ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ตีแผ่กฎหมายขายตรงเจ้าปัญหา.!! สับสน-มีจุดอ่อน-เปิดช่องโหว่มิจฉาชีพ







ippatsemina 72 (Mobile)


สมาคมฯ TDNA เดินเกมรุกหนัก แก้กฎหมายขายตรง ตีแผ่ชำแหละทุกจุดอ่อน ประเดิมโฟกัสมาตรา 3 นิยาม ก็สับสน ระบุต้องกำหนดบทบาท 3 ตัวละคร ผู้ประกอบการ ผู้ขาย และผู้บริโภคให้ชัดเจน ขณะที่ "ตลาดแบบตรง" ใครลากเข้ามาในกฎหมายนี้ เพราะไม่สามารถกำกับดูแลได้ ซ้ำยังมีผู้ประกอบการมหาศาลนับหมื่นนับแสนราย ไม่ยอม มาจดทะเบียน ยันต้องแยกออกจาก "ขายตรง"


นายพิศิษฐ์ แทนทิว เลขาธิการสมาคมธุรกิจเครือข่ายขายตรงไทย (TDNA) เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า หลังจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติขายตรงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เป็นต้นมาถึงวันนี้ก็ 11 ปีแล้ว แต่กฎหมายฉบับดังกล่าว ไม่สามารถกำกับดูแลการเปลี่ยนแปลงธุรกิจขายตรงที่มีการเติบโตอย่างมีคุณภาพได้ และยังเป็นปัญหาในการบังคับอยู่ใน ปัจจุบัน เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้มาจากคนที่อยู่ในวงการธุรกิจขายตรงส่วนใหญ่เข้าไปเกี่ยวข้องเลย คือ ไม่มีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายขายตรงฉบับนี้ขึ้นมา ทำให้ ปัจจุบันได้เกิดปัญหาในธุรกิจขายตรงอย่างมากมาย


ในต่างประเทศเคยมีกฎหมายขายตรง แล้วเราก็พยายาม จะเอามาใช้เป็นแบบอย่าง มีการนำมาประยุกต์ใช้กัน แต่ด้วย เวลาที่ผ่านมานานทำให้กฎหมายขายตรงฉบับนี้ ควรจะมีการ ปรับให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ ไม่ใช่ปล่อยเอาไว้แบบนี้ ถ้าไปลองศึกษารายละเอียดดู จะเห็นได้ว่า มีจุดอ่อนที่เป็นช่องโหว่ให้นักธุรกิจบางกลุ่ม ใช้ประโยชน์และสร้างปัญหาขึ้นมาได้


"โดยเฉพาะในมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 ฉบับนี้คำว่า..ขายตรง หมายความว่า การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ ทำงานของผู้บริโภคหรือของผู้อื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระโดยผ่านตัวแทนขายตรง หรือผู้จำหน่ายอิสระ ชั้นเดียวหรือหลายชั้น แต่ไม่รวมถึงนิติกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง"


จะสังเกตเห็นว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 ที่หยิบยก มานี้ มีความเข้าใจยากมาก หากไม่ใช่นักกฎหมายโดยตรง อ่านแล้วก็จะสับสน ไม่รู้ว่า ครอบคลุมส่วนไหนกันแน่ ซึ่งความจริงหลักๆ ของธุรกิจขายตรง จะมี 3 ตัวละคร คือ ผู้ประกอบการ ผู้จำหน่ายอิสระ หรือผู้ขาย และผู้บริโภค ซึ่งในความเป็นจริงมีบริษัทขาย ตรงจำนวนมากที่ไม่ได้เน้นขายให้ผู้บริโภค อาจจะขายให้บ้างแต่ส่วนน้อย ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นการขายให้สมาชิกที่ไม่ตรงกับนิยามข้อนี้ ทุกวันนี้ใครจะเป็นขายตรง มีแผนการจ่าย แต่ขายให้สมาชิกเท่านั้น ก็ไม่เข้าข่ายเป็นขายตรงไม่ต้องจดทะเบียน ซึ่งถ้าไม่จดทะเบียนก็จะอยู่นอกการกำกับดูแล เกิดปัญหาก็ตรวจสอบยาก จึงต้องแก้ในส่วนนี้


ขณะที่ "ตลาดแบบตรง" มีนิยามว่า การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้า หรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่าง โดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้น


จากนิยามดังกล่าว ก็มีความเข้าใจยากเช่นเดียวกัน และทุกวันนี้ "ตลาดแบบตรง" ก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะเป็นการขายของผ่านสื่อทุกรูปแบบทั้งสื่อทีวี, วิทยุ, นสพ., โมบาย และอินเตอร์เน็ต แปลความหมายตลาดแบบตรงก็คือ การขายผ่านสื่อ ไม่ผ่านคนขาย ผู้ขายคือผู้ประกอบการกับผู้ซื้อไม่เจอกัน แต่รับรู้ผ่านสื่อ สั่งซื้อผ่านการสื่อสารรับสินค้าจ่ายเงินกับผู้ส่งของ หรือผ่านบัตรเครดิต


ปัญหาหลักก็คือ การตลาดแบบตรง มีผู้ประกอบการมหาศาลนับหมื่นราย รวมทั้งตัวบุคคลที่โพสต์ขายผ่านโซเชียล กฎหมาย/สคบ. จะกำกับดูแลยังไง ซึ่งผู้ประกอบการนับหมื่นราย มีแค่หลักร้อยราย ที่มาจดทะเบียนกับ สคบ. ตามกฎหมายฉบับ นี้ ซึ่งที่มาจดตลาดแบบตรงส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทขายตรงที่จดเอาไว้ 2 แบบ เพื่อการขายที่กว้างขึ้น แต่ผู้ประกอบการอื่นๆ ไม่ยอมมาจดทะเบียน การกำกับดูแลธุรกิจนี้ จึงยังทำไม่ได้ และเป็นปัญหามาจนทุกวันนี้


สิ่งที่น่าคิดก็คือใครเป็นคนป้อนข้อมูล เหล่านี้เข้ามาตอนเป็นร่างกฎหมาย ตอนให้ ข้อมูลในสภา ทั้งเรื่องนิยามตามมาตรา 3 หรือการยกเอา "ตลาดแบบตรง" เข้ามาบรรจุได้ในกฎหมายขายตรง และเป็นปัญหา อยู่ทุกวันนี้ ไม่รวมว่ามีเรื่องการบังคับซื้อที่แอบแฝงในแผนการจ่ายผลตอบแทน การไม่มีหมวดที่ว่าด้วยผู้จำหน่ายอิสระ ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญที่ควรมีไว้ในกฎหมาย แยกไว้เป็นหมวดที่ว่าด้วยนักขายหรือนักธุรกิจอิสระ


"กฎหมายขายตรงยังมีส่วนที่เป็นปัญหาอีกเยอะที่ควรจะต้องรื้อ และแก้ไขให้ ทุกส่วนได้ประโยชน์ ไม่ใช่ให้คนบางพวกได้ประโยชน์ แล้วทิ้งปัญหาให้คนอื่น" พิศิษฐ์ กล่าวทิ้งท้าย


ด้านนายนิโรธ เจริญประกอบ นายกสมาคมธุรกิจเครือข่ายขายตรงไทย หรือ TDNA เปิดเผยว่า ปัญหาในเบื้องต้น คือกฎหมายฉบับนี้มีความล้าสมัย ทำให้ไปเอื้อ ประโยชน์กับคนที่ทำธุรกิจนี้อยู่แล้วแค่บางกลุ่มเท่านั้น และหลายๆ มาตราเป็นแบบนี้หมด ซึ่งทุกวันนี้ ทาง สคบ. ก็ได้พยายามจัดการเกี่ยวกับกฎหมายขายตรงพอสมควร เนื่องจากในตัวกฎหมายไม่มีความชัดเจน และยิ่งเอา "ขายตรง" มาผสมผสานกับ "ตลาดแบบตรง" เข้าไปทำให้แยกกันไม่ออก จึงมีหลายบริษัทและหลายคนในวงการขายตรงต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนแยกออกจากกัน


อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า บริษัทที่ไปจดทะเบียนที่กรมธุรกิจการค้ามีเป็นแสนบริษัท และส่วนหนึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับขายตรง แต่เวลาที่มีการเปิดเผยข้อมูลกันออกมา จะมีบริษัทใหญ่ๆ ที่ไม่ใช่ธุรกิจขายตรง ทั้งๆ ที่บริษัทขายตรง ที่มีอยู่จำนวนมากนี้ก็สร้างมูลค่าการตลาด สร้างงานและทำให้เศรษฐกิจของชาติเจริญ รุ่งเรืองด้วย


นอกจากนี้ ตามที่ทาง สคบ.ได้ออกกฎข้อบังคับให้บริษัทขายตรงต้องไปรายงานตัวกับ สคบ. ในทุกๆ ครึ่งปี เพื่อเป็นการรับรองว่า ยังดำเนินธุรกิจอยู่ ซึ่งปัจจุบัน มีอีกหลายบริษัทไม่ได้รายงานในส่วนนี้ โดย หากมองลึกๆ เข้าไป จะเห็นว่า บริษัทที่ไม่ได้มาขึ้นทะเบียนหรือรายงานการทำธุรกิจ เวลาทำผิดกฎหมาย ก็ต้องไปฟ้องร้องกันทำให้เสียเวลานาน ทำให้ สคบ.เข้าไปเพิกถอนไม่ได้ เพราะกฎหมายขายตรงไม่ได้ครอบคลุมให้อำนาจ สคบ. ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีจนถึงที่สุดก่อน จึงจะเข้าไปจัดการเพิกถอนลงโทษบริษัทที่กระทำผิดได้


"จึงเป็นเหตุผลให้บริษัทขายตรงบางส่วนไม่มาขึ้นทะเบียน จากที่กฎหมายขายตรงยังไม่ควบคุมดีพอ มีช่องโหว่ให้บริษัทต่างๆ หาผลประโยชน์ได้ง่ายและก่อนหน้านี้ ได้มีการเสนอแก้ไขกฎหมายขายตรงที่เพิ่งทำกันไป แต่ก็ยังไม่ได้มีการแก้ไข เพราะยังไม่มีใครที่เกี่ยวข้องมองว่าเป็นเรื่อง สำคัญที่ต้องแก้ หรือมองได้อีกมุม หากแก้ไข แล้ว อาจมีบางกลุ่มที่ต้องเสียผลประโยชน์ ทำให้ทาง สคบ.จึงต้องเร่งแก้ไขกฎหมายเสนอเข้าสภาใหม่อีกรอบ" นายกสมาคมฯ TDNA กล่าว












Credit By : http://www.siamturakij.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น