ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กม.ขายตรงส่อ โมฆะ ตุลาการชี้ม.54ขัดรธน.







12911829981291183736l (Mobile)


สคบ.ช็อค ! หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 5 ต่อ 4 ชี้พรบ.ขายตรง ฯ มาตรา 54 ว่าด้วยการกระทำความผิดของผู้มีอำนาจในนิติบุคคล ที่ต้องรับโทษ ตามที่กฎหมายกำหนด ขัดกม.รัฐธรรมนูญมาตรา 39 วรรคสอง เหตุต้องแยก ความผิดระหว่าง นิติบุคคล กับบุคคลออกจากกัน โดยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหา หรือจำเลยคือผู้บริสุทธิ์หวั่นผู้ประกอบการแชร์เถื่อน หรืออาชญากรเศรษฐกิจ หัวหมอยกคำตัดสินมาต่อสู้คดีอาจลอยนวล

กฎหมายขายตรงวิกฤติ แชร์เถื่อนยืมมือศาลรธน.ล้มคดี

นับเป็นวิกฤติการณ์ครั้ง สำคัญในกระบวนการบังคับใช้ กฎหมายของประเทศไทย หลัง จากที่มีกระแสข่าวว่ากฎหมาย ในพระราชบัญญัติต่าง ๆ กว่า 100 ฉบับ ส่อเค้าว่าจะขัดกับ หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยล่าสุดกฎหมายที่มี การวินิจฉัยออกมาจากตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญสด ๆ ร้อน เมื่อ ไม่นานมานี้ ก็คือ พระราช บัญญัติขายตรงและการตลาด แบบตรง ปี 2545 ที่มีคำวินิจฉัย ออกมาอย่างเป็นทางการว่า ขัด กับหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ อย่างชัดเจน เบื้องหลังการคำวินิจฉัย ดังกล่าว แหล่งข่าว เปิดเผยว่า เป็นผลมาจากศาลฎีกาได้มีการ ส่งคำโต้แย้งจากจำเลยรายหนึ่ง ที่ถูกดำเนินคดีโดยมีความผิด ตามพระราชบัญญัติขายตรง และการตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย

โดยผลจากการพิจารณา ตุลาการรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คน มี มติ 5 ต่อ 4 ว่าพระราชบัญญัติ ขายตรงและการตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 54 ที่ระบุว่า ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่ง ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติ นี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้ จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่ง รับผิดชอบในการดำเนินงานของ นิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่ กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับความ ผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ ว่า มิได้มีส่วนร่วมในการกระทำ ความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัด ต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 39 วรรค 2 ที่ระบุว่า ในคดีอาญา ต้อง สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหา หรือจำเลยไม่มีความผิด ผลจากคำวินิจฉัย นาย จรัล ภักดีธนากุล ตุลาการศาล รัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญเสียงส่วน ข้างน้อย ได้แสดงความเป็นห่วง ว่า อาจทำให้การปราบปราม อาชญากรทางเศรษฐกิจทำได้ ยากขึ้น โดยหลังจากนี้จะต้องมี การเร่งปรับแนวทางปฏิบัติ เนื่องจากเชื่อมโยงในหลายด้าน รวมถึงพระราชกำหนดการกู้ยืม เงิน เพราะกรณีแชร์ลูกโซ่มีการ ตั้งเป็นนิติบุคคล ทำให้ยากที่จะ สาวไปถึงตัวบงการใหญ่ได้ แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ใน คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 12/2555 เรื่อง พระราชบัญญัติ ขายตรงและการตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญหรือไม่ มีการระบุเอา ไว้ในหลักการพิจารณาหลาย ประเด็นด้วยกัน

ประเด็นแรก ในเรื่องข้อเท็จ จริง ศาลฎีกาส่งคำ โต้แย้ง ของจำเลยในคดีความผิดตาม พระราช บัญญัติขายตรงและการ ตลาดแบบตรงพ.ศ.2545 ซึ่งโต้แย้ง ว่ามาตรา 54 ในกรณีที่ผู้กระทำ ความผิดซึ่งต้องได้รับโทษตาม พระราชบัญญัตินี้เป็นนิติ บุคคล ให้กรรมการผู้จัดการผู้จัดการ หรือ บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการ ดำเนินงานของนิติ บุคคลนั้น ต้อง รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ เว้นแต่... จะพิสูจน์ได้ว่า ตนมิได้มีส่วน เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ของนิติบุคคลนั้น

ในคำ วินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญ ระบุว่า มีเนื้อหาขัด แย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 39 วรรคสอง และมาตรา 40 (5) ประกอบมาตรา 30
ประเด็นที่สอง ในเรื่องบท กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 39 วรรคสอง บัญญัติว่า ในคดี อาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลย ไม่มีความ ผิด ประเด็นที่สาม คำวินิจฉัย ตุลากาลศาลรัฐธรรมนูญมีมติ เสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 วินิจฉัยว่า มาตรา 54 ของพระราชบัญญัติ ขายตรงและการตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคสอง จึงเป็นอัน ใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ส่วนปัญหาตามมาตรา อื่น ๆ ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย ประเด็นที่สี่ เหตุผล ประกอบการวินิจฉัย เห็นว่า พระราชบัญญัติขายตรงและ การตลาดแบบตรงพ.ศ.2545 มาตรา 54 เป็นข้อสันนิษฐาน ตามกฎหมายที่มีผลการสันนิษ ฐานความผิดของจำเลย โดย โจทก์ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ให้เห็น ถึงการกระทำ หรือเจตนาอย่าง ใดอย่างหนึ่งของจำเลยก่อน เป็นการนำการกระทำความผิด ของบุคคลอื่นมาเป็นเงื่อนไขของ การสันนิษฐานให้จำเลยมีความ ผิดและต้องรับโทษทางอาญา

เนื่องจากการสันนิษฐาน ว่า ถ้าผู้กระทำความผิดเป็น นิติบุคคล ก็ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบ ในการดำเนินงานของนิติบุคคล นั้น ต้องร่วมรับผิดกับนิติบุคคล ผู้กระทำความผิดด้วย เว้นแต่... จะได้รับการพิสูจน์ได้ว่าตนไม่ได้ มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำ ความผิดของนิติบุคคลดังกล่าว โดยโจทก์ไม่ต้องพิสูจน์ถึงการ กระทำหรือเจตนาของกรรมการ ผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใด ที่รับผิดชอบในการดำเนินงาน ของนิติบุคคลนั้นว่ามีส่วนร่วม เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ของนิติบุคคลอย่างไร

คงพิสูจน์แต่เพียงว่า นิติ บุคคลกระทำความผิดตามพระ ราชบัญญัตินี้ และจำเลย เป็น กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือ บุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนิน งานของนิติบุคคลเท่านั้น กรณีดังกล่าว จึงเป็นการ สันนิษฐานไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือ บุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนิน งานของนิติบุคคลนั้นได้กระทำ ความผิดด้วย อันมีผลเป็นการ ผลักภาระการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ไปยังกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบในการ ดำ เนินงานของนิติบุคคลนั้น ทั้งหมดทุกคน

บทบัญญัติมาตราดังกล่าว จึงเป็นการสันนิษฐานความผิด ของผู้ต้องหาและจำเลยในคดี อาญา โดยอาศัยสถานะของ บุคคลเป็นเงื่อนไข มิใช่การ สันนิษฐานข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ ประกอบความผิดเพียงบางข้อ หลังจากที่โจทก์ได้พิสูจน์ให้เห็น ถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ที่เกี่ยวข้องกับความผิดที่จำเลย ถูกกล่าวหา และยังขัดกับหลัก นิติธรรมข้อที่ว่า โจทก์ในคดี อาญาต้องมีภาระการพิสูจน์ถึง การกระทำความผิดของจำเลย ให้ครบองค์ประกอบความผิด นอกจากนี้ บทบัญญัติ มาตราดังกล่าวยังเป็นการนำ บุคคลเข้าสู่กระบวนการดำเนิน คดีอาญาให้ต้องตกเป็นผู้ต้องหา และจำเลย ซึ่งทำให้บุคคลดัง กล่าวอาจถูกจำกัดสิทธิ เสรีภาพ เช่น การถูกจับกุม หรือถูกคุมขัง โดยไม่มีพยานหลักฐานตาม สมควรในเบื้องต้นว่า บุคคลนั้น ได้กระทำ การ หรือมีเจตนา ประการใด อันเกี่ยวกับความผิด ตามที่ถูกกล่าวหา บทบัญญัติมาตราดัง กล่าว ในส่วนที่สันนิษฐานความ ผิดอาญาของผู้ต้องหาและ จำเลย โดยไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหา หรือจำเลยได้กระทำการหรือมีเจตนาประการใดเกี่ยวกับความ ผิดนั้น จึงขัดต่อหลักนิติธรรม และขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคสอง นี่คือบทสรุป คำวินิจฉัย ที่ 12/2555 ซึ่งถือเป็นคดีแรกและ เป็นคดีประวัติศาสตร์ ที่คำ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ออก มาในลักษณะ ที่ขัดแย้งกับ กฎหมายที่ตราเอาไว้เป็นพระ ราชบัญญัติ

มาตรา 54 มีปัญหา ตุลาการชี้บริษัทผิดแต่คนอาจไม่ผิด

กรณีพระราชบัญญัติ ขายตรงและการตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ถ้าจะแปลความให้ เข้าใจง่าย ๆ ในมาตรา 54 ก็คือ การพิจารณาเอาผิดเอาโทษต่อ นิติบุคคล ที่กระทำการฝ่าฝืน กฎหมาย จะมีการผูกรวมความ ผิดระหว่างนิติบุคคลกับตัวบุคคล ผู้มีอำนาจในการดำเนินการเอา ไว้เสมือนหนึ่งเป็นคน ๆ เดียวกัน เป็นความผิดที่เกิดขึ้นโดย อัตโนมัติ เพราะไม่ว่า กรรมการ ผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่มี อำนาจดำเนินกิจการ จะทำผิด หรือไม่ โดยสถานะหรือบทบาท ความรับผิดชอบ ไม่อาจปฏิเสธ ได้ว่า จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน (ยกเว้นเสียแต่ว่าจะพิสูจน์ได้ว่า มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนิติบุคคล นั้น

แต่ในมุมมองของศาล รัฐธรรมนูญ ในกฎหมายรัฐ ธรรมนูญมาตรา 39 วรรคสอง จะ เห็นว่า จะมีการแยกความรับผิด ชอบระหว่างนิติบุคคล กับบุคคล ออกจากกันอย่างเด็ดขาด เพราะแม้ว่า นิติบุคคล จะ มีความผิด หากจะเอาผิดเอา โทษต่อผู้ที่มีอำนาจในการดำเนิน การ ก็จะต้องการมีประจักษ์ พยานแวดล้อมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ จึงจะดำเนินการได้ ดังนั้น ปัญหาที่ตามมา ก็คือว่าเมื่อกระบวนการทาง กฎหมายได้ดำ เนินมาถึงจุด หมายปลายทาง ในกระบวนการ ชั้นศาลฎีกา หากมีการนำข้อโต้ แย้งมาสู่กระบวนการพิจารณา จากศาลรัฐธรรมนูญ แล้วผล ออกมาเช่นเดียวกับกรณีคำ วินิจฉัยที่ 12/2555 ผู้บังคับใช้ กฎหมาย อันหมายถึงหน่วยงาน องค์กรภาครัฐ จะได้รับผลกระ ทบอย่างไร ความเสียหายอันเกิดจาก นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจโดย มิชอบ ประชาชนผู้เสียหายจะ ได้รับ การชดใช้ชดเชยความเสีย หายอย่างไร

ในอดีตที่ผ่านมา นับตั้งแต่ รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลา นนท์ ได้มีการออกพระราช กำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการ ฉ้อโกง ปีพ.ศ.2527 ในยุคนั้น มีการตั้งวงแชร์ เถื่อนเกลื่อนกลาดเมืองไทย เป็น ธุรกิจที่หน่วยงานภาครัฐ ต่าง ทราบกันดีว่า มอมเมาประชาชน เป็นการทำธุรกิจในลักษณะ เงิน ต่อเงิน หรือที่เรียกว่า งูกินหาง คือ ระดมเงินจากผู้ฝากรายใหม่ มาจ่ายรายเก่า หากไม่เร่งดำเนินการสกัด กั้น ก็จะส่งผลเสียหายต่อเศรษฐ กิจอย่างร้ายแรง การตราพระราชกำหนด หรือพระราชบัญญัติออกมา เพื่อ หวังที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการ ดำเนินคดีกับบรรดาเจ้าพ่อเจ้า แม่ทั้งหลาย แต่กว่าจะดำ เนินการ เอาผิดเอาโทษต่ออาชญากร เศรษฐกิจเหล่านี้ ก็มีการยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สินออกไปจนแทบ ไม่เหลือ ถึงวันนี้ แม้จะมีการออก กฎหมายควบคุม แต่ก็ยังมี กิจการหลายแห่ง มีการฝ่าฝืน แสวงหาผลประโยชน์เข้ากระเป๋า ตนเอง ทิ้งความหายนะเอาไว้ให้ประชาชนเป็นจำนวนมาก การที่พรบ.ขายตรงฯ มี การบัญญัติเอาไว้ในมาตรา 54 ก็เพื่อต้องการสกัดกั้นการยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สินของผู้ประกอบ การที่ฉ้อโกง

ในขณะเดียวกันก็เพื่อ บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น กับประชาชน ที่หลงเชื่อคำ โฆษณา อย่างน้อยแม้จะไม่ได้รับ การชดเชย 100% ก็ยังดีกว่าไม่ ได้อะไรเลย เข้าทำนอง กำขี้ดี กว่ากำตด แต่ครั้นเมื่อกระบวนการ ทางกฎหมาย เดินมาถึงจุดหนึ่ง เมื่อเกิดกรณี คำวินิจฉัยจากศาล รัฐธรรมนูญ มีความเห็นว่า ควร ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหา มีโอกาส พิสูจน์ความบริสุทธิ์ ในขณะเดียวกันกลับผลัก ภาระการหาพยานหลักฐานที่ สมบูรณ์ครบถ้วน ไปยังหน่วย งานที่บังคับใช้กฎหมาย นั่นก็ เท่ากับว่า การดำเนินคดีที่เข้าสู่ ชั้นศาล จะต้องเริ่มต้นนับหนึ่ง กันใหม่ แม้จะสามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลที่มีอำนาจในการดำเนิน การของนิติบุคคล นั้น ๆ จะมี ความผิด แต่ผลเสียก็คือ อาจะ นำไปสู่การหลบหนีคดี หรือ การ ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินออกไป ทำใหป้ ระชาชนผูเ้ สียหาย อาจไม่ ได้รับการชดใช้

หวั่นกระทบกม.อีก 100 ฉบับสคบ.-ดีเอสไอ แค่เสือกระดาษ

อย่างไรก็ดี หากพิจารณา ดู ในหมายเหตุท้ายคำวินิจฉัย จากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง ฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับ คำวินิจฉัย จะเห็นว่า มีข้อสังเกต ที่น่าสนใจหลายประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรก คำวินิจฉัย ดังกล่าว เป็นคำวินิจฉัยแรกที่ ศาลรัฐธรรมนูญไทย ได้อ้างอิง ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่อง สิทธิ มนุษยชน และกติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่ง ประเทศไทยเป็นภาคีโดยการ ภาคยานุวัติ และมีผลผูกพัน ประเทศไทยนับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2540 เป็นเหตุผล ประกอบข้อวินิจฉัยว่า มาตรา 54 พรบ.ขายตรง ฯ พ.ศ. 2545 ขัด ต่อหลักนิติธรรมและรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคสอง

แต่ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ มิได้วินิจฉัยโดยตรงว่า มาตรา 54 ขัดต่อ สิทธิมนุษยชน ตาม ปฏิญญาและกติการะหว่าง ประเทศ ซึ่งกรณีนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ ต่อเมื่อเป็นคดีที่ขึ้นสู่ศาล รัฐธรรมนูญผ่านคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 257 (2) เท่านั้น ประเด็นที่สองแม้ ประเทศไทย เป็นภาคีขององค์กร ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) แต่มิได้รับเอาพิธีสาร ทางเลือกฉบับที่ 1 (First Optional Protocol) ซึ่งเปิดช่องให้มี การเสนอคำร้องส่วนบุคคล ไปยัง คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (Human Right Committee- HRC) ซึ่งเป็นองค์กรวินิจฉัย ข้อพิพาทตามกติกาดังกล่าว ดังนั้นผู้ถูกละเมิดสิทธิ ตาม ICCPR โดยรัฐไทยจึงไม่ อาจเสนอคำร้องส่วนบุคคลตาม ช่องทางนี้ได้ ประเด็นที่สาม เมื่อตรวจ สอบฐานข้อมูลคำวินิจฉัย ของ HRC ที่เกี่ยวข้องกับข้อสันนิษ ฐานเบื้องต้น ในคดีอาญาว่าผู้ ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ที่รับรองไว้ในข้อ 14 วรรคสอง ของ ICCPR กลับไม่พบคำ วินิจฉัยเกี่ยวกับบทสันนิษฐาน ความรับผิดทางอาญาของผู้แทน นิติบุคคล ซึ่งตรงกับกรณีปัญหาที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในคดีนี้ และไม่พบว่า HRC เคยให้ความ เห็นในลักษณะดังกล่าวไว้ในข้อ สังเกตทั่วไปของข้อ 14 นี้ ประเด็นที่สี่ การเขียนคำ วินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้ น่าจะมีความไม่ครบถ้วน กล่าว คือ มีการอ้างอิงบทบัญญัติข้อ 11 ของปฏิญญาสากล UDHR ไว้ อย่างชัดเจน แต่สำหรับ ICCPR ซึ่งผูกพันรัฐไทยโดยตรงในฐานะ รัฐภาคีกลับเป็นเพียงการกล่าว อ้างอย่างลอย ๆ มิได้อ้างอิงระบุ บทบัญญัติข้อ 14 วรรคสองข้าง ต้น ประเด็นที่ห้า เมื่อค้นคว้า เปรียบเทียบกับแนวบรรทัดฐาน ของสนธิสัญญาระหว่าง ด้าน สิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอื่น คือ อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่ง ยุโรป กลับพบแนวบรรทัดฐาน ที่ตรงข้ามกับผลการวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญไทยในคดีนี้

กล่าวคือ คดี AG v Malta, Application N0.16641/90, 10 December 1991 คณะ กรรมาธิการ (ปัจจุบันถูกยุบรวม เข้าเป็นส่วนหนึ่งของศาลสิทธิ มนุษยชนแห่งยุโรปไปแล้ว) ได้ วินิจฉัยว่า... ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นที่ สามารถพิสูจน์หักล้างได้ ที่ว่า ให้กรรมการบริษัทต้องรับผิดใน ทางอาญา ในกรณีที่บริษัทดัง กล่าวถูกตัดสินว่ากระทำผิด อาญา เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า มิได้รู้เห็นในการกระทำความผิด และได้ใช้ความระมัดระวังตาม สมควรเพื่อป้องกันมิให้มีการกระ ทำความผิดดังกล่าวแล้ว มิได้ ขัดหรือแย้งต่อข้อ 6 วรรคสอง ของ ECHR แต่อย่างใด ประเด็นที่หก มีกรณี ศึกษาจาก ศาลรัฐธรรมนูญ แอฟริกาใต้ ก็เคยวินิจฉัยไว้ในคดี State v. Coetzee ด้วยมติ 7 ต่อ 4 ว่า มาตรา 332 (5) แห่งรัฐ บัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาความ อาญา ที่ว่า ให้กรรมการและ พนักงานของบริษัทที่ถูกตัดสิน ว่ากระทำความผิดอาญาต้องรับ ผิดในฐานความผิดดังกล่าวด้วย เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่า มิได้มีส่วน เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด และมิอาจป้องกันการกระทำผิด ดังกล่าวได้ ประเด็นที่เจ็ด นิติบุคคล เป็นสิ่งที่กฎหมายสมมติขึ้น ไม่มี ตัวตน การกระทำการ การแสดง เจตนาทุกอย่างย่อมกระทำผ่าน ผู้แทนนิติบุคคล ในชั้นต้น นิติบุคคล ได้รับการสันนิษฐานไว้ ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา ฝ่ายอัยการโจทก์ก็ต้องพิสูจน์ โดยปราศจากข้อสงสัยว่า นิติบุคคลนั้นได้กระทำความผิด ปัญหาก็คือ เมื่อพิสูจน์เช่นนั้นได้ แล้ว การผลักภาระการพิสูจน์ กลับไปยังผู้แทนนิติบุคคล ซึ่ง กฎหมายขายตรงกำหนดให้เป็น ตัว กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบในการ ดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ใน ทำนอง Rebuttable Presumtion คือ บุคคลเหล่านั้นต้องพิสูจน์ให้ ได้ว่า ตนไม่ได้มีส่วนในการกระ ทำความผิดของนิติบุคคลนั้น จะขัดต่อหลัก Presumtion of Innocence ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคสองหรือไม่ ประเด็นที่แปด ตุลาการ เสียงข้างมากในคดีนี้ อ้างถึง UDHR ข้อ 11 และ ICCPR โดย ไม่ระบุข้อ เพื่อสรุปว่า หลัก Presumtion of Innocence เป็นหลัก นิติธรรมที่ได้รับการยอมรับใน นานาอารยประเทศ ซึ่งความจริง ก็เป็นเช่นนั้น แต่สำหรับสาระ ปลีกย่อยของหลักดังกล่าวใน บางเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นการ ผลักภาระการพิสูจน์กลับไปยังผู้ แทนนิติบุคคลในกรณีที่นิติ บุคคลถูกวินิจฉัยว่ากระทำความ ผิดอาญาแล้ว ยังไม่น่าจะใช่หลักนิติธรรมที่ได้รับการยอมรับ ในนานาอารยประเทศ ประเด็นที่เก้า ยังมีพระ ราชบัญญัติอื่น ๆ อีกนับร้อยฉบับ ที่มีบทบัญญัติคล้ายคลึงกับ มาตรา 54 พรบ.ขายตรงพ.ศ. 2545 ที่ศาลวินิจฉัยว่าขัด รัฐธรรมนูญ อาทิ มาตรา 28/4 พรบ.สถานบริการ 2509 , มาตรา 71 พรบ.ปุ๋ย, มาตรา 27 พรบ. นํ้ามันเชื้อเพลิง 2521, มาตรา 71 พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหาร สัตว์ 2525, มาตรา 15 พรก.การ กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน 2527, มาตรา 25 พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2535, มาตรา 144 พรบ.ประกัน ชีวิต 2535, มาตรา 301 พรบ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535, มาตรา 61 พรบ.ป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน 2542, มาตรา 60 พรบ..โรงงาน ผลิตอาวุธของเอกชน 2550, มาตรา 153 พรบ.โรงเรียนเอกชน 2550, มาตรา 62 พรบ.คุ้มครอง ซากดึกดำบรรพ์ 2551, มาตรา 76 พรบ.มาตรฐานสินค้าเกษตร 2551 เป็นต้น

เพราะฉะนั้น นี่คือ กรณี ศึกษา สำ หรับกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาต รวมไปถึงกฎหมายการประกอบ วิชาชีพ ที่กำลังเป็นประเด็นร้อน ในสังคมเวลานี้ โดยเฉพาะในกรณีของ พรบ.ขายตรงฯ จะเห็นว่า กฎหมาย ที่มีการเขียนเอาไว้ จุดมุ่งหมาย ก็เพื่อเป็นเส้นแบ่งระหว่างธุรกิจที่ ชอบด้วยกฎหมายกับธุรกิจที่ผิด กฎหมาย เปรียบเสมือนกับการ ร่างกฎกติกาเอาไว้ให้ ผู้เล่นเล่น กันตามกติกา หาก มีคนเล่นนอกเกม นอกกติกา แล้วยัง ลอยนวล โดยอาศัยช่องว่างของกฎหมาย คำถามก็คือว่า แล้วต่อไปใครจะ เคารพกติกา ไม่แน่ ธุรกิจขายตรงสีขาว ที่หลายต่อหลายสมาคมขายตรง พยายามผลักดันกันเวลานี้ อาจ จะเหลือไม่ถึงครึ่งที่ต้องกลาย เป็นธุรกิจสีเทา เหตุก็เพราะผู้บังคับใช้ กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นสคบ. หรือ DSI คงไม่กล้าลงดาบเชือดใคร ต่อไป !!!




ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ.ตลาดวิเคราะห์ ฉบับที่ 344 ประจำวันที่ 16-31 พฤษภาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น