ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อย. ไล่ทุบสินค้าสุขภาพขี้โม้ ขู่! ใครผิดซ้ำซากเพิ่มโทษทวีคูณ







อย (Mobile)


อย. เผย โฆษณาสินค้าสุขภาพอวดอ้าง โม้สรรพคุณยังระบาดหนักทางสื่อต่างๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต ชี้ ก.พ.ที่ผ่านมา สรุปตัวเลขดำเนินคดีผู้กระทำผิด รวม 105 ราย เงินค่าปรับรวมกว่า 9 แสน บาท พร้อมเตือนผู้ประกอบการ หากกระทำผิดซ้ำซากจะได้รับโทษทวีคูณ สำหรับผู้บริโภคหากพบเบาะแสการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายขอให้แจ้งที่ อย.หรือ สำนักงานสาธารณ-สุขจังหวัด หวังล้างบางจอมโม้ให้สิ้น


ภ.ญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความ ผิดตามพระราชบัญญัติต่างๆ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ได้แก่ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 จำนวน 53 ราย พระ-ราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 จำนวน 41 ราย พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 จำนวน 6 ราย พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 จำนวน 4 ราย และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จำนวน 1 ราย รวมทั้งสิ้น 105 ราย คิดเป็นมูลค่า 959,800 บาท


รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า จาก การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติอาหาร ได้ เปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดในกรณีต่างๆ เช่น กรณีอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ พบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์-กาโนคลอรีนในส้มสด และกลุ่มไพรีทอยด์ในองุ่นสด ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จึงได้ดำเนินคดีในข้อหานำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน


นอกจากนี้ ยังพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ อาหาร ยาเครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ ทางสื่อต่างๆ ได้แก่ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยพบโฆษณาในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง และไม่ได้ขออนุญาตโฆษณา เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อ้างช่วยทำให้ ผอม ขาว และระบบ ขับถ่ายดี กระชับผิว บางผลิตภัณฑ์อ้างช่วย ปรับฮอร์โมนกระชับภายใน ฟื้นฟูสมอง ช่วย ให้ความจำดี ช่วยทำให้โรคเบาหวาน ภูมิแพ้ ดีขึ้น บรรเทาโรคมะเร็งปอด หอบหืด เนื้อ-งอกในมดลูก เป็นต้น ซึ่งเป็นการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตและเข้าข่ายหลอกลวงโอ้อวดเกินจริงทั้งสิ้น เพราะผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ใช่ยา ไม่สามารถอวดอ้างรักษาโรคได้


ในส่วนของผลิตภัณฑ์ยา พบโฆษณาทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในลักษณะทำให้หายใจสะดวกขึ้น หลับลึกเสียงนอนกรนลดลง โดยมีผู้ดำเนินรายการและผู้ร่วม รายการพูดคุยกัน ซึ่งเป็นการขายยาโดยแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ มีการรับรองหรือ ยกย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น มีการโฆษณาสรรพคุณบำรุงหัวใจ ปอด สมอง และรักษาโรคมะเร็ง เบาหวาน โรคตับ โรคไต เป็นต้น ซึ่งเป็นการขายยาโดยแสดงสรรพคุณ อันเป็นเท็จ เป็นการโฆษณาขายยาโดยแสดง สรรพคุณยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรืออาการของโรคที่ห้ามโฆษณา


อย่างไรก็ดี ยังพบการนำเข้ายาโดยไม่ผ่านการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านนำเข้า พบการขายยาแผนปัจจุบันไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาตโดยมียาอันตรายไว้เพื่อจำหน่าย อีกทั้งไม่จัดทำ บัญชีการซื้อและขายยา และขายยาอันตราย ในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่


ด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พบการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิต-ภัณฑ์เครื่องสำอาง พบการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง เช่น ช่วยปรับ สีผิวบริเวณหัวนมและปานนมที่ดำคล้ำ ทำให้ ผิวกระจ่างใส ชุ่มชื่นนุ่มเนียน แลดูเป็นสี ชมพูอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยเนรมิตให้คุณ กลับมาสวยอย่างวัยแรกสาวได้อีกครั้ง อ้าง ช่วยลดริ้วรอยแห่งวัยที่สะสมตลอด 1 ปี ได้ภายในเวลา 6 สัปดาห์ เป็นต้น


อย. ได้มีการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด อย่างต่อเนื่อง และหากพบว่ามีการกระทำผิดซ้ำซากก็จะเพิ่มโทษทวีคูณ ทั้งนี้ขอแนะนำผู้บริโภคให้เลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ สุขภาพ อย่างปลอดภัย โดยอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ทุกครั้งและอย่าหลงเชื่อการโฆษณาผลิต-ภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดเกินจริง อาหารไม่ใช่ยาจะต้องไม่โฆษณาในทางยา เช่น ต้องไม่อ้างรักษาโรค หรือลดความอ้วน ส่วนผลิตภัณฑ์ ยาต้องไม่โฆษณาว่าสามารถรักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานอัมพฤกษ์ อัมพาต ให้หายขาด


ทั้งนี้ ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต้อง ไม่โฆษณาว่าสามารถเปลี่ยนสีผิวให้ขาวกว่า ธรรมชาติ ไม่อวดอ้างรักษาสิว แก้ฝ้า และไม่โอ้อวดว่าสามารถขยายทรวงอกได้ ซึ่งหากพบผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย หรือพบการโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร. 1556 เพื่อ อย. จะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป รองเลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด




Credit By :http://www.siamturakij.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น