ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ข่าวขายตรง (MLM Thailand) : "วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล" โปรยยาหอมขายตรงเปิดทางประกันภัยแข่งบริการตราสัญลักษณ์


วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมต.ประจำสำนักนายกฯ โปรยยาหอมขายตรงไม่ใช่ธุรกิจเพ่งเล็งฐานเอาเปรียบผู้บริโภค โครงการติดตราสัญลักษณ์คุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ส่อแววสดใส บริษัทประกันหลายแบรนด์สนใจร่วมเสนอเงื่อนไข เข้าร่วมโครงการ เยียวยาผู้บริโภค เพื่อเป็นทางเลือก สำหรับผู้ประกอบการ หลัง บมจ. เมืองไทยประกันภัย ยกมือเอาด้วย เกทับ ทิพยประกันภัย ออกเบี้ยประกัน 0.04-0.15% จากยอดขาย รายปี พร้อมเดินสายเรียกลูกค้า

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าด้านการรณรงค์ ให้มีการติดตราสัญลักษณ์ สคบ. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคว่า ที่ผ่านมาปัญหาหลักของโครงการดังกล่าว คือ ระบบประกันภัยที่จะเข้ามาเยียวยาคุ้มครอง ผู้บริโภคร่วมกับทางภาครัฐ

ยังไม่มีความชัดเจนในด้านของ หลักเกณฑ์ การวางระบบประกัน และ เดิม สคบ.ประสานความร่วมมือไปกับทาง บมจ.ทิพยประกันภัย เพียงบริษัท เดียว เนื่องจากเป็นบริษัทที่รัฐเป็น ผู้ถือหุ้น ทำให้ง่ายต่อการดำเนินงาน แต่เมื่อผู้ประกอบการในหลายธุรกิจมีความเห็นว่าน่าจะมีทางเลือกเกี่ยวกับ ระบบประกันภัยให้พวกเขามากกว่านี้ เพื่อความยุติธรรมของทั้งตัวบริษัทเอง และต่อผู้บริโภค ขณะนี้ทาง สคบ.จึงได้ตอบรับความต้องการดังกล่าวของผู้ประกอบธุรกิจที่จะขอรับตราสัญลักษณ์ โดยได้มีการติดต่อประสานไปยังบริษัท ประกันภัยต่างๆ ให้รับทราบถึงโครงการ นี้ วรวัจน์ กล่าว

ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่ขณะนี้มีบริษัทเมืองไทยประกันภัย ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวกับรัฐบาล โดยที่ผ่านมาได้มีการประชุมพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ไป บ้างแล้ว และจะให้ผู้ประกอบธุรกิจของบริษัทต่างๆ ให้มีการประชุมหารือถึงแนวทาง ความร่วมมือกับบริษัทเมืองไทยฯ กันต่อไป และเหนืออื่นใด เท่าที่ทราบก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่จะเข้ามาร่วมกับ สคบ.เพื่อคุ้มครอง ผู้บริโภค ซึ่งตนเชื่อว่าการที่บริษัทประกันต่างๆ หันมาเข้าร่วมโครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบการเอง สามารถที่จะเลือกระบบ ประกันภัยที่เข้ากับบริษัทของตนได้

ระบบการประกันจริงๆ มีอยู่หลายลักษณะ เช่น ระบบวางเงินค้ำประกัน หรือ ระบบที่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งตรงนี้บริษัทประกันแต่ละบริษัทอาจมีข้อเสนอที่แตกต่างกัน อาจมีการแข่งขันในเรื่องข้อเสนอต่างๆ และที่สำคัญเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ ที่ต้องสร้างความเข้าใจให้รับรู้กันโดยทั่วไป โดยเฉพาะผู้บริโภค ซึ่งที่ผ่านมาผู้บริโภคที่ได้รับความเสีย บางรายก็ไม่ได้เรียกร้องอะไร เนื่องจากไม่ทราบว่าต้องทำเช่นไร และ มีใครสามารถเยียวยา ช่วยเหลือได้บ้าง หรือ บางครั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นในวงเงิน 1-2 หมื่นบาท ผู้บริโภคก็ไม่อยากเรียกร้องให้ เสียเวลา จึงทำให้ผู้ประกอบการบางรายเข้าใจว่า ตนเองไม่เคยละเมิดสิทธิผู้บริโภค ทั้งที่จริงๆ มี ซึ่งต่อไปตนจะวางมาตรการว่า แม้จะเสียหายเพียงหลักร้อย หลักพันก็ต้อง เยียวยา อย่าปล่อยให้ผู้บริโภคกลายเป็นเหยื่อ

ประการสำคัญที่ผ่านมาไม่ว่าบริษัทเล็ก บริษัทใหญ่พอมีปัญหาอย่างนี้มักจะดึงเรื่องต่างๆ ขึ้นมาพูด เช่น บอกให้ผู้บริโภคไปฟ้องเอาเอง ส่วนใหญ่ต้องมีเรื่องก่อนถึงจะยอม ส่วนที่จะยอมเยียวยาก่อนเลยนั้นไม่มี ต้องให้ทาง สคบ. ออกมาตรการลงโทษ ทางกฎหมายจัดฟ้อง ซึ่งธุรกิจที่มีปัญหามากที่สุด คือ ธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ ธุรกิจซ่อมบ้าน ส่วนธุรกิจอื่นๆ เช่น ประกัน ขาย ตรงไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องการรับผิดชอบต่อผู้บริโภคในกรณีเกิดปัญหาขึ้น นายวรวัจน์ กล่าว

อย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบกันว่าเรื่องกา ร ติดตราสัญลักษณ์นี้เป็นเรื่องใหม่ เราจึงจำเป็นต้องปรึกษากันในระดับของสมาคมก่อน ให้แต่ละสมาคมได้มีการปรึกษากันภายในระหว่างสมาชิก ซึ่งจะทำให้เกิดความ สะดวกในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น มีลักษณะการจัดการอย่างเป็นระบบ มากกว่า ก่อนที่จะเผยแพร่ส่งเสริมความร่วมมือไปสู่บริษัทต่างๆ ที่อาจอยู่นอกเหนือ สมาคม ซึ่งตนเชื่อว่า แต่ละบริษัทผู้ประกอบ การจะมีความเข้าใจตรงกันในที่สุด ไม่มีข้อกังขาว่ารัฐบาลไม่ให้ความสนใจท่าน หรือเลือกที่รักมักที่ชัง

ซึ่งในเรื่องนี้ ล่าสุดทาง สคบ.ได้ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เข้ามาเป็นพันธมิตรในการเป็นหนึ่งในบริษัทประกัน ร่วมกับ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทขายตรงเลือกใช้บริการในการทำประกัน เพื่อตอบสนองกฎเกณฑ์ของโครงการ ในการขอรับตราสัญลักษณ์ สคบ.

ทางด้าน นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัททำตลาดประกันภัยความรับผิดต่อสินค้ามา 4-5 ปี โดยรวมอยู่ในกลุ่มการประกันภัย พิเศษ (Special Product) ทั้งการประกันภัยความรับผิดของกรรมการและพนักงาน (D&O), การประกันภัยสินเชื่อทางการค้า หรือเทรดเครดิต และการประกันภัยก่อการร้าย ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้เป็นเทรนด์ที่กำลังได้รับ ความสนใจจากลูกค้ามากขึ้น ตลาดเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ความได้เปรียบของเรา คือ เราทำ ตลาดมานาน มีทีมงานเชี่ยวชาญเฉพาะซึ่ง เราส่งไปเรียนจากรีอินชัวเรอส์ ทั้งในและต่างประเทศ สามารถที่จะให้คำแนะนำลูกค้า ได้อย่างดี โดยเฉพาะประกันภัยความรับผิด ต่อสินค้า เรามีลูกค้าประมาณ 40 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจส่งออก อัตราความเสียหาย (Loss Ratio) ไม่สูงไม่ถึง 30% โดยมีเบี้ยประมาณ 100 ล้านบาท จากเบี้ยในส่วน ของการประกันภัยพิเศษที่ครึ่งปีแรกเราทำได้แล้ว 600 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ 70-80% เป็นเบี้ยจากประกันภัยก่อการร้าย

สำหรับความร่วมมือกับสคบ.ในครั้ง นี้ บริษัทคิดอัตราเบี้ย 0.04-0.15% ของยอดขายในแต่ละปีของสินค้านั้น โดยจะชดเชย ค่าสินไหมให้กับผู้บริโภคกรณีได้รับความบาดเจ็บ หรือเสียหายต่อร่างกายเนื่องจาก การใช้สินค้า หรือบริการรวมไปถึงค่าปลอบขัวญตามเงื่อนไขกรมธรรม์

เดิมมีเสียงร้องมาว่าเบี้ยแพงไป ทำให้เพิ่มต้นทุนเจ้าของสินค้า เราจึงหารือกับรีอินชัวเรอส์ได้อัตราเบี้ยนี้ออกมา ซึ่ง 0.04-0.15% ของยอดขายถือว่าไม่มากเมื่อ เทียบกับความคุ้มครองที่ได้ โดยเงื่อนไขความคุ้มครอง และอัตราเบี้ยประกันของ ผู้ประกอบการแต่ละรายจะไม่เหมือนกัน ขึ้น กับความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่งบริษัทจะได้พิจารณาดูว่าแต่ละธุรกิจมีความเสี่ยงแค่ไหน คงไม่ได้รับทั้งหมด โดยเมืองไทยฯ ก็จะเข้า ไปร่วมให้คำแนะนำลูกค้าในวันเปิดรับสมัคร ผู้สนใจร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. และ จากนั้นมีแผนจะเข้าไปอบรมให้ความรู้กับ ผู้ประกอบการที่สนใจด้วย

ก่อนหน้านี้ ทางด้าน นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยื่นความจำนงเข้ารับประกัน แต่ ติดขัดตรงที่อัตราเบี้ยประกันแข็งเกินไป โดยกำหนด 26 สินค้าเป็นอัตราเดียวกันหมด และเอารายได้มาเป็นเกณฑ์ ซึ่งบริษัทขายตรงเขาไม่รับ ทำให้บริษัทขายตรงบางแห่ง เลือกที่จะบริหารความเสี่ยงเอง ปัจจุบันจึงมีทางเลือกออกมา 3 แนวทางคือ 1.ทำให้ ธนาคารการันตีก็ได้ 2.ตั้งเป็นกองทุนก็ได้ 3.ทำประกันภัยก็ได้ ยกตัวอย่าง บริษัท A เคยถูกร้องเรียนอย่างไร มีการชดเชยให้กับ ผู้บริโภค 3 แสนบาท ก็ให้ตั้งตรงนี้เป็นเกณฑ์ เบี้ยประกันขึ้นมา เดิมทิพยประกันภัยไปกำหนดเอา 0.1% ของรายได้เงื่อนไขนี้แข็งไป ก็เลยต้องเปลี่ยนใหม่


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: นสพ.สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1334 ประจำวันที่ 12-9-2012 ถึง14-9-2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น