ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ข่าวเอปูเซ่ (Epousee) : ...ฝันไกล ยกระดับนักขาย - สู่เวทีนักลงทุน


การยิงคำถามที่ตรงประเด็น สำหรับการย้ายค่ายของผู้นำระดับแถวหน้า เอปูเซ่ ว่า ได้รับผลกระทบต่อบริษัทหรือไม่.. เพราะถูกกล่าวขานกันอย่างหนักในวงการขายตรง ณ ห้วงเวลาที่ผ่านมานี้

บอสใหญ่ มนตรี ฉิมมณีภัทร ในฐานะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอปูเซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ตอบคำถามผ่านรายการ ตลาดวิเคราะห์ อย่างชัดถ้อยชัดคำ ว่า

เรื่องการย้ายค่ายของผู้นำถ้าบอกไม่มีผลคงเป็นไปไม่ได้มันมีผลต่อจิตวิทยาผมเข้าใจว่าผู้นำท่านหนึ่งคงต้องการอยากไปหาประสบการณ์ใหม่และต้องการไปหาสินค้าใหม่ๆเป็นการพูดคุยกันเป็นการจากกันด้วยดีเป็นการอวยพรกันก็ต้องเดินหน้ากันต่อไปต้องบอกว่าโครงสร้างของบริษัทคงไม่ได้ติดยึดอยู่กับผู้นำท่านใดท่านหนึ่งนโยบายบริหารผมถือว่าการเดินเข้าเดินออกเป็นเรื่องปกติตอนที่ท่านเดินมาก็มาจากที่อื่นแล้วก็มาอยู่กับเราเพราะฉะนั้นผมถือว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่

เพราะขณะนี้เรามีสมาชิกเกือบ ๆ แสนคนแล้ว ส่วนสมาชิกที่แอ็คทีฟ (Active) มีประมาณ 12,000 คน ตัวเลขนี้ดูจากความสัมพันธ์ที่เขามีต่อบริษัท เช่น ยังมีการซื้อ - การขาย และยังมีการเข้ามารักษาคุณสมบัติ

ส่วนระดับแกนนำจริง ๆ วันนี้มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก แกนนำทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา เป็นตัวแทนธุรกิจกลุ่มเรา ก็จับมานั่งรวมกัน เพื่อเข้ามาช่วยงานทางด้านบริหาร ซึ่งขายตรงบางทีถ้าปล่อยให้กระจัดกระจาย มันก็จับจุดยาก ผมจึงวางนโยบายใหม่ด้วยการดึงเข้ามาเป็น ผู้นำกลุ่มธุรกิจ

เพราะเราอยากให้ทุกคนคิดว่า นี่คือบริษัทของท่านบริษัทหนึ่ง เมื่อมีการเรียกแกนนำมาประชุมแทนที่ว่า จะเรียกมาทั้งหมดมันก็เสียเวลา ก็สมมติให้แต่ละท่านแตกเป็นบริษัทลูกของ เอปูเซ่ แล้วตัวท่านก็คือ กรรมการผู้จัดการของบริษัท แล้วก็ต้องมีผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ ด้วยระบบเราปรับวางให้เป็นนักธุรกิจเต็มรูปแบบ เรื่องสุดท้ายก็จะสอนในเรื่องของกำไร - ขาดทุน แล้วก็ได้ประโยชน์ที่ดีพอสมควร ซึ่งถือว่า เป็นระบบที่เราขับเคลื่อนง่ายกว่า 4 ปีที่ผ่านมา เพราะการบริหารในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา มันเหมือนมดแตกรัง แต่ตอนนี้เราควบคุมเป็นระบบแล้ว โดยมีทีมใหญ่ประมาณ 20 ท่าน คือผู้นำธุรกิจ เอปูเซ่

นโยบายที่ถูกกำหนดเป็นแผนการตลาดเชิงรุกกับกลุ่มผู้นำ 20 องค์กรธุรกิจ เริ่มต้นจากให้นักธุรกิจทุกกลุ่ม ทุกธุรกิจ เข้ามาเป็นหุ้นส่วนในการทำธุรกิจกับบริษัท ซึ่งบริษัทจะกันเงินหรือที่เรียกว่าส่วนแบ่งการตลาดออกไป เพื่อมาแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น สินค้าของบริษัทหากทำยอดขาย - ทำกำไรได้เท่าไหร่ ถ้าบริษัทได้กำไร 100 บาท ก็จะมอบให้กลุ่มผู้นำ 15 บาท ถือเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ

เพราะวันนี้ถ้าเราเอากำไรมากองไว้ที่บริษัททั้งหมด แล้วปล่อยให้ผู้นำ - สมาชิกทำงานกันอย่างอดอยากปากแห้ง มันก็ไม่ใช่ ซึ่งจะต้องทำธุรกิจแบบวิน ๆ ทั้งคู่ คือทุกคนต้องได้ประโยชน์ได้เปอร์เซ็นต์จากตัวสินค้าเหมือน ๆ กัน นี่คือการกระตุ้นยอดที่ให้โดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องมานั่งตีค่าเฉลี่ยให้มันเสียเวลา

ดังนั้น เงินก้อนหนึ่งที่ได้มาจากส่วนกำไร ก็จะแบ่งให้ผู้นำส่วนบนหรือผู้นำระดับองค์กร โดยนำเงินส่วนที่ได้มาหารเฉลี่ยกัน กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มธุรกิจข้างล่างก็แบ่งให้เป็นรายคน ต่างจากข้างบนที่ให้หารในอัตราเฉลี่ยกัน ก็เท่ากับเป็นการแบ่งผลกำไรให้ 2 ระดับชั้น ทั้งบน - ล่าง (2 Level) นี่คือยุทธศาสตร์ใหม่ที่ดูแล้วลงตัว

เดินเครื่องสอดรับนโยบาย
เพิ่มสินค้าปันกำไรผู้นำ-สมาชิก
เมื่อยุทธศาสตร์ใหม่เริ่มเดินเครื่อง จากการปันผลกำไรให้กับกลุ่มผู้นำ - สมาชิกสามารถปันผลกำไรได้ทั้ง 2 ระดับชั้นบน - ล่าง (2 Level) บอสใหญ่ เอปูเซ่ จึงเร่งเครื่องส่งตัวสินค้าใหม่ป้อนตลาดทันที โดยวางนโยบายให้กลุ่มผู้นำระดับองค์กรธุรกิจสามารถแบ่งปันกำไรจากสินค้าที่วางจำหน่ายในท้องตลาดได้ด้วย ล่าสุด เอปูเซ่ จึงได้เปิดตัวสินค้าใหม่ตระกูล คาวาริจากเดิมเป็นคาวาริชนิดน้ำ ก็พัฒนาเป็นคาวาริชนิดเม็ด ภายใต้แบรนด์ คาวาริ Gold เพื่อต้องการพกพาสะดวก ลดต้นทุนการขนส่ง และทานง่าย มีคุณสมบัติบำรุงสุขภาพ มุ่งเน้นการทำลายเชื้อโรค ขณะเดียวกันก็เข้าไปฟื้นฟูเซลล์ในส่วนที่สึกหรอได้ดีอีกด้วย

ซึ่งโปรดักส์ตัวนี้ได้ออกวางจำหน่ายแล้วในต่างประเทศ ส่วนผลที่ได้รับคือ เห็นผลเร็วกว่าชนิดน้ำ ภายหลังส่งสินค้าออกสู่ท้องตลาดได้เพียง 3 เดือน บริษัทมียอดขายประมาณ 20,000 กล่อง เหตุผลส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเรายังมีรางวัลจูงใจอัดฉีด หรือที่เรียกว่า เบี้ยขยัน เป็นส่วนแบ่งการตลาดพิเศษให้กับกลุ่มผู้นำเพิ่มเข้ามากระตุ้นยอดขาย

เมื่อก่อนสินค้าที่นิยมในท้องตลาด จะเป็นสินค้าพลูคาวชนิดน้ำ มียอดขายอยู่ที่ 80% ของบริษัท ก็ยังถือว่าไม่ได้เป็นส่วนที่ดีอะไรมากมาย จากนั้นจึงได้นำโปรดักส์เข้ามาเสริม สำหรับผลิตภัณฑ์บำรุงผิว แชร์สัดส่วนอยู่ที่ 35-40% อยู่ระดับทรงตัว โดยสินค้ากลุ่มนี้ที่ออกมาสามารถเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

รวมไปถึง เอปูเซ่ ยังมีเครื่องสำอางคุณภาพระดับแบรนด์เนม ไม่ว่าจะเป็นสินค้าสุขภาพและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่สามารถสร้างยอดได้เกือบ 10 ล้านบาท/เดือน สินค้าอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวเอกที่เพิ่มเข้ามาเป็นตัวที่ 2 และทดลองในตลาดมาแล้ว 2 เดือน ยอดขายอยู่ที่ 35% ของบริษัท ซึ่งสินค้าตัวนี้เอาใจผู้ชายทุกวัย ภายใต้แบรนด์ Gold Number 9 ผลิต ภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงคุณผู้ชาย สินค้าตัวนี้ไม่ใช่ยาปลุกเซ็กส์ แต่ Gold Number 9 จะเข้าไปช่วยฟื้นฟู ซึ่งจะมีความแตกต่างจากอาหารเสริมบางประเภทที่พอทานเข้าไปมีปฏิกิริยาได้ทันที

Gold Number 9 จะมีผลจากการออกฤทธิ์ต่างกัน เพราะเมื่อทานเข้าไปแล้วจะไม่มีความรู้สึกหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใด ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่เป็นการเสริมสร้างชีวิตประจำวันมากกว่า เพราะสามารถกระตุ้นความต้องการได้เพิ่มขึ้นภายใน 15 วันเห็นผล คาดว่าสินค้าน้องใหม่จะได้รับการตอบสนองอย่างดีจากสมาชิก เอปูเซ่ เช่นเดียวกัน

หากจะให้สรุปผลสินค้าทั้งหมดของ เอปูเซ่ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 หมวดด้วยกันคือ กลุ่มสมุนไพร, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, กลุ่มที่ใช้ในชีวิตประจำวัน, และกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ซึ่งการเปิดเกมรุกในตลาดรูปแบบนี้ ก็จะเป็นการทำนำร่อง ด้วยการสร้างฐานผู้บริโภคขึ้นมาเอง

ส่วนแผนการรุกคืบไปยังตลาดแมส (Mass มวลชน) มองว่า ถ้าหาก เอปูเซ่ ยังใช้วิธีการเดินแต้มตลาดแบบเดิม ๆ ตรงนี้ก็จะเป็นสิ่งที่เหนื่อยและลำบาก ฉะนั้น การเข้าสู่ตลาดขายตรงได้อย่างรวดเร็วขึ้น จำเป็นต้องสร้างแบรนด์ ด้วยการทุ่มงบประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทุกแขนง เพราะการสร้างแบรนด์ Royalty ให้เป็นที่รู้จัก จึงมีความสำคัญมาก ถ้าไปถึงจุดนั้นได้ ก็ถือว่า ประสบความสำเร็จ

เริ่มสตาร์ทสู่เวทีอาเซียน
ปรับระบบโอนเงินสู่สากล
การเปิดเสรีทางการค้าในเวทีประชาคมอาเซียน เอปูเซ่ จะเดินแต้มต่อไปอย่างไรนั้น บอส มนตรี ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า เอปูเซ่ ถือว่าโชคดีที่ได้ร่วมเป็นสมาชิกหนึ่งใน สมาคมพัฒนาการขายตรงไทย เพราะทางด้านสมาคมฯ รวมถึงท่านอดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่เข้ามานั่งในตำแหน่งนายกสมาคมฯ ก็ได้ให้ความรู้และข้อเสนอแนะกับ เอปูเซ่ ถึงแนวทางในการบุกตลาดอาเซียน เป็นสิ่งปูทางให้เดินไปในสายธุรกิจเครือข่ายได้ง่ายขึ้น

ส่วนการแข่งขันของธุรกิจขายตรงในตลาดอาเซียน ณ วันนี้ ต้องบอกว่ายังไม่มีการปรับตัวหรือขยายตัวมากนัก แต่ในอีก 2 3 ปีข้างหน้า การจะเข้าไปเจาะฐานนั้นกระทำได้ยากมากขึ้น เพราะมีนักธุรกิจจาก สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง เข้ามาทำธุรกิจบ้านเราเยอะ ฉะนั้น จะต้องมีการรักษาฐานให้ดี เพื่อเตรียมความพร้อมสู่เวที AEC อย่างแท้จริง

ตลาดอาเซียนของ เอปูเซ่ เราได้พูดคุยกับนักธุรกิจท่านหนึ่ง เพื่อจะนำสินค้าเข้าไปตีตลาดออสเตรเลีย ซึ่งอยู่ระหว่างการขออนุญาตนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายที่นั่น ส่วนประเทศกัมพูชาก็มีนักธุรกิจยื่นความจำนงเป็นคู่ค้าอยู่ 3 ราย คาดว่าจะสามารถนำสินค้าเข้าไปตีตลาดได้เป็นที่แน่นอนแล้ว สำหรับลาวสินค้าขอผ่าน อย.แล้ว และวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมานี้มีนักธุรกิจจาก จ.ระนอง ที่ส่งออกสินค้าอุปโภค - บริโภค ไปที่ประเทศพม่าก็จะเข้ามาดิวงานกับทาง เอปูเซ่ ด้วย

เนื่องจากผมเคยทำงานอยู่ cp แผนก outlet และเชื่อมั่นในระบบดิสตริบิวเตอร์ (Distributor ตัวแทนจำหน่าย) ถ้าตรงนี้เรานำมาผนวกกับขายตรงได้มันจะเป็นจุดแข็งซึ่งถ้าเรามีสินค้าแต่ไม่มีจุดกระจายสินค้ามันก็จบฉะนั้นหากใครสนใจสามารถติดต่อเป็น distributor กับทางเอปูเซ่ได้เพราะการเข้าตลาดอาเซียนถือว่ายังติดต่อสื่อสารกันยากแต่ถ้าปรับกันได้สื่อสารกันคนละครึ่งทางยกตัวอย่างหลายๆคนที่พูดภาษาเขมรได้เราก็ต้องไปหาคนกลุ่มนี้มาทำงานร่วมกันเพราะภาษาอังกฤษถึงแม้จะเป็นภาษากลางแต่ก็ใช้ไม่ได้ทุกประเทศก็ยังคงต้องใช้ภาษาท้องถิ่นสื่อสารกันอยู่ดี

ส่วนในเรื่องดิสตริบิวเตอร์ที่มาทำงานร่วมกับ เอปูเซ่ ปกติเราจะให้ประเทศละ 1 ราย และต้องตั้งทาร์เก็ต (Target เป้าหมาย) กับเรา ซึ่งถ้าคุณทำไม่ได้ก็เปลี่ยนเลย เพราะให้ประเทศละไม่กี่ราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราวางแผนป้องกันเรื่องการเล่นสงครามราคาด้วย ก็มีการป้องกันส่วนนี้ไว้ก่อน

ส่วนปัญหาเรื่องการขายตัดราคาในไทย จริง ๆ ต้องเรียนว่า มีทุกที่เกี่ยวกับเรื่องการขายตัดราคา เอปูเซ่ จึงได้วางพื้นฐานไว้ตั้งแต่เริ่มแรก ด้วยการอบรมสมาชิกอย่าเล่นสงครามราคา ซึ่งบางครั้งหากเจอปัญหาตัวผมก็ออกไปจับด้วยตนเอง กรณีที่ซื้อไปแล้วปล่อยราคาขายต่ำไม่อั้น พูดง่าย ๆ หากเจอเราก็ดำเนินการ เพราะถือว่าเป็นการทำลายตลาดโดยรวม เพราะถ้าปล่อยให้เป็นเรื่องเป็นราวมากมาย ก็เหมือนกับว่าทำลายฐานตลาดของตัวเองเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการคุมที่แผนการตลาด คือถ้ามีใครซื้อสินค้าไปมาก น้อย เราสามารถเช็คที่มาได้ทั้งหมด

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมพร้อมกับการรับมืออาเซียน นั่นก็คือ เรื่องของระบบ IT ต้องบอกว่า เอปูเซ่ พัฒนาได้ล้ำสมัยไม่ธรรมดา เพราะได้พัฒนาไปเยอะมาก ซึ่งต่างประเทศสามารถลิงค์เข้ามาได้ไม่มีปัญหา ยกตัวอย่างคนที่เยอรมันลิงค์เข้ามาในเว็บไซต์ ติดต่อจะเป็นตัวแทนขายสินค้าที่เยอรมัน ก็สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ทันที เพราะมีระบบบาร์โค้ดลิงค์เชื่อมกันได้ หากมีการลิงค์เข้ามารหัสสมาชิกก็จะไม่หายแน่นอน เพราะจะขึ้นเป็นทะเบียนราษฎร์ โดยเฉพาะสมาชิกจากต่างประเทศสมัครด้วยการใช้พาสปอร์ต ก็มีสมัครเข้ามาเยอะมาก ฉะนั้น การันตีได้เลยว่าระบบ IT ไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน

ส่วนการพัฒนาในระบบฝ่ายการเงิน ต้องบอกว่า เอปูเซ่ ถือได้ว่าทันสมัย เพราะมีการติดต่อประสานงานกับธนาคารไทยพาณิชย์ อย่างเช่น การโอนเงินข้ามประเทศอย่างประเทศลาว อดีตมีนักธุรกิจอยู่ที่ฝั่งโน้นเจรจาติดต่อในเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงิน ก็ต้องประสบกับปัญหาบ้างเหมือนกัน เอปูเซ่ จึงแก้เกมโดยใช้บัตรสมาชิกเป็นบัตรเงินสด - บัตรเอทีเอ็มได้ในเวลาเดียวกัน สามารถพิมพ์โลโก้ของ เอปูเซ่ เข้าไปในบัตรแล้วก็คีย์หมายเลขสมาชิกได้

ส่วนขั้นตอนต่อไปก็จะมีการคุยกับสมาชิกใช้ในการบังคับ หรือ ใช้ในความสมัครใจ เพราะเวลาประสานงานกับแบงก์ต้องมีการอะลุ่มอล่วย ซึ่งก็จะมีการทำโปรโมชั่น เพื่อให้สมาชิกได้ซื้อสินค้าในราคาพิเศษด้วย โดยเฉพาะการโอนเงินระหว่างประเทศ ก็สามารถใช้บัตรสมาชิกเป็นบัตรเอทีเอ็มได้เลยสำหรับสมาชิกฝั่งลาว ตรงนี้เราพยายามยกระดับให้เป็นสากล

สรุปภาพโดยรวมของการเปิดตลาดอาเซียน เอปูเซ่ จะมีการรักษาฐาน การวางแผนที่รัดกุม เป็นหนทางหนึ่งให้ธุรกิจขายตรงเดินทอดยาวไปได้ ซึ่ง เอปูเซ่ ต้องมีการปรับหรือขยายตัว เพื่อการเตรียมขยายตลาดอาเซียน ภายในอีก 2-3 ปี อีกด้วย

ปรับทัพนักธุรกิจ เอปูเซ่
สู่บทบาทนักลงทุนอิงประกัน
นอกจากนี้ เอปูเซ่ ยังเป็นค่ายแรกที่ปรับให้นักธุรกิจขายตรง เอปูเซ่ กลายเป็นนักลงทุน ซึ่งระบบคล้าย ๆ ประกันที่เปลี่ยนจากนักขายให้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะปรับบทบาทนักธุรกิจ นักลงทุน จะเป็นทั้งสองอย่างในร่างเดียวกัน โดยจะเริ่มปรับกลยุทธ์ตรงจุดนี้เพิ่มเติมเข้ามาด้วย เพราะตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เอปูเซ่ ได้เฝ้าติดตามรวบรวมข้อมูล จึงเล็งเห็นว่าระบบการสมัครสมาชิก หรือ การทำธุรกิจบางอย่างมันยังไม่ใช่แบบแผนที่ถูกต้องเสมอไป เพราะฉะนั้นจะมีการปรับและยกระดับให้นักธุรกิจหรือผู้นำ ให้รู้จักคิดแบบนักธุรกิจ เพราะนักธุรกิจจะมีความคิด การทำธุรกิจต้องอยู่ภายใต้ 2 เงื่อนไข นั่นคือ กำไร กับ ขาดทุน

เมื่อนักธุรกิจไม่มีใครอยากขาดทุน มีแต่อยากได้กำไร ฉะนั้น กำไรที่ เอปูเซ่ จะให้สมาชิกต้องเป็นกำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย ซึ่งจะก้าวเดินไปถึงจุดนั้นได้ เราต้องสร้างผู้นำก่อน เพราะการเปลี่ยนจากคำว่า นักธุรกิจ ให้เป็นที่ปรึกษาการลงทุนในธุรกิจ ต้องรู้ว่าลูกค้าที่มาขอคำปรึกษามีความสามารถในการลงทุนเท่าไหร่ จึงต้องมีการปรับในส่วนของรายรับ - รายจ่ายของสมาชิกทุกคน

ซึ่งเดิมทีขายตรงมีรายได้มาจากโครงสร้างแผนธุรกิจ ส่วนบางคนไม่มีพื้นฐานของโครงสร้างมาก่อน ก็ต้องเล็งว่า คนที่เข้ามาใหม่ก็คือ นักธุรกิจขายตรง ไม่ใช่เฉพาะเจาะจงแต่คนเก่า เพราะบางครั้งคนที่เข้ามาใหม่ก็มีองค์ประกอบพอและมีทุกอย่างครบถ้วน ก็กลายเป็นนักธุรกิจขายตรงได้ทันที เพราะฉะนั้นเราจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาตรงส่วนนี้ด้วย

เราจะแบ่งแยกเกรดหากท่านอยากเป็นแค่ผู้บริโภคท่านยังไม่พร้อมจะลงทุนท่านก็เริ่มต้นของท่านไปไม่ได้บังคับแต่ถ้าผู้ใดสนใจจะลงทุนก็ต้องทำให้ได้ไม่ใช่ไปเอาพ่อ แม่ญาติพี่น้องมาปิดรหัส 100,000 300,000 บาทแล้วเอาสินค้าไปกองอยู่บ้านมันผิดวิธีเราปรับวิธีการใหม่จะบอกคุณว่าหากคุณลงทุนตรงนี้จะได้กำไรแล้วกำไรมาจากอะไรสิ่งนี้คือสิ่งที่เรากำลังเริ่มวันนี้ผมคิดว่าขายตรงต้องเอาวิชาชีพของธุรกิจอื่นๆเข้ามาผนวกไม่ว่าจะเป็นประกันหรือว่าไฟแนนซ์โบรกเกอร์แต่สิ่งที่สำคัญอยู่ที่ว่าต้องทำให้ผู้ที่เข้ามาลงทุนร่วมกับเราเขามาทำแล้วมีกำไรตรงนี้สำคัญมาก

ในเรื่องของการลงทุน เอปูเซ่ ทำหน้าที่คล้าย ๆ โบรกเกอร์ เมื่อมีสินค้าก็จะเป็นโจทย์ทันทีว่า จะบริหารอย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ทำหน้าที่หลักเป็นตัวกลางของบริษัท แต่ถ้าเป็นนักธุรกิจอยู่แล้ว ก็สามารถที่จะต่อยอดในความเป็นธุรกิจร่วมกันได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์เร็วที่สุด นี่จึงถือเป็นโปรเจ็กต์ที่สำคัญ ซึ่งบริษัทอื่น ๆ ก็ยังไม่มีโบรกเกอร์ ที่นี่จะเป็นที่แรก ที่เรียกได้ว่า เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นที่ปรึกษาการลงทุน ส่วนสมาชิกก็จะได้รับการดูแล - ฝึกอบรมจากบริษัทโดยตรง

การลงทุนกับธุรกิจเครือข่ายเป็นการเชื่อมระบบสู่ระบบ ถือว่าเป็นโปรเจ็กต์ใหญ่ เพราะเป็นการลงทุน ซึ่งในแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องใช้จำนวนเงินที่มากถึงแสนก็ได้ แต่ต้องเป็นการจำลองการลงทุนให้ถี่ขึ้น ให้การลงทุนหมุนรอบเอง เพราะบางทีไม่จำเป็นต้องให้คนที่ลงทุนไปขายที่นา ขายบ้าน ที่ดินอะไรต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่ต้องใช้คือ มันสมอง เพราะฉะนั้นการทำความเข้าใจระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร ต้องอยู่กึ่งกลาง เพราะองค์กรจะต้องเดินต่อไปข้างหน้า ซึ่งถ้าเริ่มต้นดีก็มีโอกาสที่จะขยายธุรกิจให้เติบโตได้ นี่คือ สิ่งที่ เอปูเซ่ มองเกมการตลาดในอนาคต

ส่วนการขยายสาขาออกมาในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ เอปูเซ่ มองว่าไม่จำเป็นต้องทำตรงนั้น เพราะการที่จะทำได้ต้องมีองค์กรที่มั่นคง ถ้าใครเดินถือเงินมาเปิด ก็เปิดได้ แบบนี้คงไม่มีผลอะไรกลับมา แต่ถ้ามีการปรับประสานมามิกซ์เป็นการลงทุน โดยเมิร์ซธุรกิจระหว่างแฟรนไชส์ + โบรกเกอร์ + ประกัน หรือเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน นั่นถือว่าเป็นการลงทุนแนวใหม่ ที่ถือเป็นแนวคิดที่สุดยอด หากเราสามารถทำได้...

และ เอปูเซ่จะก้าวขึ้นบันไดแห่งฝัน ได้สำเร็จหรือไม่.. คงต้องติดตามกันช็อตต่อไป


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: นสพ.ตลาดวิเคราะห์ ฉบับที่326 ประจำวันที่16 - 31 สิงหาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น