ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ขายตรงไทยสบช่องเปิด AEC ซุ่มปูฐานปักธงชิงเค้กก้อนโต







418519 (Mobile)


เหลืออีกเพียง 2 ปี หรือในปี 2558 ประเทศไทยเตรียมตัวจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเป็น ทางการ ขณะที่เอกชนของไทยทุกภาค ส่วนก็พร้อมใจเตรียมรับลูกกันอย่าง เต็มที่ จนทำให้เกิดการตื่นตัวอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจ ขายตรงไทยที่ได้มีการวางแผน เพื่อ ขยายตลาดออกไปยังกลุ่มประเทศ อาเซียนกันอย่างคึกคัก เพราะหลังจาก เปิด AEC จะทำให้มูลค่าตลาดกลุ่ม ประเทศในอาเซียนเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว โดยในปี 2553 ที่ผ่านมามูลค่ารวมของทั้ง 10 ประเทศ สูงถึง 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นอันดับ 9 ของโลก และมีฐานผู้บริโภครวม กันกว่า 590-600 ล้านคน ดังนั้น อีก 2 ปีที่เหลือ เชื่อว่า มูลค่าของตลาดอาเซียนจะเพิ่มสูงขึ้น จนกลายเป็น ขุมทรัพย์ขนาดใหญ่ รอให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจ ขายตรงเข้าไปกอบโกยกัน เปรียบเสมือนเค้กก้อนโตที่รอ ให้คนที่มองเห็นเข้ามาแบ่งไป

ภูสิต เพ็ญศิริ รองประธานศูนย์อาเซียน สมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้ากวางตุ้ง ฮ่องกง และผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการค้าการลงทุนแผนใหม่ หรือ ITDC เปิดเผยถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 ว่า เชื่อว่าเอกชนไทยโดยเฉพาะผู้ประกอบการ ธุรกิจขายตรงไทยน่าจะได้ประโยชน์มากที่สุด เนื่องจาก อาเซียนเป็นตลาดที่ใหญ่มีประชากรรวมกันมากกว่า 500- 600 ล้านคน และกำลังเป็นที่สนใจของนักธุรกิจจากทั่วโลก ให้การจับตามองจนตาเป็นมัน อีกทั้งตลาดอาเซียนอยู่ใกล้ กับไทยมาก ซึ่งกลุ่มประเทศในแถบนี้จะมีวัฒนธรรมใกล้เคียง กัน จึงสามารถเข้าสู่ธุรกิจขายตรงได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น สินค้าส่วนใหญ่ในธุรกิจขายตรงจะมีครอบคลุมทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุปโภค-บริโภค, เสริมอาหาร และสกินแคร์ ถือเป็นสิ่งที่คนในอาเซียนต้องการ

ทั้งนี้หากมอง ถึงข้อเสียของผู้ประกอบการขายตรงไทย ที่ต้องปรับปรุง คือ 1.การรุกตลาดแบบ ไม่ต่อเนื่อง ไม่สม่ำเสมอ เมื่อเทียบกับบริษัท ขายตรงจากต่างประเทศ และการรุกตลาดของผู้ประกอบการขายตรงไทยส่วนใหญ่ จะเป็นแบบวันแมนโชว์ต่างจากขายตรง ต่างประเทศที่จะเน้นการทำงานเป็นทีม 2.ผู้ประกอบการไทย ไม่ได้มีการศึกษาตลาดอย่างจริงจัง มองเห็นแต่เพียงเป็นโอกาส มากเกินไป แต่ไม่สามารถต่อยอดธุรกิจได้ และ 3.ไม่มีความ สอดสัมพันธ์ของสินค้า กล่าวคือ ผู้ประกอบการไทยจะมุ่งเน้น แต่การทำตลาดสินค้าของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งควรที่จะนำสินค้า ในประเทศนั้นๆ มาเชื่อมโยงกันด้วย เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ของตลาดในกลุ่มประเทศแถบนี้

สิ่งที่ผู้ประกอบการขายตรงไทยจะต้องปรับปรุง หลังจากเปิดอาเซียน คือ การเข้าไปทำธุรกิจแบบมืออาชีพ มากกว่านี้ ไม่ใช่ว่าเราเป็นคนไทยจะต้องทำธุรกิจแบบไทยๆ ยกตัวอย่าง บริษัทขายตรงที่มาจากมาเลเซียและเข้ามา ทำตลาดในไทย ส่วนใหญ่ดูไม่ออกเลยว่าเป็นขายตรงที่มาจาก มาเลเซีย เพราะเขาทำธุรกิจแบบอินเตอร์จริงๆ ดังนั้น หาก ผู้ประกอบการไทยต้องการจะแข่งขันกับขายตรงต่างชาติ จึงจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ให้ดูเป็นอินเตอร์ฯ มากยิ่งขึ้น และหากเปิด AEC อย่างเป็นทางการ เชื่อว่าจะ ทำให้มูลค่าตลาดรวมของทั้ง 10 ประเทศ เติบโตมากกว่า 50% จากปัจจุบันที่เติบโตเฉลี่ย 25-30% ต่อปี

สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ชลิต ลิมปนะเวช อุปนายกวิชาการ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า เมื่อเปิด AEC จะเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ดีของธุรกิจขาย ตรงไทย ซึ่งธุรกิจดังกล่าวถือเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ธุรกิจอื่น เพราะไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินทุนมาก เพียงแค่อาศัย การบอกต่อแบบปากต่อปาก โดยส่วนตัวคิดว่าเมื่อเปิด AEC แล้ว มูลค่าทางการตลาดจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 10 เท่าตัวจากมูลค่า เดิมที่ทำธุรกิจเฉพาะภายในประเทศ

แต่การเข้าไปในตลาด AEC ก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับ ผู้ประกอบการไทย เพราะจะต้องการเตรียมความพร้อมให้ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำแผนการฝึกอบรม การทำสื่อมีเดีย ต่างๆ ที่จะต้องมีภาษาท้องถิ่นมารองรับด้วย รวมไปถึงสินค้า จะต้องเป็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพ เพราะขายตรงอาศัยการ ใช้แล้วเห็นผลจริง จึงจะเกิดการบอกต่อ และสิ่งสำคัญ ของผู้ประกอบการไทยหากต้องการจะให้ธุรกิจ เติบโตต้องอย่ากลัวการออกไปทำธุรกิจกับ ต่างประเทศ แต่จงให้มองการทำธุรกิจแบบ ฝรั่งที่กล้าจะออกไปทำธุรกิจกับต่างชาติ

เนื่องจาก AEC เป็นตลาดที่น่าจับตา- มองของนักธุรกิจทั่วทุกมุมโลก ดังนั้น แม้จะยัง ไม่เปิดอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีบริษัทขายตรง ไทยที่เล็งเห็นความสำคัญได้วางแผนเข้าไปรุกตลาด อาเซียนกันล่วงหน้าในหลายประเทศกันแล้ว หากจะ ไล่เรียงมาตั้งแต่ขายตรงเบอร์ 1 สัญชาติไทย 100% อย่าง กิฟฟารีน ที่ซุ่มเตรียมเปิดตลาดขายตรงในย่านอาเซียนในหลาย ประเทศ หลังจากก่อนหน้านี้ได้เข้าไปเปิดตลาดที่ สปป.ลาว, กัมพูชา และมาเลเซีย ล่าสุด เตรียมทุ่มงบลงทุนจำนวนมาก เพื่อเข้าไปปักธงในอินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งการเข้าไป รุกตลาดของค่ายแห่งนี้มีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ การให้ไลเซนซ์ แก่พาร์ตเนอร์ท้องถิ่น และการลงทุนเองทั้งหมด โดยกิฟฟารีน ระบุว่า เมื่อ AEC เปิด บริษัทจะมีรายได้เฉพาะในต่างประเทศ สูงถึง 500 ล้านบาท จาก 200 ล้านบาท ในปัจจุบัน

เช่นเดียวกับค่ายขายตรงพันธุ์ไทยแท้อย่าง นีโอ ไลฟ์ที่ได้วางแผนซุ่มเตรียมยึดหัวหาดตลาดอาเซียนอยู่เนืองๆ หลังจากก่อนหน้านี้ได้เข้าไปปูฐานที่ตลาดกัมพูชา และได้รับ กระแสตอบรับดีเกินคาดจนต้องขยายตลาดเข้าไปที่เวียดนาม นอกจากนั้น นีโอ ไลฟ์ ยังเตรียมแผนจะเข้าไปทำตลาดใน อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และสิงคโปร์ ในอนาคตอันใกล้นี้ พร้อม กับวางแผนร่วมกับ เมก้า ไลฟ์ ซึ่งเป็นโรงงานผู้ผลิตสินค้า ให้กับ นีโอ ไลฟ์ เตรียมเข้าไปเปิดโรงงานในเวียดนาม เพื่อ ผลิตสินค้าป้อนให้กับสาขาประเทศต่างๆ ในอาเซียนด้วย มีการคาดการณ์ว่าหลังจาก นีโอ ไลฟ์ รุกตลาด AEC อย่าง เต็มที่แล้วจะทำให้บริษัทมียอดขายเฉพาะในกลุ่มอาเซียนได้ เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 30% จากยอดขายรวมทั้งหมด

ข้ามฟากมาที่ขายตรงสัญชาติไทย เจ้าของสโลแกน ขายตรงสะดวกซื้อ อย่าง จอย แอนด์ คอยน์ ก็ไม่น้อยหน้า ได้ปูฐานเพื่อบุกตลาดอาเซียน โดยได้มี การศึกษา และทำการบ้านมาเป็นอย่างดี พร้อมทั้งได้วางโมเดลสาขาที่จะเปิดใน AEC เพื่อให้เป็นโมเดลเดียวกัน คือ การ คีย์ออร์เดอร์ที่สมาชิกสามารถทำได้ในทุกที่ ทั่วโลก ซึ่งขณะนี้ จอย แอนด์ คอยน์ ได้เริ่ม เข้าไปทำตลาดแล้วในหลายประเทศ อาทิ สปป.ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และมาเลเซีย

นอกจากบริษัทขายตรงไทยที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีบริษัทขายตรงยักษ์ใหญ่ของไทยอย่าง มิสทิน, คังเซน- เคนโก และเอมสตาร์ ได้เข้าไปยึดหัวหาดในตลาดอาเซียน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมถึงบริษัทขายตรงค่ายขนาดกลาง ของไทยอีกจำนวนมากที่ต้องการจะเข้าไปช่วงชิงส่วนแบ่ง การตลาด ซึ่ง มีหลายค่า ยได้เริ่มเข้าไปทำตลาดบ้างแล้วใน แถบประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น มิลค์กี้ เวย์ อินเตอร์- เนชั่นแนล, รมิตา เฮลธ์แอนด์บิวตี้, ดีไลฟ์ อินเตอร์- เนชั่นแนล และที่ไม่ได้กล่าวถึงอีกหลายบริษัท




ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ.The Power Network ฉบับที่ 223 ประจำวันที่ 16-31 พฤษภาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น