ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิบากกรรม !! ราคายางดิ่งเหว ขายตรงพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ?







1365136121_rubber05 (Mobile)

 


จากเหตุการณ์ที่เกษตรกรชาวสวนยางได้ออกมาปิดถนนประท้วงรัฐบาลให้ปรับราคายาง เพราะก่อนหน้านี้ ราคายางพาราได้พุ่งสูงขึ้นไปถึง 150-180 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์ แต่เมื่อมาถึง รัฐบาลเพื่อไทย ราคาที่เคยสูงลิบลิ่วกลับตกต่ำอย่างเห็นได้ชัด จนวันนี้ราคายางที่ขายจะไม่เกินกิโลกรัมละ 90 บาท ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคายางพาราตกต่ำเกิดจากกลไกของตลาดโลก ที่ปัจจุบันมีการผลิตยางออกมาเป็นจำนวนมากส่งผลให้ยางล้นตลาดราคายางในประเทศไทยจึงปรับตัวลดลง


ปัจจัยอีกด้านที่ส่งผลกระทบ คือ ยางพาราในปัจจุบัน ล้นตลาด เป็นผลมาจากการเพาะปลูกยางพารา มีการปลูกกัน อย่างแพร่หลายในประเทศ ผนวกกับประเทศจีน ที่นับว่าเป็น ผู้นำเข้ายางรายใหญ่ได้ปลูกยางพาราเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ขณะนี้ ถึงเวลากรีดแล้ว แม้ว่ายางพาราที่ปลูกในประเทศจีนจะให้ ปริมาณน้ำยางต่อต้นน้อยกว่าของไทย แต่ด้วยการที่มีปริมาณ พื้นที่การปลูกมาก จึงเพียงพอต่อความต้องการทำให้ไม่จำเป็น ต้องนำเข้ายางพาราจากไทยในจำนวนมากเหมือนในอดีต


ขณะที่จีนผู้นำเข้ายางพารารายใหญ่ ส่วนของไทย สามารถผลิตยางพาราใช้ได้เอง ไทยกลับมีพื้นที่เพาะปลูกยาง เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากพื้นที่เพาะปลูกยางในปัจจุบันไม่ได้มี พื้นที่เฉพาะในภาคใต้เท่านั้น แต่กระจายไปทั่วประเทศ จนทำให้ขณะนี้มีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 18.7 ล้านไร่ และมีพื้นที่ที่สามารถกรีดยางได้แล้วประมาณ 13.81 ล้านไร่ และในปี 2556 ยังมีการคาดการณ์ว่าจะสามารถผลิตยางออกมาได้ถึง 3.86 ล้านตัน โดยแบ่งเป็นสัดส่วนใช้ในประเทศ 13% ส่งออกยางแปรรูปขั้นต้นที่ 83% สามารถสร้างรายได้กว่า 6 แสนล้านบาทต่อปี เมื่อยางพาราราคาตกต่ำ ผู้ที่ รับผลไปเต็มๆ นั้น คงไม่พ้นเกษตรกรสวน ยางพารา เพราะในช่วงที่ยางพารามี ราคาสูง เกษตรกรจำนวนมากได้มีการ ลงทุนทำสวนยางเพิ่มหรือบางรายมีการ ใช้จ่ายเงินแบบไร้ซึ่งการวางแผน และเมื่อ ราคายางพาราที่เคยสูงกลับตกต่ำลง จึงทำให้ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ ดังกล่าวได้ จนในที่สุดต้องออกมาเรียกร้อง รัฐบาลให้ช่วยแก้ไขปัญหา


จากข้อมูลข้างต้นสอดคล้องกับความคิดเห็นของ อาจารย์ชลิต ลิมปนะเวช นักการตลาด ที่ให้ความคิดเห็น เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ว่าเป็นเรื่องปกติของราคาสินค้าเกษตร ที่มีขึ้นแล้วต้องมีลง ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนได้เปิดโรงงานผลิตรถยนต์ จึงมีความต้องการยางพารามาก จนทำให้ยางพารามีราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40 บาท และมีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับ กิโลกรัมละ 150-180 บาท ทำให้มีผู้สนใจปลูกยางพาราเป็น จำนวนมาก จากที่เคยปลูกเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ แต่ปัจจุบัน มีการปลูกยางพาราไปทั่วประเทศ


เมื่อจีนเริ่มชะลอการผลิตรถยนต์บวกกับสามารถที่จะ ปลูกยางพาราได้เอง จึงทำให้ลดปริมาณการนำเข้ายางพารา จากไทย และในที่สุดทำให้เกิดปริมาณน้ำยางล้นตลาดจนต้อง มีการตัดราคากันเอง ราคายางที่เคยสูงลิ่วกลับตกลงมาอย่าง ไม่คาดคิด ขณะเดียวกันค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นแต่รายได้กลับ ลดลงจนทำให้เกิดปัญหาตามมา อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ ดังกล่าวมองว่าไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศ เพราะราคายางขึ้นอยู่กับตลาดโลกไม่ได้อิงกับตลาดในประเทศ


แม้จะมองเหตุการณ์นี้จะไม่ได้ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ แต่ที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัวบวกกับรัฐบาลได้ประกาศ ปรับราคาแอลพีจี ทำให้อัตราค่าขนส่งสูงขึ้นจนให้ต้องมีการ ปรับราคาสินค้าขึ้นหลายรายการ รวมถึงสินค้าเพื่อการเกษตร ดังนั้น เมื่อสินค้าเพื่อการเกษตรสูงขึ้นแต่เกษตรกรสวนยาง มีรายได้ลดลงจึงทำให้ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย แต่เกษตรกร ยังคงมีความต้องการที่จะใช้ปุ๋ยหรือสินค้าเพื่อการเกษตร เพื่อนำมาช่วยในการเพิ่มคุณภาพน้ำยางมากขึ้น


การที่ราคายางตกต่ำหลายบริษัทต้องธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา อาจจะมองไม่เห็นโอกาสในธุรกิจนี้ แต่ตรงข้ามกับ ธุรกิจขายตรง ที่มองว่านี่คือโอกาสที่ดีในการเข้าไปทำ การตลาด โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อการเกษตร เพราะในยามที่ เกษตรกรสวนยางอยู่ในภาวะที่ต้องระมัดระวังเรื่องค่าใช้จ่าย แต่ยังต้องการบำรุงดูแลต้นยางเพื่อให้ได้น้ำยางที่ดีและ สามารถจำหน่ายได้ในราคาสูง ดังนั้น จึงต้องมองหาสินค้า เพื่อการเกษตรที่สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้อย่าง แท้จริง ซึ่งบริษัทขายตรงหลายที่มีความมั่นใจว่าสินค้าเพื่อ การเกษตรจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้


เช่นเดียวกับ เฉลิมเกียรติ มงคลธรรมากุล กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ยูนิไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ที่ทำ ตลาดขายตรงสินค้าการเกษตรมานานกว่า 15 ปี บอกว่า ยูนิไลฟ์ จะทำสินค้าเกี่ยวกับเสริมอาหารพืช แต่มองว่าใน สถานการณ์เช่นนี้กลับทำให้เป็นโอกาสที่ดีของบริษัท เพราะ เกษตรกรต้องการที่จะลดต้นทุนจึงต้องหาสินค้าเกษตร ที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้เข้ามาช่วย ซึ่งสินค้าของ ยูนิไลฟ์ จะเป็นสินค้าที่สามารถตอบโจทย์ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสินค้าการเกษตรของยูนิไลฟ์ยังเป็นสินค้า ที่สอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาล และแนวโน้มของตลาด การเกษตรโลกที่ต้องการลดปริมาณการใช้เคมีในพืช ปัจจุบัน ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีมากถึง 5 ล้านตันต่อปี ซึ่งนับว่า เป็นปริมาณการนำเข้าที่สูงไม่น้อย สอดคล้องกับ นวรัตน์ สัมพันธ์ศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท สมาร์ท อินเตอร์- เนชั่นแนล เน็ตเวิร์ค จำกัด ที่ให้ความเห็นว่าเหตุการณ์ ดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับเกษตรกรจริง แต่เกษตรกร ยังต้องการสินค้าที่มีคุณภาพและสามารถนำมาใช้ลดต้นทุน ได้ และเกษตรกรจะยังคงไม่หยุดการให้ปุ๋ยยางพารา ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าเกษตรจะยังคงสามารถทำตลาดได้อย่าง แน่นอน ขณะเดียวกันบริษัทมองว่าเป็นโอกาสที่ดีของบริษัท ในการเข้าไปทำการตลาด เพราะมีสินค้าเพื่อการเกษตร ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรสวนยาง ในขณะนี้ได้เป็นอย่างดี


และยังมองว่าแม้ราคายางพาราจะตกต่ำ แต่เกษตรกร ยังคงต้องใช้ปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นยาง แม้อาจจะต้องมีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้น ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า การเกษตรจะต้องสรรหาสินค้าที่ดีมีคุณภาพคุ้มค่ากับราคา ที่จ่ายไป และในส่วนของผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าเกษตรจะต้องมีสินค้าที่ดีสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ จึงจะสามารถที่จะก้าวผ่านสถาณการณ์เช่นนี้ได้


ตรงข้ามกับ บริษัท ไทย-เยอรมัน อินเตอร์เทรด โปรดักส์ จำกัด (TGI) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามของ “วาฬ น้ำเงิน” ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทขายตรงที่ทำตลาดเพื่อการเกษตรรายใหญ่และรู้จักกันมานาน โดย วุฒิพงศ์ วนากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย-เยอรมัน อินเตอร์เทค โปรดักส์ จำกัด ยอมรับว่า จากเหตุการณ์ราคายางพารา ที่ตกต่ำนั้น บริษัทได้รับผลกระทบในส่วนของปุ๋ยสูตร 15-15- 15 ที่ใช้ในยางพารานั้นยอดจำหน่ายลดลงไปกว่าครึ่ง ซึ่งปกติ แล้วบริษัทมียอดขายปุ๋ยเกี่ยวกับยางพาราประมาณ 20-30% จากยอดขายรวมของสินค้าการเกษตรทั้งหมดนับว่าเป็น ผลกระทบที่ไม่มากนัก เพราะกระทบเฉพาะในส่วนของปุ๋ย ที่ใช้กับยางพาราเท่านั้น ส่วนของปุ๋ยที่ใช้กับพืชอื่นๆ ยังคง สามารถทำตลาดได้อย่างปกติ


ดังนั้น จึงมองว่ายังไม่น่าเป็นห่วง อีกอย่างผลกระทบ มีเฉพาะในตลาดภาคใต้เท่านั้น ส่วนในตลาดภาคอื่นบริษัท ยังคงสมารถทำตลาดได้เป็นอย่างดี และเหตุการณ์มองว่า จะทำให้บริษัทหรือแบรนด์ใหม่ๆ ทำตลาดได้ยากขึ้น เพราะ เกษตรกรในภาคใต้มีแรงจูงใจในการที่จะใส่ปุ๋ยน้อยลง และ เลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น แต่ TGI ไม่ได้เป็นห่วง ในเรื่องนี้ เนื่องจากบริษัทได้เปิดดำเนินการมานาน สินค้าเป็นที่ยอมรับในตลาดละมีสินค้าที่เกี่ยวกับเกษตรอีกหลายรายการให้ทำตลาด แต่ยังคงมีเรื่องที่น่าห่วงคือภัยแล้งมากกว่า เพราะส่งผลกระทบต่อการเกษตร ทุกชนิดและมีระยะเวลาค่อนข้างนาน


แม้เหตุการณ์ดังกล่าวเกษตรกรสวนยางจะได้รับการ ช่วยเหลือจากรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่มาตรการ ช่วยเหลือที่ออกมานั้นจะเป็นการช่วยเหลือที่ถูกจุดหรือไม่ ต้องติดตามต่อไป หรือในแง่ของผู้ประกอบการขายตรง ที่มองว่าเป็นโอกาสที่ดีทางธุรกิจนั้น จะเป็นไปอย่างที่คาด หรือไม่ ยังคงต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ เพราะอย่าลืมว่า ในยามที่ข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ การตัดสินใจซื้อ อะไรสักอย่างคงต้องใช้เวลาและคิดทบทวนอย่างมาก สุดท้ายแล้วอย่าเพิ่งชะล่าใจกับเรื่องนี้ว่าจบอย่าง แฮปปี้ แต่ยังคงต้องมีการเฝ้าระวังและติดตาม เหตุการณ์กันต่อไป พาร์ค อิน ชอน


 


 


 


 


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย นสพ.The Power Network ฉบับที่ 232 ประจำวันที่ 16-31 ตุลาคม 2556


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น