ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อย.อุดช่องโหว่โฆษณาเวอร์ เล็งแก้ กม.เพิ่มโทษหนักธุรกิจขายตรง







2039554151_ประพนธ์ (Mobile)

 


ยุคใหม่ อย. เตรียมเอาจริงฟันผู้ประกอบการขายตรง โอ้อวดสรรพคุณ รักษาทุกโรค เล็งชง สภาผู้แทนราษฎรขอแก้กฎหมายเพิ่มโทษหนักบังคับใช้ทันที ขณะเดียวกัน เอกซเรย์สื่อเคเบิลทีวี-วิทยุท้องถิ่น โฆษณาเกินความจริง ขู่ฟ่อเตรียมล้างคุกรอ พร้อมประสาน กสทช.-ไอซีที บล็อกเว็บไซต์ที่เสนอสรรพคุณสินค้าเข้าข่ายโกหกชาวบ้าน ล่าสุด! ดีเอสไอ อุดช่องโหว่ผู้ประกอบการขี้ฉ้อดึงกลุ่มเสริมอาหาร-เครื่องมือแพทย์-ยา รับเป็นคดีพิเศษแล้ว


นายประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยถึงธุรกิจขายตรงในปัจจุบันนี้ว่า ในส่วนของประเด็นหลักๆ ที่มักจะพบในธุรกิจขายตรงก็ คือ ผู้บริโภคมักจะเคลม ในตัวคุณภาพสินค้าไม่ตรงตามประกาศนำเสนอ โฆษณาเกินจริง ในส่วนของ อย. ดูจากตัวผลิตภัณฑ์ที่ดูแลรับผิดชอบ จะมีอยู่ 3 ผลิตภัณฑ์ คือ 1.เครื่องสำอาง 2.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสุดท้ายเครื่องมือแพทย์ นอกจากนั้นที่นอกเหนือจากนี้ ตัวกฎหมายไม่อนุญาตให้ขายตรง เช่น ยา เครื่องมือแพทย์ กรณียาไม่อนุญาตให้ขายตรง กรณียาเสพติดให้โทษไม่อนุญาตให้ขายตรง


นายประพนธ์ กล่าวว่า ทั้ง 3 ประเภท หากพิจารณากันแล้วจะมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการเผยแพร่หรือโฆษณาจะต้องขออนุญาตเสียก่อน เพราะกรณีที่จะทำธุรกิจขายตรง โดยเฉพาะในเรื่องข้อความ โบชัวร์ หรือการทำเว็บไซต์จะต้องขออนุญาต โดยเฉพาะกรณีนี้จะเป็นพวกเสริมอาหารและเครื่องมือแพทย์ ขณะที่อีกกลุ่มไม่ต้องขออนุญาตในการโฆษณาก็คือ กลุ่มเครื่องสำอาง แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการโอ้อวดสรรพคุณอันเป็นเท็จหรือทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อในด้านคุณประโยชน์ตรงนี้ไม่ได้ จะเป็นความผิด ดังนั้น จุดนี้จะเป็นในกลุ่มของเครื่องสำอาง


นายประพนธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีที่โฆษณาไม่ได้รับการอนุญาต ส่วนใหญ่จะมีโทษปรับ ตั้งแต่ 5 พันบาท ถึง 1 หมื่นบาท แล้วแต่ผลิตภัณฑ์ กรณีเสริมอาหารประมาณ 5 พันบาท เครื่องมือแพทย์ ประมาณ 1 หมื่นบาท ต้องยอมรับว่า กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบันนี้ ถือว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่รุนแรงมากนัก


อย่างไรก็ตาม ขณะที่ทาง อย. มีความพยายามแก้กฎหมายพระราชบัญญัติเพิ่มในตัวของค่าปรับ ทั้งด้านอาหารและเครื่องมือแพทย์ ขณะเดียวกัน หากเป็นกรณีที่เป็นโฆษณาอันเป็นเท็จ หลอกลวง ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในเรื่องของสาระ สรรพคุณหรือแหล่งกำเนิด ตรงนี้จะมีโทษอาญาทันที


"กรณีเป็นเท็จมันไม่มีสรรพคุณใช้อย่างนี้ แล้วไปอ้างอิงจนเกินความจริง ซึ่งมันใช้ได้แค่นี้ ตรงนี้โทษจำคุก กรณีอาหาร กรณีเป็นเท็จโอ้อวด สรรพคุณ คุณภาพประโยชน์ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มันจะต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ คือ ในเรื่องของลงโทษผู้กระทำความผิด จะอยู่ที่ดุลพินิจของศาล ว่าจะลงโทษขนาดไหน แต่อัตราโทษกำหนดไว้อยู่ แต่กรณีเครื่องมือแพทย์จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท"


นายประพนธ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ อย. เราขอปรับแก้ไขตัวบทลงโทษให้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตัวร่างพระราชบัญญัติ ก็คือในอนาคตบทลงโทษจะมีความเข้มข้น แรงขึ้น กรณีร่างพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง ขณะนี้ได้ผ่านชั้นกระทรวงสาธารณะสุขไปแล้ว และกำลังอยู่ในกฤษฎีกา ซึ่งขณะนี้ก็ได้เสร็จเรียบร้อยทั้งหมด ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของ อย. เพื่อให้ยืนยันในตัวร่างดังกล่าวนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยถ้าเห็นตามนั้น อย. ถึงจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และจะส่งต่อไปยังสภาผู้แทนราษฎร เป็นลำดับขั้นตอนต่อไป


นายประพนธ์ ยังกล่าวยอมรับว่า ช่วงหลังในเรื่องของการโฆษณา โดยเฉพาะในสื่อเคเบิลทีวีและสื่อวิทยุท้องถิ่น ขณะนี้ถือว่าได้กระทำออกนอกลู่นอกทางเป็นจำนวนมาก และมีการโฆษณาเกินความจริง โดยเฉพาะตัวกฎหมายที่ปรับในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีความรุนแรง กรณีเครื่องมือแพทย์ โฆษณาเป็นเท็จ ขณะนี้จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท ส่วนอาหาร จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเราจะต้องปรับกฎหมายให้ทันสถานการณ์ และมีหลายบริษัทหลายผลิตภัณฑ์ยอมเสียค่าปรับ เนื่องจากมองว่า ในอนาคตการโฆษณาดังกล่าวจะได้เงินคุ้มค่ามากกว่าการจ่ายค่าปรับให้กับหน่วยงานภาครัฐ


"ผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายจะเป็นพวกเสริมอาหาร บรรเทารักษาโรค ต้องยอมรับว่า ขณะนี้เคเบิลทีวีเกือบทุกช่อง คือ ถ้าได้รับเลขที่ อย.เมื่อไหร่ ตรงนั้นมันคืออาหาร ไม่ใช่ยา ได้เลขที่สิบหลัก อย.แล้วจะมาแสดงอ้างสรรพคุณ บำบัดไม่ได้ โดยปกติตัวผลิตภัณฑ์ยา เวลาให้สรรพคุณไม่มีการให้คลอบถึงจักรวาลขนาดนั้น ไม่ใช่ป้องกันรักษาโรคได้ทุกโรค และถ้าเกิดเป็นยา เขาให้แค่เพียงเฉพาะโรคเพียงเท่านั้น" นายประพนธ์ กล่าว


นายประพนธ์ กล่าวถึงมาตรการในการเข้าไปดำเนินการกับกลุ่มผู้ประกอบการที่มีพฤติกรรมอย่างนี้ ว่าในส่วนของการดำเนินการ ขณะนี้เราก็ร่วมมือกับ กสทช. เพราะต้องเข้าใจบทบาท โดยเฉพาะในเรื่องของการขออนุญาตการเผยแพร่คลื่นความถี่ ก็คือตัว กสทช. เราได้ร่วมมือกันดูแลทีวี วิทยุท้องถิ่นและจะร่วมมือกับหน่วยงานของกระทรวงไอซีที ที่ดูแลในเรื่องของเว็บไซต์ให้พิจารณาในการบล็อกเว็บไซต์ที่มีการฝ่าฝืน รวมทั้งร่วมมือกับตำรวจปราบปรามผู้กระทำความผิด การตั้งขึ้นมาที่จะดูแลคดีความคุ้มครองผู้บริโภค ฉะนั้น หน้างานจะรับผิดชอบงานของอาหารและยากับ สคบ.


 


 


 


 


Credit By : http://www.ryt9.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น