั่นการ ปิดกิจการ-ว่างงานเพิ่มขึ้น กำลังจะตามมา ก็ต้องจับตาดูต่อไปว่า ทั้งรัฐบาล-ธุรกิจเอสเอ็มอี จะเดินทางพบกันที่จุดใด ที่สำคัญกระทรวงพาณิชย์โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำลังอยู่ระหว่างตรวจสอบบัญชี ย้อนหลัง 5 ปีของกลุ่มธุรกิจที่ปิดกิจการว่ารับผลกระทบจากนโยบายปรับค่าแรงหรือจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวหรือจากการขาดทุนสะสมมาก่อน หากได้คำตอบที่ชัดเจนเชื่อว่าอย่างน้อยคงได้เห็นธุรกิจเอสเอ็มอีทั้งที่อ่อนแอและมีศักยภาพที่แข็งแกร่งรับมือกับการแข่งขันในตลาดใหม่ที่กำลังจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี2558 มีอยู่จำนวนเท่าไหร่


ขายตรงชี้ค่าแรง 300 หนุนว่างงานแห่ตบเท้า


พญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจเครือข่ายขายตรงแบบ MLM พูดชัดว่าการปรับค่าแรง 300 บาทนี้ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีเงินทุนน้อย รวมถึงปัญหาการว่างงานตามมาอย่างแน่นอน และชื่อว่า กลุ่มคนว่างงาน ที่เกิดขึ้นนี้ไม่มากก็น้อยที่จะเดินหน้าเข้าสู่อาชีพอิสระเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจขายตรงที่สร้างรายได้ดี และส่งผลบวกต่อธุรกิจขายตรงในปี 2556 ว่ามีโอกาสที่จะขยายตัวได้ดีและมีความคึกคักเพิ่มมากขึ้น


ขณะที่ สุธีร์ รัตนนาคินทร์ ประธานกรรมการ บริษัท เอเชีย สุพรีม จำกัด ธุรกิจเครือข่ายขายตรง ภายใต้แผนการตลาดแบบไบนารี่ มองมุมเดียวกันว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบและต้องตกงาน ย่อมหาทางออกให้ตนเอง ด้วยการหางาน โดยอาชีพที่ไม่เคยถูกมองข้ามเลยนั่นคือธุรกิจขายตรง เนื่องจากธุรกิจอิสระ สร้างรายได้ให้กับนักธุรกิจได้อย่างงดงาม ซึ่งสอดคล้องกับ กิจธวัช ฤทธาวี นายกสมาคมขายตรงไทยและ กรรมการผู้จัดการ บริษัทแอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ก่อนหน้านี้เคยระบุว่า หากคนตกงาน อาชีพที่คนจะให้คนมาสนใจมายึดในการประกอบสัมมาอาชีพต่อไป ก็คือธุรกิจขายตรง ซึ่งในอดีตเอมีคนตกงานก็จะหันไปซบเป็นสาวมิสทีนกันไม่น้อย


อุตฯ เครื่องสำอาง ขายตรง ต้นทุนผลิตพุ่งขึ้นราคา 5-10%


อย่างไรก็ดี ธุรกิจเครือข่ายขายตรง ก็มีผลกระทบตามมาด้วยไม่ต่างจากธุรกิจอื่นๆ คือเรื่องของ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งบางบริษัทมีโรงงานผลิตสินค้าในประเทศเป็นของตนเอง บางบริษัทว่าจ้างบริษัทภายนอกผลิตสินค้าป้อนให้ (outsource) และผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ถูกนำมาเป็นพระเอกในการผลักดันยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายนั่นคือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สินค้าอุปโภคบริโภค โดยทางออก ธุรกิจเครือข่ายขายตรง หนีไม่พ้นในการปรับขึ้นราคาสินค้า


ซึ่ง ดนัย ดีโรจนวงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัดผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านความงามในรูปแบบขายตรงชั้นเดียว หรือ SLM ภายใต้แบรนด์ มิสทีน เริ่มปรับแผนการตลาดและประกาศชัดเจนหลังนโยบายดังกล่าวเริ่มเป็นรูปธรรมนั้นคือ การปรับขึ้นราคาสินค้าทุกกลุ่มประมาณ 3-5% ให้สอดคล้องกับ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยระบุว่า นโยบายส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มสูงขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่สามารถแบกรับภาระตรึงราคาสินค้าไว้ได้ ซึ่งปัจจุบันต้นทุนโดยรวมของ มิสทีน สูงขึ้น 6% คิดเป็นต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นประมาณ 12-13%


แม้แต่ กิฟฟารีน โดย พงศ์พสุ อุณาพรหม ผู้อำนวยการใหญ่สายงานการตลาดได้ยืนยันแล้วว่า ในเดือน ม.ค. นี้เป็นต้นไป กิฟฟารีน ได้ทยอยปรับราคาสินค้าหลายรายการเพิ่มขึ้น 5-10% เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ปรับเพิ่มขึ้นจากนโยบายปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศ และมีบางรายการได้ปรับขึ้นล่วงหน้าไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2555


ส่วนกลุ่ม ผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย นำโดย เกศมณี เลิศกิจจา นายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ระบุว่า อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นยกลุ่มที่ใช้แรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่องสำอางแบรนด์ท้องถิ่น กลุ่มเอสเอ็มอี และโอท็อป ที่มีอยู่ประมาณ 700 รายเนื่องมีทุนไม่มากพอที่จะซื้อเครื่องจักรทันสมัยมาใช้ในการผลิต มีการใช้แรงงานกว่า 80% ประเมินว่ามีแรงงานอยู่ในระบบไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน และในจำนวนนี้เกินกว่า 60 % ที่ได้รับค่าจ้างรายวัน ต่ำกว่า 300 บาททำให้ต้นทุนการผลิตด้านค่าแรงปรับขึ้นจากเดิมมีสัดส่วน 13 % เป็น 15 17% ของโครงสร้างต้นทุน


ทั้งนี้ เกศมณี มีความกังวลต่อผลพวงจากการปรับค่าแรง นอกจากกระทบ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แล้วปัญหาเรื่อง การเคลื่อนย้ายแรงงาน จากกรุงเทพฯ กลับภูมิลำเนานับเป็นปัญหาใหญ่ ด้วยเพราะรับค่าแรงในอัตราที่เท่ากันทั้งประเทศและ ค่าครองชีพ ต่างจังหวัดต่ำกว่ากรุงเทพฯ รวมถึง ผู้ผลิต ยังต้องเผชิญกับปัจจัยลบด้านกฎระเบียบต่างๆ ของภาครัฐที่ไม่เอื้ออำนวย ฉะนั้นเมื่อต้องแบกรับต้นทุนค่าแรงเพิ่ม ผู้ผลิตบางราย โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ถึงขั้นตอนหยุดหรือปิดกิจการ ล่าสุดมีผู้ผลิตเครื่องสำอางในอุตสาหกรรมมากกว่า 2,000 รายทั่วประเทศ


จับตาโรงงานผลิต ป้อนขายตรงรับมือ ลดต้นทุนผลิต


ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอจะเห็นว่า หลาย ธุรกิจเครือข่ายขายตรง ที่ได้รับผลกระทบ แต่ดูเหมือนไม่กระทบยกตัวอย่าง มิสทีน ที่หันมาร่วมมือกับ สหพัฒน์ เพื่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่ประเทศพม่า ซึ่งที่เป็นประเทศที่มี ต้นทุนค่าแรง อยู่ระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศไทย มีเป้าประสงค์เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ฉะนั้นนอกจาการสร้างฐานผลิตเพื่อชิงความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันในตลาดอาเซียนที่กำลังจะเปิดในอนาคตแล้ว โอกาสที่จะได้รับผลกระทบต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นก็มีน้อยลงไปด้วย


ซึ่งก็ต้องติดตามและจับตาดุกันต่อไปของบริษัทขายตรงอีกหลายที่ มีโรงงานผลิตสินค้าในประเทศเป็นของตนเอง หรือว่าจ้างเอ้าท์ซอร์สจะหันมารับมือกับการลดต้นทุนการผลิตจากตรงนี้อย่างไร ซึ่ง ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสากรรมแห่งประเทศไทย (สทอ.) ระบุว่า หากคำนวณค่าเฉลี่ยของการปรับค่าแรงของธุรกิจเอสเอ็มอี ทั้งหมด เช่น โรงงานที่มีแรงงาน 200 คน จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 4.5 ล้านบาท/ปี ท่ากับ 10% ของรายได้ที่เฉลี่ย 39-40 ล้านบาท/ปี ขณะที่กำไรเอสเอ็มอี หากทำได้ 5 % ก็เก่งแล้ว แต่ต้นทุนเพิ่ม 10 % ก็ทำให้อยู่ได้ยากเช่นกัน



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพธุรกิจเครือข่าย ประจำวันที่16-31มกราคม 2556 ฉบับที่ 244

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น