ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ขายตรงอินโดนีเซีย : บุกตลาดใหญ่อินโดฯ งานหินขายตรงไทย ในตลาดอาเซียน (AEC)


ด้วย ตลาดบริโภค ที่มีขนาดใหญ่ของ อินโดนีเซีย คิดจำนวนประชากรอยู่ที่ 245 ล้านคน หรือมากเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดในกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่มีราว 590 ล้านคน หรือมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ทำให้หลาย ธุรกิจวันนี้ไม่อยากพลาด โอกาสทอง ต่างเดินหน้าเข้ามาลงทุนกันอย่างคึกคัก ส่งผลให้วันนี้ มีมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติสูงสุด เป็นอันดับ 3ในกลุ่มอาเซียน หรือกว่า 10,446.96 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และมีประเทศสิงคโปร์ลงทุนมากสุดอันดับ 1 รองลงมาญี่ปุ่นและ หมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น ที่เหลือเป็นประเทศอื่นๆ กว่า 80 ประเทศ ซึ่ง ประธานกรรมการ จัดทำแผนแม่บทเศรษฐกิจของ อินโดนีเซีย ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในปี ค.ศ. 2025 อินโดนีเซีย จะต้องเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกให้ได้ ฉะนั้นหากการลงทุนครบสมบูรณ์แบบ แล้วถึงตอนนั้นอนาคต อินโดนีเซีย ก็จะเป็น ตลาดบริโภคที่ใหญ่และสมบูรณ์แบบที่สุดใน อาเซียนเลยทีเดียว


กำลังซื้อสูงลิ่ว 180 ล้านคนคุมทิศทางตลาด
เศรษฐกิจของ อินโดนีเซีย ดูแล้ว สดใสมาก หากดูข้อมูลจากทางการของ อินโดนีเซีย จะพบว่า มีอัตราขยายตัวทาง เศรษฐกิจในทิศทางที่ดีขึ้นโดยช่วงระหว่างปี 2550-2554 การขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.9 และปี 2555-2558 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเฉลี่ย ได้ถึงร้อยละ 6.4 ต่อปี และการเติบโตที่เป็นบวก นี้ได้เป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งบอกถึง กำลังซื้อ ของ ชาวอินโดนีเซีย ว่าจะมีสูงขึ้นด้วย กล่าว คือ รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง ในปี 2558 จะ เพิ่มขึ้นเป็น 420.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก เดิมอยู่ที่ระดับ 289.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2554 และเมื่อเปิดดูประชากรจำนวนมหาศาลราว 245 ล้านคน จะพบว่ามีประชากรประมาณร้อยละ 67 หรือ 160 ล้านคนเป็น วัยทำงาน ที่มีอายุ ระหว่าง 15-64 ปี ยังไม่นับรวมประชากรที่มี รายได้สูง อีกราว 20 ล้านคน รวมแล้วราว 180 ล้านคนที่มี กำลังซื้อ และกำลังเป็นผู้มีบทบาท ในการกำหนดทิศทางตลาด


ยึดแบรนด์-ราคาสินค้าเป็นหลัก
หากแยก พฤติกรรม การจับจ่ายซื้อ สินค้าตามระดับรายได้ของผู้บริโภค จะพบว่ามี กลุ่มผู้มีรายได้ค่อนข้างสูงถึงสูงมาก อยู่ ประมาณร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ โดยกลุ่มนี้มี กำลังซื้อสูง นิยมใช้สินค้านำเข้า คุณภาพดีจากต่างประเทศ และตราสินค้าเป็นที่ รู้จัก


ส่วน กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึง น้อย เป็นประชากรส่วนใหญ่ของ อินโดนีเซีย จะให้ความสำคัญเรื่องของ ราคาสินค้าเป็น หลัก ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นใดชิ้นหนึ่ง โดยเฉพาะ สินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีราคา ย่อมเยาและจำเป็นต่อชีวิตประจำวันเป็นลำดับ แรก มีแหล่งหาซื้อสินค้าที่ ชาวอินโดนีเซีย นิยมมากที่สุดคือ ซูเปอร์มาร์เก็ต และ ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของ สินค้ารุ่นใหม่หลากหลายแบรนด์ ทำให้สามารถ เปรียบเทียบราคาและคุณภาพได้ง่าย


ขณะประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 55 ของจำนวนประชากรในกลุ่มนี้ ก็เป็น กลุ่มผู้ซื้อ หรือ ผู้บริโภค ที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็น คนรุ่นใหม่ ที่ค่อนข้างเปิดรับ วัฒนธรรมต่างชาติ มีรสนิยมการบริโภคสมัยใหม่ อีกทั้งมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าเร็วกว่า วัยอื่นๆ


โดย สินค้าไทย ที่น่าจะมีโอกาสขยาย ตลาดในกลุ่มนี้ คือ เครื่องสำอาง เครื่องหอม และสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำ วัน ซึ่งหากมีความ เข้าใจ ถึง พฤติกรรม การบริโภค และ รสนิยม ของ ชาว อินโดนีเซีย จะช่วยเพิ่มโอกาสขยายตลาด สินค้าได้มากยิ่งขึ้น


คิดบวก สินค้าไทย งานสุดหิน ขายตรง
ชาวอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่แม้จะ มีทัศนคติที่ดีต่อ สินค้าไทย ดูเหมือนเป็นจุดแข็ง ที่ สินค้าไทย จะเข้าถึง ตลาด อินโดนีเซีย ได้ง่ายโดยเฉพาะการทำ ธุรกิจ ขายตรง ที่วันนี้มีหลายบริษัทขายตรงของ คนไทยเข้าไปลงทุนอย่างจริงจังมากมายหลาย บริษัทด้วยกัน แต่ก็ยัง การันตี ไม่ได้ว่าการ เข้าไป ครอบครองพื้นที่ทางการตลาด ใน ตลาดอินโดนีเซีย นั้นไปถึง ความต้องการ ของผู้บริโภค แล้วหรือยัง ใช้กลยุทธ์ใด รูปแบบ ไหนในการเจาะตลาด


แต่สำหรับ ดนัย ดีโรจนวงศ์กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของแบรนด์เครื่อง สำอางค์ มิสทิน ธุรกิจขายตรงชั้นเดียว ชัดเจน แล้วว่า เต็มใจที่จะควักกระเป๋าลงทุน 100 ล้าน บาทเพื่อปูทางในการขยาย ธุรกิจขายตรงแบบ ชั้นเดียว ใน อินโดนีเซีย พร้อมกับ สร้าง แบรนด์ใหม่ ในการทำ ตลาดในอินโดนีเซีย เน้น สินค้าที่มีความหลากหลาย จับกลุ่ม ลูกค้า ระดับล่าง-ระดับกลาง เป็นหลัก เมื่อถึงตอนนั้น มิสทินอินโดนีเซีย น่าจะเป็นรายที่ พร้อมรองรับการเปิดตลาด AEC ปี2558 ได้ อีกหนึ่งรายในจำนวนหลายๆ ราย ซึ่งการไม่ใช้ แบรนด์ มิสทีน นั้น ดนัย ย้ำว่า ช่วยทำให้ง่าย ขึ้นในการพูดคุยเรื่องของการหาพันธมิตร นำ สินค้าเข้ามาร่วมขายในระบบ


ส่วน อิทธิศักดิ์ อำพันยุทธ์ แห่ง คังเซน-เคนโก อินเตอร์เนชั่นแนล ย้ำเสมอ ถึงข้อจำกัดของ ธุรกิจขายตรงไทย ที่จะเข้าไป ขยายตลาดในประเทศเพื่อนบ้านนั้นไม่ใช่เรื่อง ง่าย เพราะยังมีกฎระเบียบต่างๆ ที่นักธุรกิจ จะต้องทำการศึกษาโดยละเอียดและเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ แม้ว่าการเปิด AEC จะทลายกำแพงภาษี เหลือร้อยละ 0 ก็ตาม ทางด้าน วิลาสินี โนนศรีชัย ผู้อำนวย การสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ยืนยันว่า การทำธุรกิจใน อินโดนีเซีย ไม่ง่ายเนื่องจากมี ประชากรเป็นจำนวนมาก ขณะที่สินค้าก็มีเป็น จำนวนมากที่เตรียมไหลเข้า อินโดนีเซีย เป็น จำนวนมาก จึงเป็นหน้าที่ของ รัฐบาล อินโดนีเซีย ที่จะต้องดูแลประชาชนให้ได้


ดังนั้น นโยบาย กฎข้อบังคับ กติกา ต่าง ๆ จะมีการปรับเปลี่ยนเกือบทุกวัน ยังไม่นิ่ง ทำให้ยากต่อการส่งสินค้ามาขาย ดังนั้นผู้ ประกอบการจำเป็นต้องเรียนรู้ ศึกษาและปรับตัว อยู่เสมอ


เข้าถึง ตลาดเป้าหมาย จุดท้าทายอำนาจซื้อ
ในเมื่อการบุกตลาดในอาเซียนโดย เฉพาะ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ มาก สิ่งหนึ่งที่ กิจธวัช ฤทธาวี นายกสมาคม การขายตรงไทย เคยมองไว้ว่า ตลาด อินโดนีเซีย มีศักยภาพที่จะขยายตลาด เนื่องจากมีจำนวนประชากรมากกว่า 200 ล้าน คน และการขยายตลาดไปประเทศเพื่อนบ้าน ถือเป็น โอกาส ของ ธุรกิจเครือข่าย ที่ขึ้น อยู่กับ จำนวนประชากร และวัฒนธรรม ต้องศึกษารูปแบบการทำธุรกิจ เพราะบาง ประเทศนิยม การขายตรงหลายชั้น หรือ MLM และบางประเทศ นิยมชื่นชอบ การขาย ตรงแบบชั้นเดียว หรือ SLM ก็มองข้ามไม่ได้ เช่นกัน


ฉะนั้นการเข้าไปขยาย ธุรกิจขายตรง ใน ตลาดอินโดนีเซีย มีอีกหลายประเด็น ที่ มองข้ามไม่ได้ โดยเฉพาะการผลิตสินค้า รองรับตลาดขนาดใหญ่ภายใต้การดำเนิน ธุรกิจ ขายตรง ที่มีความพิเศษแตกต่างจากการขาย สินค้าผ่าน ซูเปอร์มาร์เก็ต และ ศูนย์การค้า ขนาดใหญ่ จะต้องโฟกัสกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะปัจจุบันนี้ การตลาดจะมีความเป็นเฉพาะ กลุ่มมากขึ้น และยังซอยย่อยเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่เล็ก กว่า Niche Market เสียอีก การรู้จัก ผู้บริโภค ที่แท้จริงเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้โดยง่าย ที่สุด จะเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน


ผู้บริโภค วันนี้และต่อไปอนาคตจะไม่ ยึดสินค้าที่เป็นกลางๆ อีกต่อไปแล้ว หากแต่จะ เน้น ความเชี่ยวชาญ เฉพาะของตัวสินค้า และ ผู้บริโภคในกลุ่มย่อย จะเรียกหาคุณสมบัติพิเศษ ของสินค้าที่ต่างมีความต้องการไม่เหมือนกัน เช่น เครื่องสำอาง ที่มีความแตกต่าง หลากหลาย และมีเอกลักษณ์สำหรับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มอีก ด้วย ซึ่งเหล่านี้แม้จะมีผลกระทบต่อการผลิต ต้นทุนสินค้าและการเก็บสต็อก


แต่ใช่เป็นปัญหาทางธุรกิจหรือเป็น เรื่องที่น่ากลัวแต่อย่างใด เพราะต้นทุนที่ แพงขึ้น เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ ต้อง สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของผลิตภัณฑ์ หากกำหนด ภาพลักษณ์ ที่สูงได้ ผู้ประ กอบการ ก็จะสามารถตั้ง ราคาสินค้าที่ แพง ได้ เพราะ ผู้บริโภค จะมี ความ พอใจที่จะ จ่ายแพง เพื่อแลกกับสินค้า ดังนั้นประเด็นไม่ได้อยู่ที่แพงหรือถูก แต่อยู่ ที่ว่า ลูกค้าถูกใจหรือไม่ ขอเพียงแค่เข้า ถึงตลาด ผู้บริโภคให้ได้ โดยเฉพาะ ผู้ บริโภคในกลุ่มที่มี กำลังซื้อสูง ราว 20 ล้านคน นับเป็นเรื่องท้าทายยิ่งนัก แม้จะเป็น งานสุดหินก็ตาม!!!


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: นสพ.ธุรกิจเครือข่ายขายตรงฉบับที่ 237 ปักษ์หลัง ประจำวันที่ 1-15 ตุลาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น