ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กก.ปฏิรูปกม.บีบ สคบ. แก้ม.54 ตะเพิดใครไม่รับควร ลาออก







388033_481971815153800_1118660345_n (Mobile)


มาตรา 54 กม.ขายตรงพ่นพิษ คณะกก.ปฏิรูปกฎหมาย ยํ้าชัด ต้องปฏิบัติตามกม.รัฐธรรมนูญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากไม่เร่ง ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้อง ต้องพิจารณาตัวเอง สคบ.เครียด หวั่น คดีเก่าที่สู่ศาล ไม่สามารถเรียกความเสียหายคืนประชาชนได้ ล่าสุด เตรียมแก้เกม ขออำนาจศาลคุ้มครองชั่วคราว หวั่น ไซฟ่อนทรัพย์สิน ออกนอกกระเป๋า ยิ่งลักษณ์ หนุนเร่งแก้กม. หวั่นธุรกิจสีเทาระบาด เต็มเมือง

สคบ.รับหนักใจทำคดีขายตรง เหตุกม.เปิดช่องทำลายหลักฐาน

ดร.สุทธิศักดิ์ ภัทรมานะวงศ์ รอง เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่าผลจาก คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณี มาตรา 54 พรบ.ขายตรงและ การตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 ที่ ขัดกับหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรค 2 ยอมรับว่าเป็น อุปสรรคต่อการบังคับใช้กฎหมาย คอ่นข้างมาก เนื่องจากผู้ต้องหาที่ ถูกดำเนินคดี สามารถใช้ช่องทาง ดังกล่าวมาเป็นแนวทางการต่อสู้ ทำให้การดำเนินคดีไม่สามารถไป สู่การสิ้นสุดของคดีได้

นอกจากนี้ ในการดำเนิน คดีกับผู้ต้องหา ก็จะต้องหาหลัก ฐานพยานให้เพียบพร้อมสมบูรณ์ เนื่องจากหากคดีไม่สามารถดำเนิน ถึงที่สุดได้ ก็จะถูกนำมาเป็น ประเด็นในการต่อสู้คดี ที่อาจจะ ต้องถูกยกฟ้อง ดังนั้น หากเอาข้อกฎหมาย มาพิจารณาเปรียบเทียบดู จะ เห็นว่า ในมาตรา 54 ของพรบ. ขายตรงฯ ระบุว่า ภาระในการ พิสูจน์ความบริสุทธิ์ เป็นหน้าที่ของ ผู้ถูกกล่าวหา ในการที่จะนำเอา หลักฐานหรือพยานมาหักล้าง แต่ สำหรับกรณีคำวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญ ในมาตรา 39 วรรค 2 มีการระบุว่า ภาระในการพิสูจน์ ความผิดของจำเลยเป็นภาระที่ผู้ที่ ทำหน้าที่โจทก์จะต้องเป็นผู้พิสูจน์ เพราะฉะนั้น ความยากง่าย ในการดำเนินคดี จึงมีความแตก ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ ฝ่ายผู้บังคับใช้กฎหมาย ไม่ว่าจะ เป็นสคบ. เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือดี เอสไอ จะต้องหาหลักฐานพยาน ให้พร้อมมูล ก่อนดำเนินคดี เพื่อ พิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า จำเลยมีการ กระทำความผิดจริง

เรื่องนี้ ทางสคบ.ยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก และ เป็นเรื่องที่น่าหนักใจพอสมควร โดยเฉพาะคดีหลายคดีที่ทางสคบ. ได้ดำเนินคดีไปนั้น ซึ่งล่าสุดก็มี ประมาณ 4-5 คดี ที่มีการร้องทุกข์ กล่าวโทษ ผ่านกระบวนการไปสู่ชั้น ศาลแล้ว โดยหลายรายมีการ อายัดทรัพย์และอายัดตัวผู้ต้องหา เอาไว้ ไม่ให้มีการหลบหนีออกนอก ประเทศ รวมไปถึงการอายัดบัญชี ไม่ให้มีการยักย้ายถ่ายเทเงินออก ไป หากยึดหลักตามคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้ บริสุทธิ์ ก็จะทำให้การดำเนินคดี เป็นไปอย่างล่าช้า โดยเฉพาะคดีที่ เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงประชาชน การหาหลักฐาน มามัดตัวผู้ต้องหา ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถ้าหากมีการ ไหวตัวเสียก่อน เขาก็จะมีการ ทำลายหลักฐาน หรือ มีการนำเอา ทรัพย์สินเคลื่อนย้ายออกไปเสีย ก่อนหรือแม้กระทั่งตัวผู้ต้องหา เอง ก็อาจจะมีการหลบหนีออก นอกประเทศ ซึ่งกรณีเช่นนี้ ก็เคยมี มาแล้วในอดีต ที่แชร์ล้ม ก็หนีออก นอกประเทศ เมื่อคดีหมดอายุ ความก็กลับมา โดยไม่ต้องรับผิด แต่อย่างใด รองเลขาธิการสคบ.ฝ่าย กฎหมาย กล่าวกับตลาดวิเคราะห์ พร้อมกับกล่าวว่า หากแนวทาง การดำ เนินการทางกฎหมาย เปลี่ยนไป เพราะรูปแบบการ ดำเนินธุรกิจ แม้จะมีการพิสูจน์ ต่อศาลได้ว่า มีการกระทำที่ผิด กฎหมาย แต่ตัวบุคคลที่กระทำ ผิดกลับสามารถหนีเอาตัวรอดได้ เข้าทำนอง ล้มบนฟูก

สุดท้ายปัญหาก็จะตกอยู่ กับประชาชน ที่ได้รับความเสียหาย เพราะกฎหมายขายตรง มีความ เกี่ยวพันกับกฎหมายหลายฉบับ ไม่ ว่าจะเป็นกฎหมายอาญา หรือกฎ หมาย พ.ร.บ.การฉ้อโกงประชาชน ซึ่งถ้าหากผู้ที่ได้รับความเสียหาย ไม่ได้รับการชดใช้ความเสียหาย การดำเนินคดีก็เท่ากับว่า ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย สิ่งที่สคบ.ทำได้ คงเพียงแค่การหยุดการกระ ทำความผิดของผู้ประกอบการที่ ปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายเท่านั้น ความรับผิดชอบต่อความเสียหาย คงยากที่จะเข้าไปเยียวยาได้

ตั้งคณาจารย์ ม.เกษตรสังคายนา ยิ่งลักษณ์หนุนรื้อกม.ทั้งระบบ

จากการเปิดเผยของแหล่ง ข่าวในสำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผย ว่า การเดินหน้าแก้กฎหมายขาย ตรงและการตลาดแบบตรง ปี 2545 กำลังอยู่ในระหว่างการ ศึกษาเพื่อหาข้อสรุปในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่ ผ่านมา มีการเสนอจากทางสมาคม ผู้ประกอบการขายตรง ที่จะให้มี การแก้ไขกฎหมายบางหมวดบาง มาตรา ที่ยังไม่มีความชัดเจน เริ่ม ตั้งแต่ การทำธุรกิจขายตรงและการ ตลาดแบบตรง ที่สมควรจะต้องมี การแบ่งแยกกันให้ชัดว่า ธุรกิจ ประเภทใดควรอยู่ในกลุ่มใด

นอกจากนี้ ในด้านของ โครงสร้างธุรกิจขายตรง ก็ยังมี กฎหมายที่ไม่มีการระบุประเภท สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ว่าสินค้า ประเภทใดควรเข้ามาทำธุรกิจขาย ตรงได้หรือไม่ รวมไปถึงมาตรฐานของนัก ธุรกิจเครือข่ายหรือ ตัวแทน ที่ยัง ไม่มีการออกใบอนุญาตจากหน่วย งานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้ธุรกิจมี ความน่าเชื่อถือ และเป็นการ ป้องกันตัวแทนนอกระบบเข้ามา หลอกลวงประชาชน

ประการต่อมา ก็คือ การ กำกับดูแลธุรกิจขายตรง ยังคงอยู่ ในความดูแลของ สคบ. ซึ่งเป็น หน่วยงานที่มีความรับผิดชอบสูง ต่อประชาชน ทำให้ธุรกิจขายตรง ขาดบุคลากร และหน่วยงานที่ทำ หน้าที่ดูแลเป็นการเฉพาะมากำกับ ดูแล ซึ่งจากกระแสข่าว ที่มีการ เสนอผ่านมายังฝ่ายการเมือง ระบุ ว่า ทาง สคบ.จะมีการเสนอให้มี การตั้งหน่วยงานเทียบเท่ากับกรม เข้ามาทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจ ขายตรง โดยจะต้องมีกฎหมาย เฉพาะมารองรับ เนื่องจากผู้ ประกอบการมีจำนวนมาก รวมไป ถึงธุรกิจขายตรง ก็เติบโตมากขึ้น โดยมียอดการซื้อขายสินค้าเกือบ 1 แสนล้านบาท แหล่งข่าวเปิดเผยว่า แนวทางในการแก้ไขกฎหมาย กำลังอยู่ในระหว่างการทำประชา พิจารณ์ระหว่างผู้ประกอบการด้วย กัน เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐาน ธุรกิจขายตรงให้ชัดเจน ประกอบกับทางสคบ.เอง ก็ได้มีการแต่งตั้งคณาจารย์ผู้ เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เข้ามาศึกษา กฎหมายขายตรงทั้งระบบ เพื่อ เสนอร่างเป็นพ.ร.บ.ฉบับใหม่ โดย คาดว่าภายในปีนี้ จะแล้วเสร็จ

ทั้งนี้จากการเปิดเผยของ แหล่งข่าวใกล้ชิด เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายก รัฐมนตรี ได้รับทราบปัญหาดัง กล่าว และจะให้การสนับสนุนการ แก้ไขกม.ขายตรงเพื่อให้ สอดคล้อง กับสถานการณ์ รวมทั้งเพื่อเป็น การรองรับการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นี้ สำหรับประเด็นเรื่อง การ ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับ มติของตุลาการรัฐธรรมนูญ ใน ประเด็นเรื่องมาตรา 54 นั้น แหล่ง ข่าวจาก สคบ.เปิดเผยว่า ก็คง จะต้องมีการหารือเพื่อนำไปสู่ กระบวนการแก้ไขกฎหมาย พร้อม ๆ กันด้วย เนื่องจากเป็น ประเด็นที่มีความสำคัญต่อการ สร้างมาตรฐานที่ดีของธุรกิจ ขายตรง รวมทั้งจะต้องหามาตรการ ทางกฎหมายเข้ามารองรับ เพื่อ รักษาผลประโยชน์ของประชาชน กรณีที่ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจ โดยมิชอบเอารัดเอาเปรียบฉ้อโกง

เตรียมแผนแก้เกมแชร์เถื่อน ขออำนาจศาลคุ้มครองชั่วคราว

เจตนารมณ์ ที่กฎหมาย ขายตรง เขียนเอาไว้ในลักษณะดัง กล่าว ประการแรก ก็เพื่อเป็นการ หยุดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับ ประชาชน ประการที่สอง ก็เพื่อที่ จะให้ผู้กระทำความผิดรับผิดชอบ ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น โดย จำ เป็นจะต้องมีกระบวนการ ควบคุมการเคลื่อนย้ายทรัพย์สิน เพื่อนำ มาชดใช้แก่ผู้เสียหาย ประการที่สาม นิติบุคคล เป็นสิ่งที่ สมมุติก็จริงอยู่แต่หากไม่มีบุคคล เข้ามาดำเนินการก็ไม่สามารถที่จะ กระทำความผิดได้ ดังนั้น การ กำหนดให้ผู้ที่ถูกกล่าวหา มีภาระ ในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของ ตนเอง ก็เป็นสิงที่ไม่น่าจะขัดกับ นิติธรรม เนื่องจากในกระบวนการ ยุติธรรม ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหา สามารถต่อสู้ได้ถึง 3 ศาล ซึ่งหาก ไม่มีความผิด ก็สามารถกลับไป ดำเนินธุรกิจได้เหมือนเดิม แหล่ง ข่าวในทำเนียบ เปิดเผย กับ ตลาด วิเคราะห์

พร้อมกับกล่าวเสริมอีกว่า ปัญหาของการบังคับใช้กฎหมาย ก็คงต้องกลับมาทบทวนในข้อ กฎหมายต่าง ว่าจะต้องดำเนินการ อย่างไรต่อไป โดยเฉพาะ สคบ. คงจะต้องไปดูในข้อกฎหมายอื่น ๆ เข้ามาสนับสนุน ซึ่งเท่าที่ศึกษาดูก็ มีความเป็นไปได้ ที่การดำเนินคดี แก่ผู้ต้องหา อาจจะต้องขออำนาจ ศาลคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งอันนี้คีอสิ่ง ที่ทางสคบ.กำลังศึกษาดูในข้อ กฎหมายดังกล่าวอยู่ว่าจะขัดกับ หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะถ้าหาก ไม่มีการอายัดตัว หรือทรัพย์สินเอาไว้ ก็เท่ากับว่า เป็นการสูญเปล่า

สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ในเวลานี้ นอกเหนือจากการปัญหาที่เกิดขึ้น อยู่กับผู้บังคับใช้กฎหมายแล้วหาก แต่ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ ความเชื่อมั่นในธุรกิจขายตรง และ การตลาดแบบตรง เนื่องจากกลุ่ม ผู้ประกอบการที่ยึดแนวทางการทำ ธุรกิจที่เรียกว่า ธุรกิจขายตรงสี ขาว ต่างวิตกกังวลว่า หากการทำ ธุรกิจในลักษณะที่เรียกว่า ธุรกิจ ขายตรงสีเทาทำผิดกฎหมาย แต่ กฎหมายไม่สามารถเอาผิดเอาโทษ ได้ ต่อไปก็คงไม่อยากจะมาทำ ธุรกิจในลักษณะ สีขาว เพราะ การทำธุรกิจขายตรง ถ้าทำตาม หลักที่ถูกต้อง ต้องใช้เงินลงทุน จำนวนมาก ต้องมีการศึกษา วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาด ต้องมีการค้นคว้าวิจัย เพื่อตอบ สนองความต้องการของผู้บริโภค ต้องปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานขายตรง ที่เป็นไปตามหลักสากล

แต่หากถ้านำไปเปรียบ เทียบกับธุรกิจขายตรงสีเทา จะเห็น ได้ชัดเจนว่า ธุรกิจขายตรงสีเทา ไม่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาตัวสินค้า เพื่อตอบสนองผู้บริโภคเป็นหลัก หากแต่มุ่งเน้นการหยิบยื่นผล ประโยชน์ให้แก่สมาชิกที่เข้ามาทำ ธุรกิจเป็นหลักมากกว่า ซึ่งการให้ ผลประโยชน์เพื่อมุ่งเน้นการระดม ทุน จะทำให้คนทำเครือข่ายส่วน หนึ่งที่ไม่เข้าใจ และมีความโลภ จะหันไปไปสู่ธุรกิจขายตรงสีเทา มากขึ้น

ที่ผ่านมา การทำธุรกิจขาย ตรง จะต้องมีกระบวนการอบรม เทรนนิ่ง เพื่อพัฒนาตัวแทนให้มี ศักยภาพ รวมทั้งจะต้องมีการสร้าง เครือข่ายที่ต้องใช้เวลาในการสร้าง องค์กรขึ้นมา ซึ่งเรื่องนี้ คนที่ทำ ธุรกิจขายตรง ย่อมเข้าใจดีว่า กว่า จะสร้างกิจการให้เติบใหญ่ขึ้นมา ต้องใช้เวลามากพอสมควร แต่ทุก วันนี้ จะเห็นได้ชัดว่า มีกิจการธุรกิจ ขายตรงหลายแห่ง ฝ่าฝืนกฎหมาย ประกาศตนเองว่าทำธุรกิจขายตรง แต่ไม่ยอมรับที่จะเข้ามาสู่กติกา ของการทำธุรกิจขายตรง มีการ หลบเลี่ยงข้อกฎหมาย อาศัยการ โฆษณาชวนเชื่อเป็นเครื่องมือ ซึ่ง ถ้าหากกฎหมายอ่อนแอ ก็เท่ากับว่าเป็นการสนับสนุนให้กิจการเหล่า นี้เติบใหญ่ขึ้นมา โดยเฉพาะในโซ เชี่ยลเน็ตเวิร์ค มีการทำตลาดที่ เรียกว่า ตลาดออนไลน์กันอย่าง มหาศาล และก็มีจำนวนไม่น้อยที่ สินค้าไม่มีมาตรฐาน แต่ก็สมอ้าง ว่าได้รับมาตรฐานจากหน่วยงาน รัฐ แม้แต่กรณีใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจขายตรงและการตลาดแบบ ตรง ก็ยังมีการสมอ้างกันอย่างเปิด เผย แหล่งข่าวในวงการธุรกิจขาย ตรง กล่าวกับ ตลาดวิเคราะห์

พร้อมกันนี้ยังเปิดเผยอีกว่า ไม่เพียงแต่เฉพาะกฎหมายขายตรง ที่อาจจะมีผลกระทบในการบังคับ ใช้กฎหมาย กรณีของกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา ซึ่งทำงานเป็นคู่ขนานกับ สคบ. ก็ยังมีแนวโน้มว่าจะต้องได้ รับผลกระทบจากคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญเช่นกัน เพียงแต่ ผู้ที่ถูกดำเนินคดียังไม่ได้มีการนำ เรื่องเข้าสู่การพิจารณาจากศาล รัฐธรรมนูญ ยกตัวอย่าง กรณีผลิตภัณฑ์ สินค้าบางประเภทที่มีการห้ามนำ มาจำหน่าย หรือถ้าจะจำหน่ายก็ ต้องได้รับการอนุญาตจากอย.ก่อน ก็ยังมีการฝ่าฝืน ซึ่งถ้าหากยึดเอา มาตรฐานของศาลรัฐธรรมนูญมา เป็นบรรทัดฐาน ก็อาจจะทำให้ผู้ ประกอบการ ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย สามารถที่จะจำ หน่ายสินค้า แสวงหาประโยชน์เข้ากระเป๋าตัว เองได้ เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหา จะ ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า คือผู้ บริสุทธิ์ หากกฎหมายที่บังคับใช้ขัด กับกม.รัฐธรรมนูญ ก็อาจจะทำให้ จำเลยหลุดพ้นคดีได้

กรรมการปฏิรูปกม.อัดซํ้า ใครไม่แก้กม.สมควรลาออก

ในการพิจารณาคดีอาญา มีการตั้งข้อสังเกตว่า การพิจารณา ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายขาย ตรง ปีพ.ศ.2545 เป็นการพิจารณา ในลักษณะที่ผู้ต้องหาเป็นอาชญา กรทางเศรษฐกิจ มิได้เป็นอาชญา กรที่ก่อความรุนแรงในเชิงประทุษ ร้ายในชีวิตและทรัพย์สิน เหมือน กับการปล้น จี้ ฆ่าชิงทรัพย์ ซึ่ง มาตรการในการบังคับใช้กฎหมาย จำเป็นจะต้องมีความรัดกุมเพื่อ เป็นการปกป้องผลประโยชน์แก่ ผู้เสียหาย หากมองอาชญากร เศรษฐกิจเหมือนกับอาชญากร ทั่วไป ก็จะทำให้กฎหมายยากที่จะ เอื้อมไปถึงแหล่งเงินของผู้ต้อง สงสัยได้

นายจรัล ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้ความ เห็นว่า การเอาผิดต่ออาชญากรรม ทางเศรษฐกิจลักษณะนี้ทำได้ยาก เพราะกฎหมายยังไม่สามารถ เอาผิดหรือสาวไปยังตัวการที่อยู่ เบื้องหลังได้ เนื่องจากมีการตั้ง ตัวแทนหรือนอมินีเข้าไปเป็น กรรมการบริษัทแชร์ลูกโซ่หรือ ปล่อยเงินกู้ แต่เชื่อว่าหน่วยงาน ต่าง ๆ จะได้นำเอาประเด็นความ เห็นจากการหารือทางวิชาการนี้ ไป ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันความผิดลักษณะนี้ไม่ ให้เกิดในอนาคต

ด้านนายอุดมศักดิ์ นิติ มนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ใน ฐานะเสียงข้างน้อย ให้ความถึง กรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรม นูญจะส่งผลกระทบต่อกฎหมาย ขายตรง และกฎหมายอื่นอีกกว่า 100 ฉบับว่า เรื่องนี้ตนเห็นด้วยใน หลักการที่กฎหมายนั้นมีการ สันนิษฐานความผิดนั้นไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญ ส่วนประเด็นเรื่องการนำ เอาข้อวินิจฉัยมาบัญญัติไว้ใน กฎหมายกว่า 100 ฉบับ เพื่อเป็นข้อ ผูกพันกับทุกกฎหมายด้วยหรือไม่ ตนเห็นว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ ควรผูกพันทุกกฎหมาย แต่ต้อง วินิจฉัยเป็นรายฉบับไป ซึ่งการ สันนิษฐานดังกล่าวเป็นการวินิจฉัย ข้อเท็จจริง ไม่ใช่สันนิษฐานความ ผิด เพราะกฎหมายได้บัญญัติไว้แล้วว่า หากผู้กระทำความผิดนั้น พิสูจน์ได้ว่าไม่ได้มีความผิด คือ การพิสูจน์เจตนา การกระทำ หรือ ข้อเท็จจริง ซึ่งกฎหมายได้ให้ โอกาสพิสูจน์ความผิดได้ ผมเห็นว่าเมื่อพิสูจน์ความ ผิดได้ ก็จะไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเห็นว่าไม่ได้เป็นการผลักภาระ การพิสูจน์ แต่กฎหมายได้บัญญัติ การพิสูจน์ไว้แล้ว จึงเป็นการ สันนิษฐานข้อเท็จจริง ไม่ได้ สันนิษฐานความเห็น กฎหมาย ฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายของผุ้ที่มี ความรู้และอาศัยความไม่รู้เอา เปรียบประชาชน ซึ่งประชาชนคน ไทยรู้ไม่เท่าทันอาชญากรรมเหล่า นี้ รัฐบาลต้องปกป้องประชาชน และเอาผิดผู้กระทำความผิด แต่ถ้า หากรัฐปกป้องเอาผิดกับผู้กระทำ ผิด โดยไม่คำนึงถึงประชาชนส่วน ใหญ่จะเป็นกฎหมายที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักนิติธรรม นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะเสียงข้างน้อย กล่าวยํ้าอีก ครั้ง

ขณะที่นายเฉลิมพล เอกอุรุ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีกท่าน หนึ่ง ให้ความเห็นว่า หลักนิติธรรม ของหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อ สันนิษฐานความผิดทางอาญาของ ผู้บริสุทธิ์เป็นหลักกฎหมายวิธีการ พิจารณาตามหลักสากลที่หลาย ประเทศล้วนยึดถือ โดยใน ประเทศไทยก็รับเอามาใช้เป็นระยะ เวลาช้านาน ซึ่งมีปรากฏอยู่ใน รัฐธรรมนูญหลายฉบับ รวมทั้ง รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 39 วรรค 2 ที่ระบุว่า.....ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา หรือจำเลยไม่มีความผิด ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของหลักนิติธรรม ทั้งนี้สำ หรับประเทศที่ ยึดหลักนิติธรรมและนิติรัฐก็ จะมีองค์ประกอบข้อนี้อยู่ด้วยเพื่อ เป็นหลักว่าด้วยการพิจารณาคดี อาญาจะต้องมีการสันนิษฐานก่อน ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไมมี่ความผิด เมื่อมีการพิจารณาใช้กับ พระราชบัญญัติที่ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย คือ พ.ร.บ.ขายตรง และการ ตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 แต่ ประเด็นอยู่ที่ว่าถ้อยคำที่บัญญัติ เอาไว้ในพ.ร.บ.ดังกล่าวนั้นเป็นการ ขัดกับหลักสันนิษฐานความเป็นผู้ บริสุทธิ์ของจำเลยหรือไม่

ในมาตรา 54 บัญญัติว่า กรณีที่ผู้กระทำผิดที่เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใด ที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของ นิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตาม กฎหมายระบุไว้ด้วย เว้นเสียแต่จะ พิสูจน์ได้ว่า ไม่มีส่วนกระทำผิดของ นิติบุคคลนั้น ตรงนี้ที่บอกว่าให้กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลใด รับผิดตามที่ กฎหมายระบุไว้ เสียงส่วนมากเห็น ว่า เป็นการขัดกับหลักนิติธรรม หากถามว่า กฎหมายที่บัญญัติเช่น นี้ ประเทศอื่นก็มีเช่นกัน ที่เห็น ชัดเจน ก็คือ ออสเตรเลีย ที่มี บทบัญญัติในลักษณะนี้ ฉะนั้นกรณีของไทย ถ้า เพียงแต่เพียงว่า กรณีที่ผู้กระทำ ผิดต้องรับโทษเป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดที่ รับผิดในการดำ เนินงานของ นิติบุคคลมีส่วนร่วมในการกระทำ ผิดต้องรับผิดด้วย เหตุผลนี้คงพอ ไปได้ แต่การที่สันนิษฐานไปก่อน ล่วงหน้านั้น เป็นการผลักภาระให้ จำเลยหรือผู้บริสุทธิ์ จึงเห็นว่าขัด ต่อหลักดังกล่าวแน่นอน ด้านนายกำชัย จงจักรพันธ์ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าในมาตรา 54 ของพ.ร.บ.ขายตรง และการตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะ นำมาเป็นบรรทัดฐาน โดยจะต้อง มีการประกาศให้ประชาชนรับ ทราบ

แต่ในฐานะที่ตนเป็น กรรมการปฏิรูปกฎหมาย เห็นว่า กฎหมายกว่า 100 ฉบับ ที่อาจเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ขายตรง ฯ นั้น เป็น หน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะ ต้องไปแก้ไขให้สอดคล้องตามคำ วินิจฉัย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา แต่ถ้า หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สนใจ ดำเนินการแก้ไข ก็ควรจะต้อง พิจารณาตัวเองว่าสมควรที่จะอยู่ ต่อไปหรือไม่ อย่างไรก็ดี ในคำเสนอแนะ ท้ายคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรม นูญ ได้มีการระบุว่า กฎหมายที่ ควบคุมการประกอบอาชีพ-ธุรกิจ ภายใต้ระบบอนุมัติอนุญาตทุก ฉบับที่มีบทบัญญัติในลักษณะนี้ ....ในคดีที่ค้างคาอยู่และคดีที่ถึงที่ สุดไปแล้ว ซึ่งตัดสินความผิดตาม กฎหมายต่าง ๆ โดยอาศัยบท บัญญัติในลักษณะข้างต้น คงต้อง อาศัยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรค 2 ยกเป็น ข้อต่อสู้ แต่ทั้งนี้ เนื่องจากศาล รัฐธรรมนูญยังมิได้มีคำวิจฉัยว่า มาตรา.....แห่งพ.ร.บ....ต่าง ๆ ที่ยก มาเป็นตัวอย่าง ขัดหรือแย้งกับ รัฐธรรมนูญ เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ ณ วันนี้ คงต้องหาช่องทาง เสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 211,245 (1),257 (2) หรือท้ายที่สุดมาตรา 212 เสียก่อน พร้อมเสนอให้ผู้ตรวจการ แผ่นดิน รวบรวมรายชื่อกฎหมาย และมาตราที่เกี่ยวข้อง มารวมเป็น คำร้องตามมาตรา 245 (1) เสนอ ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ทุกอย่างจะ ได้ชัดเจนเสร็จสิ้นในคราวเดียว

ที่น่าสนใจ ก็คือ เมื่อคำร้อง ไปยังศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้ง คำ วินิจฉัยจะมีมติออกมา 5 ต่อ 4 เหมือนกับ พ.ร.บ.ขายตรงและการ ตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 หรือไม่ นี่คือสิ่งที่หลายฝ่ายกังวลกัน





ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ.ตลาดวิเคราะห์ ฉบับที่ 345 ประจำวันที่ 1-15 มิถุนายน 2556




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น