ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ข่าวการตลาด : "สื่อสิ่งพิมพ์" หมดแรงต้าน "สื่อดิจิตอล" คาดหลังเปิด "3G" ตลาดหดตัว10%


สื่อดิจิตอล ส่อสัญญาณอันตรายต่อวงการสื่อสิ่งพิมพ์เผยยอดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสมทบด้วยสื่อพกพาทั้งสมาร์ทโฟนแท็บเล็ตและสมาร์ททีวีทะลุกว่า 31 ล้านคนคาดเม็ดเงินโฆษณาเปลี่ยนกระแสหันมาทุ่มสื่อยุคใหม่มากขึ้นฟรีทีวียังคงครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 43 % จาก Market Value 1 แสนล้านขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์มีแนวโน้มลดจาก 28 % เหลือเพียง 17 % ส่วนสื่อดิจิตอลจะขยับตัวขึ้นมาจาก 18 % เป็น 25 %

ธุรกิจหลายธุรกิจวันนี้จะสังเกตได้ว่า เริ่มมีช่องทางใหม่ในการทำตลาดกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่องทาง สื่อดิจิตัล คอนเทนท์ต่างๆแห่งโลกออนไลน์ ที่วันนี้ทำให้เราเริ่มเห็นได้อย่างชัดเจน สำหรับการโฆษณาสินค้าของธุรกิจด้านต่างๆ ที่ขยับตัวเข้าสู่ความเป็นดิจิตอลกันเกือบทั้งหมด

อินเตอร์เน็ต จะเป็นปัจจัยหลักสำคัญของการที่จะทำให้ สื่อดิจิตอล เข้ามามีบทบาทต่อการโฆษณา สินค้าหรือกระทั่งข่าวสารต่าง ๆ...ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีจำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 31 ล้านรายในปี 2554 ที่ผ่านมา

อีกทั้ง การขยายตัวของจำนวนผู้ใช้สมาร์ทดีไวซ์เองวันนี้ ปาเข้าไปถึง 15.5 ล้านราย จากสถิติในปี2554

โดยแบ่งเป็น สมาร์ทโฟน 14.5 ล้านราย, แท็บเล็ต 3 แสนราย และสมาร์ททีวี 7 แสนราย ซึ่งทำให้สังเกตได้ว่า ทั้งตัวสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทดีไวซ์ เริ่มขยายสูงอย่างเห็นได้ชัดและเชื่อว่าปีนี้จะเติบโตสูงขึ้นได้อีกมากหลังจากการเปิดให้บริการ 3G ที่เริ่มมีความเสถียรมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น ด้วยอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเชื่อม

ต่องานโฆษณาเข้าสู่ดิจิตอลมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันทั่วโลกมีโทรศัพท์มือถือทั้งสิ้น 800 ล้านเครื่อง ซึ่งได้เกิดการประมาณการกันต่อว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ล้านเครื่องทั่วโลก หรือเติบโตกว่า 150%

และกระแสจากจำนวนผู้ใช้เฟชบุ๊ค เว็ปไซต์ยอดฮิต ที่วันนี้เหล่านักโฆษณาทั้งหลายต่างมุ่งเป้าเข้ามาทำตลาด ลงสื่อโฆษณาหรือลงข่าวสารต่าง ๆ กันมากที่สุด ถือว่าเติบโตค่อนข้างดี ในช่วง ปี 2554 มีผู้ใช้เฟซบุ๊คในไทยกว่า 13.2 ล้านราย หรือเพิ่มขึ้น 97% จากปี 2553 ที่มีจำนวน 6.7 ล้านราย ขณะที่โซเชียล เน็ตเวิร์ค อื่น ๆ อยู่ในทิศทางการเติบโตเช่นเดียวกัน ทำให้สื่อดิจิตอลออนไลน์ จะเป็นอีกสื่อที่มีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

รูปแบบการ สื่อสารจะถูกพัฒนาจึงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเข้าสู่ยุค 3G การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต แนวโน้มดังกล่าวทำให้บรรดาผู้ผลิตคอนเทนท์ ต้องปรับรูปแบบการโฆษณา ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคสื่อที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคในยุคนี้ เช่นกัน

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการใช้แกดเจ็ตต่าง ๆ ของผู้บริโภคเหล่านี้ ยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกอีกด้วย มีการเพิ่มมิติการใช้จ่ายผ่านสื่อดิจิตอล โดยในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพิ่มสัดส่วนรายได้จาก 10% เป็น 17% ของธุรกิจค้าปลีก ที่การเติบโตของหลายธุรกิจในช่วงที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตของกลุ่มธุรกิจ โซเชียล คอมเมิร์ซ

ทำให้นักโฆษณาหลายรายต่างมองตรงกันว่า สื่อดิจิตอล ในไทยจะทวีบทบาทความสำคัญมากขึ้น แม้ในปัจจุบันสื่อดิจิตอลมีสัดส่วนเพียง 1-2% ของงบภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณา มูลค่า แสนล้านบาท ก็ตาม

เซอร์มาร์ติน เซอร์เรล ประธานและผู้ก่อตั้ง กลุ่มดับบลิวพีพี บริษัทผู้ดำเนินการโฆษณาและบริการด้านการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก กล่าวว่า จากการประเมินแนวโน้มการใช้สื่อทั่วโลก พบว่าแบรนด์สินค้าต่างๆ ให้ความสำคัญกับสื่อดิจิตอลสูงขึ้น โดยระหว่างปี 2549-2554 มีการใช้งบโฆษณาบนสื่อดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้น 18% ขณะเดียวกัน เขามองว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า (ปี 2555-2559 ) การใช้งบโฆษณาบนสื่อดิจิตอลจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 25% ถือเป็นสื่อที่มีการใช้งบโฆษณามากเป็นอันดับ 2 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเพียง 17%

โดยมีมูลค่าการใช้งบรองจากสื่อโทรทัศน์ที่มีปัจจุบันสัดส่วนถึง 43% และสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีสัดส่วนถึง 28% ขณะที่อีก 5 ปีข้างหน้าสื่อโทรทัศน์จะยังคงครองส่วนแบ่งการใช้งบโฆษณาเป็นอันดับ 1 ด้วยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็น 47% แต่สื่อสิ่งพิมพ์จะลดลงเหลือเพียง 17% สอดคล้องกับแนวโน้มการใช้สื่อของโฆษณาไทย ที่อนาคตเม็ดเงินโฆษณาจะยังคงมุ่งสู่สื่อโทรทัศน์และสื่อดิจิตอลมากยิ่งขึ้น

ทิศทางการโฆษณาโลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากนี้ จึงทำให้บริษัทต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารใหม่ 3 ด้าน ได้แก่ การหาตลาดใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้จากประเทศเศรษฐกิจที่เกิดใหม่ ทั้งในเอเชีย ละตินอเมริกา และแอฟริกา โดยกำหนดให้สัดส่วนรายได้ของกลุ่มประเทศดังกล่าวเท่ากับในยุโรป และอเมริกาเหนือ ทั้งการมุ่งเน้นการบริหารทั้งคุณภาพและปริมาณ รวมถึงการเพิ่มรายได้โฆษณาจากกลุ่มสื่อใหม่เป็นสัดส่วนกว่า 1 ใน 3 ของงบโฆษณาทั้งหมด

ขณะเดียวกัน ในอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นแรงผลักดันสำคัญให้การโฆษณาเข้าสู่ระบบดิจิตอล อาจเป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจที่เข้าสู่ช่วงขาลง สถาบันการเงินในสหรัฐฯ ประสบกับปัญหา ทำให้หลายภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเริ่มเบนเข็มทิศเข้าสู่การโฆษณา แบบสื่อออนไลน์มากยิ่งขึ้น ทำให้แนวโน้มและโอกาสของการเติบโตในตลาดนี้ยังไปได้อีกไกล เพราะปัจจุบันตลาดสื่อออนไลน์ยังมีสัดส่วนที่น้อย หากเทียบกับเม็ดเงินที่มีการลงสื่อโฆษณาต่าง ๆ ทั้งระบบ

นักการตลาดและเอเยนซี่โฆษณาเอง เริ่มมีความรู้และความเข้าใจในสื่อดิจิตอลมากขึ้น การวางแผนทำแคมเปญให้กับสินค้าและธุรกิจจึงมีการหันมาเลือกใช้สื่อดิจิทัล เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ สามารถตอบโจทย์การทำตลาดของสินค้าได้ตรงเป้าหมาย โดยปีนี้คาดว่าตลาดโฆษณาออนไลน์จะมีมูลค่าประมาณ 450-900 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.5-1% ของตลาดโฆษณารวม

การเกิดวิกฤติเศรษฐ กิจแน่นอนว่าธุรกิจต่าง ๆ คงต้องปรับตัวและระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น แต่มองอีกมุมหนึ่งก็จะเป็นผลดีต่อสื่อดิจิตอลและตลาดโฆษณาออนไลน์ เพราะมีโอกาสที่สินค้าและธุรกิจต่าง ๆ จะตัดงบโฆษณาในสื่ออื่น ๆ อาทิ โทรทัศน์วิทยุ สิ่งพิมพ์ มาลงในสื่อดิจิตอลเพราะราคาถูกกว่า ซึ่งหากสื่อดิจิตอลสามารถดึงส่วนแบ่งมาได้ 10% จะทำให้ตลาดโตได้อีกมาก

เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี จะทำให้คนอยู่กับบ้านมากขึ้น ซึ่งก็มีส่วนที่คนจะใช้เวลาเล่นอินเตอร์เน็ตเข้าเว็บไซต์มากขึ้น รวมทั้งปัจจุบันจำนวนผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตของไทยก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นปัจจัยให้ธุรกิจและสินค้าต่าง ๆ ให้ความสนใจกับสื่อดิจิตอลมากขึ้นเช่นกัน

ปัจจุบันสินค้าที่นิยม โฆษณาออนไลน์ผ่านสื่อดิจิตอล 5 อันดับแรก คือ 1.สินค้าไอที 2. ธุรกิจด้านการศึกษา 3. รถยนต์ 4. ธุรกิจไฟแนนซ์ และ 5. สินค้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งเห็นได้ว่าวันนี้ โลกที่ปรับเปลี่ยนไป การได้รับข่าวสารต่างๆ มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ธุรกิจหลายธุรกิจเองก็ย่อมพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ทันต่อกระแส จนมีแนวโน้มให้ช่องทางข่าวสารในอดีตอย่าง สื่อโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ ควรต้องเร่งปรับตัวเป็นอย่างมาก

ประเทศไทยเราเอง วันนี้จะสังกตุเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์บางสื่อที่แข่งขันกันอยู่ขณะนี้ เริ่มมีการปรับตัวบ้างแล้ว มีการหันมาเปิดขยายช่องทางการแข่งขันซึ่งควบคู่ไปกับสื่อด้านโทรทัศน์ที่ถือเป็นอีกทางรอดหนึ่งให้แข่งขันในตลาดสื่อได้ แต่สำหรับสื่อใดที่ยังไม่เริ่มปรับตัวถือเป็นเรื่องที่น่าห่วงยิ่ง เพราะเทคโนโลยี สื่อโฆษณาและผู้บริโภค

สื่อต่าง ๆ ปัจจุบัน เริ่มขยับหลุดกรอบจากสื่อสิ่งพิมพ์สู่ความเป็นดิจิตอลไปเรียบร้อย แล้ว แนวโน้มของสื่อโฆษณาแน่นอนว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า สื่อโทรทัศน์และดิจิตอลจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการหลอมรวมสื่อจาก 3 จอ ได้แก่ จอโทรทัศน์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตที่จะเพิ่มเป็น 4 พันล้านเครื่องในอีก 5 ปีข้างหน้า


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: นสพ.ตลาดวิเคราะห์ ฉบับที่325 ประจำวันที่1- 15 สิงหาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น