ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ขายตรง (MLM) กับ อาเซียน (AEC) : จับตา "ขายตรงไทย" บุกชิงเค้ก :ตลาดพม่า" "หนุ่มสาววัยแรงงาน" 70% ขาดสินค้าให้ช็อป

แม้ที่ผ่านมาการเข้าไปลงทุนของ นักธุรกิจต่างชาติ ใน พม่า จะเต็มไปด้วย อุปสรรคนานัปการ โดยเฉพาะ ข้อจำกัด ทางด้าน กฏหมายอันเข้มงวด แต่ก็ไม่สามารถ ปิดกั้นการเข้าไปลงทุนของนักธุรกิจจากต่างแดนได้ ตลอด 23 ปีนับตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปี 2554 ไทย ถือเป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนสูงสุดอันดับ 1ใน พม่า ด้วยปริมาณการลงทุน รวม9,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 4 แสนล้านบาท แต่ทว่าก็เป็นเรื่องที่น่าตกใจไม่น้อย เมื่อ ไทย ได้เสียแชมป์สูงสุดอันดับ 1 ให้แก่ นักลงทุนจีน ในปี2555นี้เอง โดย นักลงทุน จีน มีมูลค่าการลงทุนใน พม่ารวมสูงสุดประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น ร้อยละ 34.5 ของยอดเงินลงทุนทั้งหมด ทำให้มูลค่าการลงทุนของ ไทย ใน พม่า หล่น ไปอยู่อันดับ 2



 



 


บรรยากาศเริ่มสดใสหลัง สภาพล่างพม่า ผ่านกม.ลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน หรือ บีโอไอ ได้พยายามเร่งเครื่อง ทวงแช้มป์กลับคืนด้วยการขนทัพ นักลงทุน ยักษ์ใหญ่ของไทย บุกไป พม่า อีกหนเพราะ เห็นว่ามี โอกาส ที่จะทวงแช้มป์กลับคืนมาได้ โดยอาศัยทุนเดิมที่มีคือ ความไว้วางใจ จาก ทางการพม่า และ พฤติกรรมผู้บริโภคชาว พม่า ที่มีรสนิยมบริโภคสินค้าแบรนด์ไทย เนื่องจากมีคุณภาพสูงกว่าผู้ผลิตในอีกหลายประเทศ


ขณะ ปราณี ศิริพันธ์ ผู้ตรวจ ราชการ กระทรวงพาณิชย์ เคยระบุไว้ว่า ที่ผ่าน มา ธุรกิจคนไทย ล้วนประสบความสำเร็จ ในการเข้าไปลงทุนใน พม่า และ ธุรกิจขาย ตรงก็เป็นหนึ่งในนั้น เพราะหากดูสถิติการค้า ระหว่าง ไทย กับ พม่า เมื่อปี 2554 จะพบว่า มีมูลค่าสูงถึง 6,114 ล้านเหรียญสหรัฐ และ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 มีอัตราการขยายตัว มากถึงร้อยละ 25.12 นับว่าเป็นตลาดสดใสไม่ น้อยกับการเข้าไปแสวงหา โอกาส และลู่ทาง ขยายตลาดใน พม่า


ทั้งนี้หากภาครัฐร่วมมือภาคเอกชนทุก กลุ่มอุตสาหกรรมที่เห็นช่องทางการลงทุนใน พม่า ก็มีแนวโน้มสูงที่ ไทย จะได้กลับผงาด เป็นอันดับ 1 ด้านการลงทุนอีกครั้ง เนื่องจาก บรรยากาศการลงทุนขณะนี้เริ่มผ่อนคลายขึ้น มากหลังมีกระแสข่าวดีออกมาเมื่อกลางเดือน สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมาว่า สภาล่างพม่า ได้อนุมัติร่างกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ว่าด้วย การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ ที่ต่างถกเถียง หารือถึงประเด็นการอนุญาตให้ นักลงทุน ต่างชาติ ถือหุ้นในธุรกิจที่ลงทุนได้ถึงร้อยละ 100 หรือจะลงทุนในรูปแบบของการร่วมทุน กับเอกชนหรือหน่วยงานรัฐบาลได้ ภายใต้ข้อ กำหนด นักลงทุนต่างชาติ ต้องมีสัดส่วนใน การลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของยอดเงิน ลงทุนทั้งหมด ซึ่ง รอล์ฟ-ไดเตอร์ ดาเนียล ประธานศูนย์ธุรกิจยุโรปอาเซียนมองว่า ยิ่ง พม่าเปิดประเทศมากเท่าใด ไทยก็มีโอกาสสูงสุดที่จะเป็น ประตูทาง ผ่านเข้าสู่พม่า หรือ เกตเวย์ ได้ เพราะมีชายแดน และความ สัมพันธ์ที่ดีกับ พม่ามาก


พม่า กำลังซื้อพุ่งายตรงรุกสร้างสีสัน
ทั้งนี้จากข้อมูลของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ระบุว่า พม่า เป็น ประเทศ คู่ค้า อันดับ 3 ของ ไทย ในกลุ่มกลุ่มอาเซียน ใหม่และเป็น ตลาดใหญ่ ที่มี ประชากรอยู่ประมาณ 54.5 ล้านคนสูงกว่า กัมพูชา และ สปป.ลาว แต่กำลังซื้อยังไม่มากนัก ด้วย ข้อจำกัดของทางเลือกในการบริโภคที่มีไม่ มากนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีแหล่งท่องเที่ยว และสถานบันเทิงไม่มาก ทำให้รายได้ส่วนใหญ่ ของชาวพม่าถูกนำไปใช้จ่ายซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เป็นหลัก


ดังนั้นสินค้าในกลุ่ม ผลิตภัณฑ์เสริม ความงาม โดยเฉพาะ เครื่องสำอาง ทั้ง ครีมบำรุงผิว ที่มีสรรพคุณช่วยลบเลือน ริ้วรอย หรือช่วยให้ผิวหน้าขาวใส และครีม กันแดด กลายเป็นสินค้ากลุ่มที่มีความ โดด เด่น และมีโอกาสขยายตัวสูงใน ตลาดพม่า เนื่องจาก หนุ่มสาววัยแรงงาน มักนิยม ทดลองใช้สินค้าแปลกใหม่ที่เพิ่งวางจำหน่าย และตัดสินใจซื้อได้ง่าย เพียงแต่มี สินค้า ให้ เลือกซื้อใช้ไม่มากนัก ขณะที่ กำลังซื้อ ของ ผู้บริโภคชาวพม่า พบว่ามีกำลังซื้อพอสมควร หากดูจากรายได้ต่อหัวของประชากร (GDP perCapita) ในปี 2555 นี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 855 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปีจากระดับ 742 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปีในปี 2553


ดังนั้นความเป็น ตลาดใหญ่ ของ พม่า วันนี้ก่อนเปิด AEC จะเห็นกองทัพ นักลงทุนไทย บุกไป พม่า อย่างคึกคักกัน เลยทีเดียวไม่เว้นแม้แต่ ธุรกิจขายตรงไทย ที่หลากหลายบริษัทขายตรงต่างเดินทางไม่ ขาดสายไปปักธงใน พม่า กันอย่างต่อเนื่อง และนับวันจะคึกคักเพิ่มมากขึ้นทุกที อย่าง มิสทิน บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ธุรกิจขายตรงชั้นเดียว แบรนด์เครื่อง สำอางรายแรกที่เข้าไปบุกเบิก ตลาดพม่า มาก่อนหน้านี้ได้ประมาณ 8 ปีก็ออกมา สร้างสีสันในตลาดพม่าอย่างจริงจัง ซึ่ง ดนัย ดีโรจน์วงศ์ กรรมการผู้จัดการ เชื่อมั่นว่าพม่า ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าจะก้าวขึ้นสู่ประเทศ ดาวรุ่งวันนี้จึงร่วมทุนกับ สหพัฒน์ ผู้ผลิต สินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของไทย ลงทุน ตั้งโรงงานผลิตพร้อมกับเพิ่มความเข้มข้น กลยุทธ์ทางการตลาดด้วยการโฆษณา และ จัดกิจกรรม ขณะบริษัทขายตรงรายอื่นๆ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ยูนิตี้ บริษัท คังเซน- เคนโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ต่างไปลุย ปักธงรอบุกตลาดชิงส่วนแบ่งในอนาคตกัน แล้ว แม้แต่บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจเครือข่ายเอสเนเจอร์ บัญชา เหมินทคุณ รองกรรมการผู้จัดการ ซึ่งมั่นใจ ว่าการแข่งขัน ตลาดเครือข่ายใน พม่า ยัง น้อยกว่า ไทย และ กำลังซื้อ ถึงแม้จะน้อย กว่า ไทย แต่ก็มีความเชื่อมั่นว่า ประชากรยัง ต้องการมีรายได้เสริม


หนุ่มสาววัยแรงงาน เกือบ 70% ขาดสินค้าให้ช็อป
ฉะนั้น โอกาส ที่จะได้เห็น ธุรกิจ ขายตรงไทย ไปสร้างสีสัน การแข่งขันจะดุเดือดขนาดใดในอนาคตคงได้เห็นในช่วงไม่เกิน 5 ปีในไม่นานนี้ เพราะขนาด มิสทิน ได้ถึง ขั้นเปิดเผยผลสำรวจชิงความได้เปรียบใน ตลาดพม่า ก่อนใครแล้วว่าเครื่องสำอางค์ มิสทิน ได้ ครองความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดเครื่องสำอางที่อยู่ในใจของ ผู้หญิง พม่า ด้วยภาพลักษณ์เทียบเท่าเครื่องสำอาง แบรนด์เนมจาก ยุโรป-อเมริกา และต่อไป มิสทิน จะเพิ่มความเข้นข้นในการเจาะตลาด ด้วยการโฆษณาและกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและ เข้าถึง พฤติกรรมผู้บริโภคชาวพม่า


ปัจจุบันสินค้าในกลุ่ม ผลิตภัณฑ์เสริม ความงาม โดยเฉพาะเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะเป็น ครีมบำรุงผิวที่มีสรรพคุณช่วยลบเลือนริ้วรอย หรือช่วยให้ผิวหน้าขาวใส และครีมกันแดด เป็นสินค้ากลุ่มที่มีโอกาสขยายตัวสูงใน ตลาดพม่า เนื่องจาก หนุ่มสาววัยแรงงาน มักนิยมทดลองใช้สินค้า แปลกใหม่ที่เพิ่งวาง จำหน่ายและตัดสินใจ ซื้อได้ง่าย เพียงแต่มี สินค้า ให้เลือกซื้อใช้ไม่ มากนัก


นอกจากนี้จะเห็น ว่า พฤติกรรมผู้บริโภค ชาวพม่า จะพบว่า เกือบ ร้อยละ 70 ของจำนวน ประชากรทั้งหมดอยู่ในวัย ทำงาน ซึ่งมีช่วงอายุ ระหว่าง 15-64 ปี เป็น กลุ่มผู้บริโภคสำคัญ ที่ มี อำนาจซื้อ โดย เฉพาะ หนุ่มสาววัย แรงงาน ที่ล้วนแล้วแต่เคยมี ประสบการณ์ กับสินค้า ไทย หากมีความคุ้นเคยหรือเคยมี ประสบการณ์ใช้แล้วเป็นที่พอใจก็จะช่วยให้เกิด ความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของสินค้าและง่ายต่อ การตัดสินใจซื้อซ้ำ


ดังนั้น ธุรกิจรายใดก็ตามหากมี ความรู้ความเข้าใจใน โครงสร้างประชากร วิถีการบริโภค รสนิยมและการเลือกซื้อ สินค้าของ ผู้บริโภคชาวพม่าจะมีส่วนช่วย ให้ผู้ประกอบการไทยสามารถวางกลยุทธ์ การผลิตและส่งออกสินค้าให้สอดคล้องกับ ความต้องการของลูกค้าในพม่าได้ดียิ่งขึ้น คนแรกที่เข้าถึงผู้บริโภคก่อน สินค้าเป็นที่ ถูกใจและพึงพอใจทำให้เกิดการซื้อซ้ำหรือ ที่เรียกว่า ย่อมมีโอกาสที่จะเข้าไปนั่งใจใจ ของผู้บริโภคและตัดสินใจซื้อสินค้าใช้ใน โอกาสต่อไป


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: นสพ.ธุรกิจเครือข่าย ฉบับที่ 235วันที่ 1- 15 กันยายน พ.ศ. 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น