ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

พญ.นลินี-ภคพรรณ-อิทธิศักดิ์แนะรับมือAEC ชี้!โอกาสธุรกิจทุกประเทศความน่าสนใจต่างกัน








Capture (Mobile)

เปิดมุมมอง 3 แนวคิดแผนตั้งรับตลาดเออีซี...ด้าน พญ.นิลินี ค่าย กิฟฟารีน เชื่อขณะนี้ทุกประเทศ เริ่มพัฒนาธุรกิจบ้างแล้ว พร้อมระบุตลาดประเทศลาวโอกาสธุรกิจขายตรงสดใส...ส่วน ภคพรรณ ค่าย นู สกิน เผยตลาดขายตรงเวียดนามกฎหมายค่อนข้างเข้มงวด ชี้ธุรกิจจะแจ้งเกิดได้ ต้องมีจุดแข็งหลายๆ ด้านที่เพียงพอสนับสนุน...ด้าน อิทธิศักดิ์ แนะวันนี้จุดอ่อนของคนไทยสู่ตลาดอาเซียนเรื่องของภาษาควรให้ความสำคัญ


นับได้ว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี เรียกได้ว่าเริ่มใกล้เข้ามาทุกขณะแล้ว กระแสการตื่นตัวของตลาดเออีซี ก็ยังเป็นที่จับตามองของหลาย ๆ ธุรกิจเช่นเดียวกัน...เช่นเดียวกับทางด้าน ค่าย กิฟฟารีน-นู สกิน-คังเซน เอง ก็ได้ออกมาแสดงความคิดถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 นี้ด้วย


...โดยทางด้าน พญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด ได้ให้ความเห็นว่า วันนี้ หากให้มองถึงการพัฒนาธุรกิจถือว่าเกือบทุกประเทศค่อนข้าง ที่จะตื่นตัวเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้น เพราะฉะนั้นในแง่ของประโยชน์ที่จะได้รับกับเออีซีมากน้อยแค่ไหน อยู่ที่ว่าในแต่ละบริษัทนั้น มีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการรวมตัวตรงนี้ น่าที่จะช่วยให้ภาพรวมของตลาดขายตรงมีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน


เห็นได้อย่างประเทศลาว ที่ทางกิฟฟารีน ได้เข้าไปทำตลาดนั้น พบว่าประเทศดังกล่าวค่อนข้างที่จะมีความเชื่อมั่นในสินค้าของไทยเป็นอย่างมาก ที่สำคัญ ธุรกิจขายตรง ยังถือว่าเป็นธุรกิจที่คนในประเทศลาวค่อนข้างที่จะตื่นเต้นเป็นอย่างมากด้วย โดยประเทศลาวนั้นถือว่ามีข้อดีตรงที่ว่า สามารถพูดภาษาไทยได้ สื่อสารกันรู้เรื่อง ส่วนกำลังซื้อนั้น ก็จะมีทั้งคนที่มีเงินและไม่มีเงินเลย ทั้งนี้ ทางกิฟฟารีนเอง มองว่าก็ยังมีโอกาส ขณะเดียวกัน การเข้มงวดในเรื่องของกฎหมายที่ประเทศลาว ถือว่าค่อนข้างที่จะเข้มงวดมากเช่นเดียวกัน


วันนี้ตลาดเออีซี ที่กำลังจะเปิดนั้น ขอให้มองเป็น 2 ประเด็นสำหรับตัวแทนจำหน่าย คือ ประเด็นแรก วันนี้เออีซี จะเปิดแล้วขอให้มองใน 2 ประเด็นสำหรับตัวแทนจำหน่าย คือ ประเด็นแรก ในฐานะที่เราตั้งรับอยู่ที่ประเทศไทย สิ่งแรกคือ คนที่จะเข้ามาในประเทศ รวมถึงธุรกิจที่จะเข้ามาในประเทศ เขาอาจจะเข้ามาประกอบอาชีพหลาย ๆ อย่างในประเทศไทย ซึ่งทุกคนที่เข้ามานั้น ก็คือ ผู้ที่มุ่งหวัง เราเองต้องมีความเข้าใจด้วยว่า เราจะมีการสื่อสารกับคนกลุ่มนี้อย่างไร ซึ่งจำเป็นต้องใช้ภาษากลาง คือ ภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องสื่อสารได้ดีด้วย ประเด็นที่สอง การพัฒนาบุคลากรให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น ทั้งการรู้เขารู้เราในการทำตลาด ซึ่งการเตรียมความพร้อม คือ ต้องเข้าใจในพฤติกรรมของคนแต่ละประเทศด้วย รวมถึงต้องมีการปรับตัวให้ทัน


...เช่นเดียวกับทางด้าน ภคพรรณ ลีวุฒินันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท นู สกิน เอ็นเตอร์ไพร์ส ประเทศไทย และเวียดนาม เผยว่า กระแสของตลาดเออีซี ช่วงนี้ถือว่าค่อนข้างฮอตฮิตอย่างมาก ซึ่งต้องบอกว่าคนจำนวน 70 กว่าล้านคนในประเทศไทยถือว่าค่อนข้างใหญ่แล้ว แต่ตอนนี้เราไม่มองเพียงแค่ 70 ล้านคนเท่านั้น แต่จะมองคนถึง 600 ล้านคนเลยทีเดียว ในจำนวน 10 ประเทศ ซึ่งวันนี้ตลาดขายตรง ถ้าคนเยอะขึ้นตลาดเครือข่ายก็จะขยายตัวเพิ่มขึ้น ที่สำคัญมองว่าตลาดเออีซีนั้น จะเป็นการช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองของอุตสาห กรรมในการทำตลาดที่จะเติบโตอย่างมหาศาลด้วยเช่นกัน


สำหรับประเทศเวียดนาม ที่นู สกิน เข้าไปนั้น ถือว่าใช้ระยะเวลา 2 ปีกว่าที่จะเปิดได้ ประชากรที่ประเทศเวียดนามมีอยู่ 92 ล้านคน ถือว่าเป็นโอกาสที่น่าสดใสมาก อีกทั้งยังพบอีกว่า ประชากรครึ่งหนึ่งของประเทศนี้ 25-50 ปี อยู่ในวัยทำงาน ซึ่งคนที่นี้ค่อนข้างที่จะมีการตื่นเต้นอย่างมากสำหรับธุรกิจขายตรง โดยปัจจุบันบริษัทขายตรงที่เวียดนามนั้นมีทั้งหมด 88 บริษัทด้วยกัน โดยเป็นบริษัทของนักธุรกิจเวียดนามประมาณ 80% ส่วนบริษัทต่างชาติอยู่ที่ประมาณ 20%


วันนี้การเตรียมความพร้อมกับตลาดเออีซีนั้น ต้องมองในหลาย ๆ ด้าน ในการเตรียมทีมผู้จำหน่าย โดยต้องดูว่าอะไรที่เกี่ยวข้องกับเราไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเมือง กฎหมายขายตรงในประเทศที่เข้าไปนั้น มีข้อจำกัดอะไรบ้าง ต้องรู้เขารู้เราในการทำธุรกิจ ต้องมีการวิเคราะห์ลูกค้าให้เจอด้วยว่าเป็นกลุ่มไหน พร้อมกันนี้ ต้องมีการวิเคราะห์บริษัท เราเองด้วยว่ามีจุดดีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไรบ้าง รวมถึงต้องเพิ่มศักยภาพบริษัทตัวเองด้วย


ภคพรรณ เผยต่ออีกว่า สำหรับความพร้อมของผู้ประกอบการนั้น ต้องบอกว่า เมื่อทุกโอกาสมาถึงแล้ว ต้องรีบคว้าเอาไว้ แต่ทั้งนี้อยู่ที่ว่าเรานั้นมีการเตรียมความพร้อมไว้ขนาดไหน ซึ่งหากเตรียมความพร้อมดี โอกาสที่ธุรกิจจะเติบโตก็ดีด้วย แต่ทั้งนี้ในส่วนของธุรกิจขายตรงเอง ก็ต้องใช้ระยะเวลานานด้วยเช่นกัน และอยากที่จะฝากว่าทุกทีนั้นถือว่ามีโอกาสโดยเฉพาะในประเทศไทย ขอให้ทำในประเทศให้เข้มแข็งก่อนแล้ว เชื่อว่าทุกอย่างก็จะขยายตัวดีตามลำดับด้วยเช่นกัน ที่สำคัญ ต้องทำธุรกิจที่ถูกต้องด้วย


...ด้าน อิทธิศักดิ์ อำพันยุทธ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คังเซน-เคนโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ก็ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับตลาดอาเซียนต่อธุรกิจขายตรงอีกด้วยว่า ขณะนี้ตลาดอาเซียนทุกประเทศที่จะเข้าไปถือว่าเป็นโอกาส


สำหรับผู้ประกอบการทุกคนในเรื่องของการรวมตัว การขยายธุรกิจ รวมถึงการขยายโอกาส


เช่นเดียวกับ ตลาดอินโด นีเซีย ที่ขณะนี้ ทางคังเซนฯ เอง ได้เข้าไปทำตลาดแล้วเป็นปีที่ 16 ซึ่งถือว่าค่อนข้างที่จะใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าที่จะเข้าไปในประเทศอินโดนีเซียได้ ซึ่งที่นี่มีศักยภาพสูงมาก โดยจะเป็นในเรื่องของจำนวนประชากร ถึงแม้ว่ารายได้ต่อหัวอาจจะยังไม่สูงมากนัก แต่พบว่าพฤติกรรมการบริโภคของที่นี้ค่อนข้างดี รวมถึงคนยังให้ความสนใจในธุรกิจขายตรงดีอย่างมากด้วย


อิทธิศักดิ์ เสริมต่อว่า สิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการที่จะเข้าสู่ตลาดอาเซียนนั้น คือ ในเรื่องของภาษา ที่ถือเป็นจุดอ่อนของคนไทย ที่จำเป็นจะต้องเรียนรู้ แต่ในขณะเดียวกัน อีกหนึ่งข้อดีของประเทศไทยนั่นก็คือ จะเป็นในเรื่องของสินค้า โดยในแต่ละประเทศไม่ว่าจะเป็น ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เป็นต้น ต่างมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าไทยเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้การตลาดจึงง่ายขึ้น


นอกจากนี้ อิทธิศักดิ์ ยังฝากถึงทางภาครัฐอีกว่า ขอให้ภาครัฐสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจขายตรงให้มากขึ้น ซึ่งหากมองในความเป็นจริงแล้วจะพบว่า ในการเข้าสู่ตลาดเออีซีนั้น จะต้องมีการเตรียมความพร้อม ที่สำคัญ ควรมีในเรื่องของการผ่อนปรนภาษี และเชื่อว่าภาครัฐน่าที่จะช่วยสนับสนุนสินค้าดีที่เรามีไปสู่ตลาดต่างประเทศได้แน่นอน เพราะขณะนี้ ภาครัฐถือว่าเป็นกลไกหลักที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนธุรกิจนั่นเอง


...นับได้ว่า วันนี้ การที่จะเข้า ไปสู่ตลาดเออีซีได้นั้น เรื่องของความพร้อมทั้งในส่วนของประกอบการเอง หรือแม้กระทั่งตัวนักธุรกิจเองก็ต้องมีความพร้อมอย่างมากเช่นกัน อีกทั้งในเรื่องของภาษา ยังถือว่ามีผลที่สำคัญในการสื่อสารกับนานาชาติที่ร่วมลงทุนด้วย เพราะหากสื่อสารรู้เรื่อง อนาคตของธุรกิจที่เข้าไปทำก็ย่อมสดใสด้วยเช่นกัน





Credit By :http://www.taladvikrao.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น