ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ธุรกิจขายตรงเต้นผาง!สธ.สั่งยกเลิกยาสามัญประจำบ้าน







n2_6 (Mobile)


ธุรกิจขายตรงร้อนฉ่า!! หลัง สธ. ซุ่มเงียบ!! ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ยกเลิกยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ พ.ศ. 2542 ด้านวงใน อย. เผย เหตุ สธ. ออกประกาศยกเลิก เพราะต้องการสกัดธุรกิจขายตรงที่มักอวดอ้างและโฆษณาสรรพคุณเกินจริง หวั่นกระทบผู้บริโภค เตือนหากผู้ผลิตไม่ทำตามเตรียมลงดาบทันที


แหล่งข่าววงในจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่าเมื่อเดือนมกราคม 2556 ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกประกาศกระทรวงฯ เพื่อยกเลิกยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจขายตรงบ้าง เนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายรายได้ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เป็นยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งสาเหตุที่ สธ. ออกประกาศกระทรวงดังกล่าวออกมา เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคว่า มีบริษัทขายตรงบางรายโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงโดยเฉพาะการโฆษณาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต


การออกประกาศกระทรวงฯ ออกมามีผลต่อบริษัทขายตรง ถ้าเขาขึ้นทะเบียนเป็นยาสามัญ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถบอกสรรพคุณได้เหมือนเดิม แต่จะไม่ใช่เป็นยาสามัญประจำบ้าน และหากผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบที่ประกาศกระทรวงกำหนดไว้ทางภาครัฐก็จะสั่งดำเนินการตามกฎหมายทันที อย่างไรก็ตามการออกประกาศนี้มาจริงๆ แล้วออกมาเพื่อต้องการควบคุมผู้ประกอบการ ที่มักจะชอบอวดอ้างสรรพคุณที่เกินความจริง


จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า ประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่องการยกเลิกยาสามัญประจำบ้าน แผนโบราณ พ.ศ. 2542 อาจจะส่งผลกระทบกับบริษัท ขายตรงหลายแห่ง ซึ่งมีไลน์ผลิตสินค้าบางส่วนเป็นยา สามัญประจำบ้านแผนโบราณ


รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยาสามัญประจำ บ้านแผนโบราณ พ.ศ. 2556 เล่ม 130 ตอนพิเศษ 21 ง ตามราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 จำนวน 11 ข้อ รายละเอียดระบุว่า โดยที่เป็นการสมควร ปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยาสามัญ ประจำบ้านแผนโบราณให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ ทางการแพทย์และการสาธารณสุขในปัจจุบัน


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 76 (5) (7) (8) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการ จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล


ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะ-กรรมการยา จึงออก ประกาศไว้ดังต่อไปนี้


ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2542 ข้อ 2 ให้ยาแผนโบราณตามตำรับยาที่มีตัวยาสำคัญ ตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัว ดังต่อไปนี้ เป็นยาสามัญประจำ- บ้าน (1) ยาขับลม (2) ยาถ่าย หรือยาระบาย (3) ยาแก้ ท้องเสีย (4) ยาแก้ไข้ (5) ยาแก้ร้อนใน (6) ยาบรรเทาหัด อีสุกอีใส (7) ยาแก้ลมวิงเวียน (8) ยาแก้ไอ ขับเสมหะ (9) ยากษัยเส้น หรือยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย (ยา สำหรับใช้รับประทาน) (10) ยาทาบรรเทาอาการปวดเมื่อย (ยาสำหรับใช้ภายนอก) (11) ยาบรรเทาริดสีดวงทวารหนัก (12) ยาถ่ายพยาธิตัวกลม (13) ยาบรรเทาอาการผื่นคัน ตามผิวหนัง (ยาสำหรับใช้รับประทาน)


(14) ยาบรรเทาอาการผื่นคันตามผิวหนัง (ยา สำหรับใช้ภายนอก) (15) ยาแก้กลากเกลื้อน (ยาสำหรับ ใช้ภายนอก) (16) ยาแก้หิด (ยาสำหรับใช้ภายนอก) (17) ยาบรรเทาฝีแผล (ยาสำหรับใช้ภายนอก) (18) ยาทาแผล ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ยาสำหรับใช้ภายนอก) (19) ยาทา บรรเทาอาการแมลงกัดต่อย (ยาสำหรับใช้ภายนอก)


(20) ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ (21) ยาทาแก้ลิ้น เป็นฝ้า และ (22) ยาทา หรือดมบรรเทาอาการคัดจมูก เนื่องจากหวัด โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)


ข้อ 3 ตำรับยาสามัญประจำบ้านตามข้อ 2 ต้อง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 3.1 ตำรับยาจะต้องมีตัวยาตรงตามที่ระบุไว้ใน ประกาศไม่น้อยกว่า 3 ชนิด ยกเว้นตำรับยากลุ่มยาทา บรรเทาอาการแมลงกัดต่อย ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาทาแก้ลิ้นเป็นฝ้า ที่อาจมีตัวยาตรงได้ไม่น้อยกว่า 1 ชนิด และอาจมีตัวยาช่วยได้ แต่ต้องเป็นตัวยาช่วยที่อยู่ในกลุ่ม ยาเดียวกับตัวยาตรงที่ระบุไว้ในประกาศนี้ และชนิดของ ตัวยาตรงรวมกับตัวยาช่วยในตำรับจะต้องมีไม่น้อยกว่า ร้อยละห้าสิบของตำรับที่ระบุไว้ในประกาศ ยกเว้นตำรับ ยาเดี่ยวที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเท่านั้น 3.2 สูตรตำรับอาจมีส่วนประกอบอื่นที่ไม่ใช่ ตัวยาตรงหรือตัวยาช่วยได้ เช่น วัตถุกันเสีย วัตถุแต่งสี กลิ่น รส เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักวิชาการเภสัชกรรม ที่เหมาะสม


ข้อ 4 ให้ตำรับยาแผนโบราณซึ่งมี ชื่อ ส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน คำเตือน และขนาด บรรจุ ต่อไปนี้เป็นยาสามัญประจำบ้าน (1) ยาประสะ- กะเพรา (2) ยาวิสัมพยาใหญ่ (3) ยาประสะกานพลู (4) ยา แสงหมึก (5) ยามันทธาตุ (6) ยาประสะเจตพังคี (7) ยา มหาจักรใหญ่ (8) ยาตรีหอม (9) ยาธรณีสันฑะฆาต (10) ยาถ่าย (11) ยาเหลืองปิดสมุทร


(12) ยาธาตุบรรจบ (13) ยาจันทน์ลีลา (14) ยา ประสะจันทน์แดง (15) ยาเขียวหอม (16) ยามหานิลแท่ง ทอง (17) ยาหอมเทพจิตร (18) ยาหอมทิพโอสถ (19) ยาหอมอินทจักร์ (20) ยาหอมนวโกฐ (21) ยาอำ- มฤควาที (22) ยาประสะมะแว้ง (23) ยาประสะไพล (24) ยาประสะเปราะใหญ่ ข้อ 5 ตำรับยาสามัญประจำบ้านตามข้อ 2 มี สรรพคุณได้เพียงกลุ่มเดียว ยกเว้น ยากลุ่มที่ 4 ยาแก้ไข้ อาจรวมกับยากลุ่มที่ 5 ยาแก้ร้อนใน โดยมีสูตรส่วน ประกอบเป็นไปตามข้อ 3


ข้อ 6 ฉลากยาสามัญประจำบ้านตามประกาศนี้ ต้องแสดงข้อความดังต่อไปนี้ 6.1 ชื่อยาตามที่ระบุในประกาศ ในกรณีเป็น ตำรับยาที่มีการกำหนดชื่อยาไว้ในประกาศฉบับนี้ กรณี มีชื่อทางการค้า ให้แสดงชื่อยาตามประกาศควบคู่กับ ชื่อทางการค้าโดยใช้ตัวอักษรที่มีขนาดเท่ากัน 6.2 คำว่า ยาสามัญประจำบ้าน ในกรอบสีเขียวมีขนาดตัวอักษรที่สามารถอ่านได้ชัดเจน 6.3 คำว่า สิ้นอายุ และแสดงวันเดือนปีที่ยา สิ้นอายุ ให้ยาสามัญประจำบ้านตามประกาศฉบับนี้มีอายุ การใช้ของยานับจากวันที่ผลิตได้ไม่เกิน 2 ปี สำหรับยาน้ำ และไม่เกิน 3 ปี สำหรับยารูปแบบอื่น 6.4 ข้อความอื่นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 57 (2) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 แล้วแต่ กรณี ข้อ 7 ให้ยาสามัญประจำบ้านตามประกาศฉบับ ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ของประกาศฉบับนี้ยังคงเป็นยาสามัญประจำบ้าน ต่อไป


ข้อ 8 ให้ยาสามัญประจำบ้านตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 ที่ผลิตขึ้นก่อน ประกาศนี้มีผลบังคับและไม่ได้เป็นยาสามัญประจำบ้าน ตามประกาศนี้ เป็นยาสามัญประจำบ้านต่อไปอีก 365 วัน นับถัดจากวันประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดเวลา ดังกล่าวแล้วให้ยานั้นเป็นยาแผนโบราณ ข้อ 9 ยาสามัญประจำบ้านที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ที่ผลิตขึ้นก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และต้องมีการแก้ไข รายละเอียดให้เป็นไปตามประกาศนี้ เป็นยาสามัญประจำ บ้านต่อไปได้อีก 365 วัน นับถัดจากวันประกาศนี้มีผลใช้ บังคับ โดยผู้รับอนุญาตจะต้องยื่นคำขอแก้ไขต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ยานั้นเป็นยาแผนโบราณ ข้อ 10 ยาสามัญประจำบ้าน ตามข้อ 9 ที่ผู้รับ อนุญาตได้ยื่นคำขอแก้ไขแล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาแล้วไม่เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ พนักงานเจ้า หน้าที่จะมีคำสั่งไม่รับยานั้น เป็นยาสามัญประจำบ้าน ก่อนพ้นกำหนดเวลาตามข้อ 9 ได้


ข้อ 11 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัด จากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 ลงชื่อ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข




ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ.The Power Network ฉบับที่ 224 ประจำวันที่ 1-15 มิถุนายน 2556


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น