ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กพ. ดับฝันคนเครือข่าย! หั่น กรมขายตรง เหลือแค่ กอง







nws0001889 (Mobile)


ภาพลักษณ์ของธุรกิจขายตรงที่ยังดูคลุมเครือไม่ชัดเจนฝนหลายมิติเป็นอีกหนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ได้พิจารณากลั่นกรองออกมาแล้วว่า... ธุรกิจขายตรงยังไม่ถึงขั้นที่จะต้องจัดตั้งกรมการขายตรงขึ้นมาดูแลเป็นการเฉพาะเหมือนกับธุรกิจประกันชีวิตและประกันภัยที่มีสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มาดูแลในปัจจุบัน อีกทั้งกลับมองว่า ธุรกิจขายตรงก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากธุรกิจเอสเอ็มอี (SME) สักเท่าใดนัก จึงอนุมัติให้จัดตั้งได้แค่ กองขายตรงและให้อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เหมือนเดิมแต่เพิ่มกำลังบุคลากรเป็น 25 ตำแหน่ง จากเดิมที่มีอยู่เพียง 6 เท่านั้น


ฝันของคนขายตรงที่อยากจะเห็น องค์กรอิสระ ที่มีฐานะเทียบเท่ากรมมากับกับดูแลธุรกิจเหมือนกับที่วงการประกันชีวิต ประกันภัยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มาดูแลมีอันต้องพังทลายลงอย่างไม่เป็นท่าเสียแล้ว เมื่อ นายณัชภัทร ขาวแก้ว นิติกรปฏิบัติงานสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งเป็นบุคคลที่คลุกคลีกับวงการขายตรงมาตั้งแต่ปี 2544 และเป็นหนึ่งในบุคคลที่ยื่นนำข้อเสนอข้อมูลให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) พิจารณาเพื่อจัดตั้งกรมการขายตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการขายตรงกว่า 353 รายในปัจจุบันที่ได้เรียกร้องในประเด็นนี้มายาวนานแล้ว ได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในงานแถลงข่าวเปิดตัวสมาคม TDNA และเสวนาชำแหละกฎหมายขายตรงที่จัดโดยสมาคมธุรกิจเครือข่ายขายตรงไทย (TDNA) เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมา โอกาสที่จะมีการจัดตั้งการขายตรงขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลธุรกิจขายตรงเป็นการเฉพาะคงไม่มีอีกต่อไปแล้ว


นายณัชภัทร กล่าวว่า จากการที่ สคบ. ได้มีการรวบรวมข้อมูลของธุรกิจขายตรงในทุกแง่มุมทั้งมูลค่ารวมของธุรกิจที่มีมูลค่าเติบโตแบบต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่มีมูลค่าร่วมแสนบาท มีผู้ร่วมธุรกิจอยู่เป็นจำนวนมากมายกว่า 15 ล้านคนในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการที่เปิดดำเนินธุรกิจประเภทนี้มากกว่า 353 บริษัท เพื่อให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือหรือ ก.พ. พิจารณาถึงการจัดตั้งกรมการขายตรงขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลธุรกิจนี้เป็นการเฉพาะ อีกทั้งยังขอกำลังพล (บุคลากร) เพิ่มขึ้นมาอีก 100 ตำแหน่งเพื่อให้มีกำลังพลพียงพอสำหรับกำกับดูแลและส่งเสริมธุรกิจขายตรงอย่างเต็มตัวเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจนี้ยิ่งๆขึ้นไปในอนาคต


ทั้งนี้จากการพิจารณาของคณะกรรมการก.พ. ได้มีข้อสรุปออกมาอย่างชัดเจนว่า มีมติไม่อนุมัติ (ไม่เห็นด้วย) ให้มีการจัดตั้งกรมการขายตรงตามข้อมูลที่ สคบ. ได้ยื่นนำเสนอไป โดยมติของกรรมการก.พ. ให้เหตุผลว่า ทุกวันนี้รูปแบบของธุรกิจขายตรงยังคงไม่มีความชัดเจนสักเท่าใดนัก อีกทั้งภาพลักษณ์ของธุรกิจนี้มักมีปัญหามาโดยตลอดเฉพาะการหลอกลวงและเอาเปรียบผู้บริโภคซึ่งพบเห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้งและยังมองว่า ธุรกิจขายตรงน่าจะมีความใกล้เคียงกับธุรกิจเอสเอ็มอี (SME) หรือ ธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อมมากกว่า ซึ่งมีลักษณะซื้อมา-ขายไปและให้ผลตอบแทนแก่ผู้ขายเพียงเท่านั้น


... จากที่เราขอไปเป็น กรมการขายตรง แต่มีมติของคณะกรรมการ ก.พ. อนุมัติให้เหลือเพียง กองขายตรง เท่านั้นและยังคงให้กองขายตรงที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่นี้ยังคงขึ้นตรงกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) อยู่เช่นเดิม แต่ได้อนุมัติเพิ่มกำลังพล (บุคลากร) ให้เข้ามาดูแลธุรกิจขายตรงเพิ่มขึ้นมาอีก 25 ตำแหน่งซึ่งถือว่าก็ยังดี.... นิติกรปฏิบัติการสคบ. กล่าว


ในขณะนี้อาจารย์ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้มุมมองว่า ด้วยรูปแบบการดำเนินธุรกิจขายตรงในปัจจุบันบันนั้นเชื่อมั่นว่า บุคลากรระดับปฏิบัติการ ซึ่งหมายถึงบุคลากรของสคบ. ที่คลุกคลีกับธุรกิจนี้มายาวนานมีความเข้าใจดีและรู้จักกับธุรกิจขายตรงอย่างถ่องแท้ แต่ก็มั่นใจอีกว่า บุคลากรระดับดับนโนบาย ซึ่งหมายถึงรัฐมนตรีที่เข้ามากำกับดูแลหน่วยงานนี้รวมถึงคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีอาจจะยังไม่รู้ธุรกิจขายตรงอย่างแท้จริงว่ามีรูปแบบเป็นอย่างไร มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างไร มูลค่าของธุรกิจนี้มีมากน้อยขนาดไหน


และผู้คนในประเทศเข้ามาทำธุรกิจกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลา


ผ.อ. ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ ม.หอการค้า ซึ่งรับหน้าที่ทำการวิจัยธุรกิจขายตรงทุกภาคส่วนจากสมาคมธุรกิจเครือข่ายขายตรงไทย (TDNA) ยังให้ข้อมูลอีกว่าการทำวิจัยภาพรวมของธุรกิจขายตรงทั้งระบบจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ผู้บริหารระดับนโยบายรับรู้เรื่องราวของธุรกิจขายตรงได้มากยิ่งขึ้น และถ้าผลการวิจัยออกมาพบว่าในแต่ละปีธุรกิจขายตรงมีอัตราเติบโตในระดับตัวเลข 2 หลัก ก็เชื่อได้ว่าภาครัฐจะหันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจนี้มากยิ่งขึ้น


ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่า ภาพของธุรกิจขายตรงที่ถูกต้องนั้นผู้คนส่วนใหญ่มักนำไปผูกติดและเหมารวมไปกับธุรกิจที่มีความสุ่มเสี่ยง ล่อแหลม รวมถึงการโอ้อวดสรรพคุณและลงท้ายด้วยการหลอกลวงเสมอ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องแยกแยะให้ผู้คนได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างความถูกต้องและความฉ้อฉลให้ได้ เมื่อถึงเวลานั้นก็จะทำให้ผู้คนเข้าใจธุรกิจมากยิ่งขึ้นว่าอะไรใช่และอะไรไม่ใช่





ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ.Leader Time ฉบับที่ 225 ประจำวันที่ 16-30 มิถุนายน 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น