ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ขายอาเซียน (AEC MLM) : รุกตลาด "ขายตรงเวียดนาม (Vietnam)" เร่งกำจัด "จุดอ่อน" ชิงผู้บริโภค


เวียดนาม เป็นประเทศยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ในกลุ่ม อาเซียน ด้วยจำนวน ประชากรประมาณ 90 ล้านคน รองจาก อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และเป็นประเทศ คู่ แข่งที่สำคัญของ ไทยที่ประมาทไม่ได้ ทั้งเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างต่อ เนื่อง การเมืองที่มีเสถียรภาพมากกว่า ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มองข้ามไม่ได้ ด้วยเช่นกันโดยเฉพาะเรื่องของการเข้าไป ลงทุน เพราะปัจจุบันไทย ติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศของผู้ลงทุนรายใหญ่ของ เวียดนาม ไปแล้ว


กว่า 20 ปีมาแล้วที่ เวียดนาม ได้ใช้ นโยบายปฏิรูปที่เรียกว่า Doi Moi มาขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศให้มีการขยายตัวอย่างต่อ เนื่อง ส่งผลถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชากรมีการพัฒนาในลำดับที่ดีขึ้น ล่าสุดถูก จัดให้เป็นประเทศในกลุ่ม อาเซียน ที่มี สัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสูงสุด อันดับ 2 รองจาก ฟิลิปปินส์ คือร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับ GDP


สินค้าไทย เป็นต่อ เวียดนาม ขานรับ มีคุณภาพ
โดยพฤติกรรมการบริโภคของ ชาว เวียดนาม นั้นยังคงอยู่กับ วิถีชีวิต ใกล้เคียง จากเดิมที่เป็นอยู่ แต่ ทัศนคติ ที่มีต่อ สินค้า ไทย เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีอยู่ในตลาด อย่าง จีน-เกาหลีใต้-ไต้หวัน-สิงคโปร์-ยุโรป หรือ แม้แต่ เวียดนาม เอง ยังเป็นที่ยอมรับในเรื่อง ของ คุณภาพ และ ราคา ที่สมเหตุสมผลจนได้ รับ ความนิยม สูงกว่า ซึ่งสินค้าบางประเภทถึง ขนาดถูกนำไปลอกเลียนแบบเพื่อจำหน่ายหวังดึง ผู้บริโภคที่ใช้สินค้าไทย แต่ด้วย ราคา ในระดับที่ สมเหตุสมผลรวมกับ คุณภาพ ที่เหนือกว่ากลาย เป็นการเพิ่มความถี่ในการบริโภคที่เพิ่มขึ้นและสืบ เนื่องมายาวนานจนกลายเป็นความคุ้นเคยกับ สินค้าไทย


ไม่เว้นแม้แต่ ตลาดเครื่องสำอาง ใน เวียดนาม ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดย เฉพาะประเภท ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว มีสินค้า แบรนด์ข้ามชาติครองตลาดอยู่แล้วถึงร้อยละ 57 และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของคนไทย แต่ ผู้บริโภค ชาวเวียดนาม ก็ยังมีความชื่นชอบในสินค้าที่ ผลิตโดย คนไทย ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์บำรุง ผิว-แชมพู-สบู่ เป็นต้น


ดังนั้น คุณภาพสินค้าไทย ที่ถูก ชาว เวียดนาม ยกระดับให้เป็นต่อเหนือประเทศคู่แข่ง สิ่งหนึ่งที่ ผู้ประกอบการคนไทย จะทอดทิ้งไม่ได้ คือการรักษากลุ่ม ผู้บริโภคเดิม รวมถึงการเพิ่ม ฐาน กลุ่มผู้บริโภคใหม่ แ ล ะ ต่อยอด ผลิตภัณฑ์ ออกไปเพื่อความยั่งยืนให้กับธุรกิจใน ระยะยาว


ส่วน ตลาดอาหารเสริม ใน เวียดนาม นั้น ทางการ จะค่อนข้างเข้มงวดให้เป็นไปตาม กฏหมาย แต่ใช่จะปิดกั้นเลยเสียทีเดียวหากแต่ การดำเนินธุรกิจเพื่อจัดจำหน่ายจะต้องขออนุญาต จาก ทางการ ก่อนเพราะไม่สามารถ จำหน่ายตรง ให้กับผู้บริโภคได้ จะต้องผ่าน กลุ่มผู้แทน จำหน่าย หรือ กลุ่มพ่อค้าคนกลาง ให้ทำหน้าที่ กระจายสินค้า เท่านั้น


ขายตรง เดินหน้าปักธงไม่หยุด
ขายตรง เดินหน้าปักธงไม่หยุด ทั้งนี้ ธุรกิจขายตรงคนไทย ที่เข้าไปทำ ตลาดใน เวียดนาม จะเห็นว่าหลายบริษัทขาย ตรงต่างเดินหน้าขยายตลาดก่อนกระแส ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือAEC จะมาแรง ในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็น เอวอน ซึ่งลงหลักปักฐาน ขยายตลาดใน เวียดนาม มาตั้งแต่ปี 2539 แอมเวย์ เปิดสาขาตั้งแต่ต้นปี 2551 พร้อม สรรพทั้ง โรงงานผลิต และ คลังสินค้า ส่งผล ให้ แอมเวย์ สาขาใน เวียดนาม ติดอันดับ ท็อป ตลาดขายตรงเวียดนาม มีนักขายอิสระ ทะลุเกิน 40,000 คน ยังไม่นับรวม ออริเฟลม โมรินดา ที่เข้าไปบุกเบิกตลาดกันก่อนหน้านี้ และล่าสุด นูสกิน เตรียมบุกตลาด เวียดนาม ในช่วงเดือนที่เหลือของปี 2555 นี้อีก ขณะ กิฟฟารีน ก็เตรียมวางแผนบุกตลาดในปี 2556 นี้ และยังไม่นับรวมอีกหลายบริษัทที่ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างศึกษาตลาดผู้บริโภคชาวเวียดนาม ก่อนขยายตลาดอย่างจริงจัง


จับตาใน ตลาดเวียดนาม เวลานี้คือ สังคม ไทยกำลังจะเข้าสู่การเป็น สังคมผู้สูงอายุ มาก ขึ้น แต่ เวียดนาม กลับมี คนวัยหนุ่มสาว อยู่ มาก มี ประชากร รวมกันกว่า 80 ล้านคน มี แรงงาน ในปัจจุบันรวมกันราว 50 ล้านคนแยก เป็นหญิง-ชาย อยู่ในสัดส่วนพอๆ กัน ซึ่งถือเป็น ข้อได้เปรียบ เพราะ คนหนุ่มสาวชาวเวียดนาม คือพลังสำคัญของชาติในอนาคต


เรียนรู้ โอกาสทอง กำจัด จุดอ่อน ได้
จากข้อมูลข้างต้นนับ เป็น โอกาสทอง ของ ธุรกิจขายตรง เลยทีเดียวแม้ว่าจะมีหลาย บริษัทใหญ่ขายตรงเข้าไปบุกเบิกขยายตลาด ก่อนหน้านี้ แต่ภาพรวมของการแข่งขันก็ยังถือว่า ไม่รุนแรงมากนักเมื่อเทียบถึง จำนวน ผู้บริโภค ที่คาดว่า จะเพิ่มขึ้นใกล้ๆ 90 ล้านคน ฉะนั้นการ ล่วงรู้ถึง พฤติกรรมผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายก่อน ตัดสินใจบริโภคสินค้าถือเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่บริษัทขายตรง จะต้องหา ผู้บริโภคชาว เวียดนามตัวจริง ของตัวเองเพื่อตอบสนองความ ต้องการให้ตรงจุดได้


มีปัจจัยหนึ่งที่จะมองข้าม พฤติกรรม ชาวเวียดนาม ไปไม่ได้ในยุคของ การสื่อสารที่ ไร้พรมแดน นั่นคือเรื่องของ พฤติกรรมชาว เวียดนาม ที่ทาง กระทรวงข้อมูลและสื่อสาร ระบุไว้ว่า เวียดนามเป็นประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ ในอันดับที่ 18 จาก 20 อันดับแรกของโลก ที่มี ประชากรเข้าถึง อินเตอร์เน็ต มากกว่าร้อยละ 30 และถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 8 ในภูมิภาคเอเชีย และเป็นอันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี


ฉะนั้นการที่ ชาวเวียดนาม ติดอันดับ โลก ใช้อินเตอร์เน็ตมากที่สุด ย่อมมีความหมาย ในตัวแล้วว่า ผู้บริโภค จะได้รับอิทธิพลจาก ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยผ่านทางอินเตอร์เน็ต หาก มีความสนใจผลิตภัณฑ์ที่บริษัทมีแต่ยังไม่ สามารถตอบสนอง ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ได้ อย่างรวดเร็วอาจกลายเป็น จุดอ่อนให้ธุรกิจไม่ ประสบความสำเร็จได้ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ ใหม่ในประเทศไทยของ ธุรกิจขายตรง ก็จะต้อง ออกพร้อมกันกับ ตลาดในเวียดนาม ด้วย เพราะถือเป็นตลาดเดียวกันแล้ว การออก ผลิตภัณฑ์ไม่พร้อมกันจะย่อมมีผลทั้งความรู้สึก ทัศนคติของผู้บริโภคได้เหมือนกันว่า ผลิตภัณฑ์ ที่ออกใหม่ในเวียดนาม แต่ออกช้ากว่าประเทศ ไทยถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ล้าหลัง เป็นต้น


ฉะนั้นการที่ ประชากร ของประเทศ มีสูงถึงประมาณ 80 กว่าล้านคนแล้ว การล่วงรู้ว่าผู้ บริโภคมีความต้องการ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมาก น้อยเพียงใดนั้นเป็นเรื่องสำคัญแน่นอน ยิ่ง ชาว เวียดนาม มีความต้องการบริโภคเพิ่มหรือมี อำนาจซื้อ หรือมีรายได้เพิ่มมากขึ้นยิ่งเกิดการ บริโภคเพิ่มขึ้นเท่านั้น


"ค้าปลีก-ขายตรง" ชิงผู้บริโภค 90 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม ตลาดในปัจจุบันในยุค ของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ได้เป็น ตลาดของ ผู้ซื้อ ไปแล้วไม่ใช่ ตลาดของผู้ขาย ขณะที่ ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า อุปโภคบริโภค ประเภทเดียวกันเริ่มเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะ ตลาดค้าปลีก ใน เวียดนาม หากดูจากผล การศึกษาของบริษัท AT Kearney ระบุชัดเจนว่า มูลค่าการค้าปลีกของเวียดนามจากปัจจุบันไป จนถึงปี 2557 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ต่อปี มี โอกาสที่จะดึงดูดการลงทุนจากบรรดาผู้ประกอบ การค้าปลีกทั้งในประเทศและต่างประเทศได้เป็น อย่างดี ไม่เพียงเท่านี้ยังมีรายงานในหัวข้อ Viet Nam Retail Market Forecast to 2014 พบว่า ช่องทางการพัฒนา ตลาดค้าปลีกสมัยใหม่ มี โอกาสขยายตัวได้ดีในอนาคต โดยมาจาก กำลัง ซื้อของผู้บริโภค และตลอดระยะเวลาหลายปีที่ ผ่านมาบริษัทผู้ค้าปลีกจากต่างประเทศมีความ พยายามที่จะขยายตลาดและเพิ่มสัดส่วนทาง การตลาดให้กับบริษัทของตน ด้วยจำนวนผู้ บริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 90 ล้านคน จึงทำให้ ตลาดค้าปลีกในเวียดนาม ได้รับความสนใจ อย่างยิ่งจากบรรดานักลงทุน ด้วยจำนวนผู้ บริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 90 ล้านคน


ฉะนั้น เวียดนาม วันนี้ถือจึงเป็น ตลาดใหญ่ ที่ทั้ง ตลาดค้าปลีกและ ตลาด ขายตรง มองไปที่จำนวนผู้บริโภคกลุ่มเดียวกัน ประมาณ 90 ล้านคน ผู้ประกอบการไทย เอง ที่มีความสนใจต้องการขยายตลาดอย่างจริงจังก็ สามารถฉกฉวย โอกาสจากความได้เปรียบที่มี อยู่ได้ ทั้งความเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง ของ ไทย และเป็น ศูนย์กลางทางผ่านของ สินค้าในภูมิภาค รวมถึงมี ภาพลักษณ์สินค้า ไทย ที่ครองตลาดมานานจะเป็นทุนช่วยให้ ธุรกิจขายตรงไทย สามารถเข้าไปครองส่วนแบ่ง ทางการตลาดโดยเฉพาะ ตลาดค้าปลีก ใน เวียดนามที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ เพราะแม้วันนี้ ธุรกิจขายตรง ไม่ต้องการแข่งขัน แต่อนาคตก็หนีไม่พ้นสนามแข่งขัน ในเมื่อ เวียดนาม วันนี้เปิด ตลาดค้าปลีก แล้วร้อยละ 100 เพื่อให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา ลงทุน มีบรรดานักลงทุนจากต่างประเทศเตรียมที่ จะพัฒนาระบบการค้าปลีกเข้าไปสู่ทุกพื้นที่ใน เวียดนาม แล้วก็คงถึงเวลาแ ล้วกับ ธุรกิจขายตรง ที่เตรียมขยายตลาดหันปรับตัว ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดรับกับ สถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอัน ใกล้นี้


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: นสพ.ธุรกิจเครือข่ายขายตรง ฉบับที่ 236 ปักษ์หลัง ประจำวันที่ 16-30 กันยายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น