ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimlmnews.com
เชื่อมต่อทุกข่าวสาร ยิงทุกประเด็นร้อน แหล่วรวมธุรกิจเครือข่าย

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผู้ค้าจับสินค้าสู้บริการสู้สื่อออนไลน์ยังแค่อาวุธลับ



การแข่งขันของธุรกิจขายตรงในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าเป็น การแข่งขันที่สูง เนื่องจากบรรดาบริษัททั้งแบรนด์เล็ก หรือแบรนด์ใหญ่ก็ล้วนแต่ต้องการมีส่วนในเค้กมูลค่าการตลาดที่ปัจจุบันสูงถึงแสนล้านบาท ซึ่งแต่ละค่ายก็ล้วนต้องการชิ้นใหญ่ เพื่อให้เป็นของตนเอง

โดยในอดีตที่ผ่านมาขายตรงพยายามที่จะใช้เรื่องของรายได้ และ ความร่ำรวยเป็นสิ่งสำคัญในการหา สมาชิก หาลูกค้าเข้ามาสู่แบรนด์ของ ตัวเอง แต่ด้วยความก้าวหน้าของยุค ปัจจุบัน สิ่งนี้ดูจะไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด ในการสร้างตลาด เพราะบรรดา ผู้บริหารหลายค่ายเริ่มงัดกลยุทธ์ ใหม่ขึ้นมาเล่นกันบ้างแล้ว

ดร.นพรุจ เวชกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท นีโอ ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า “ธุรกิจขายตรงในปัจจุบันเป็นธุรกิจที่มีชื่อเสียงแพร่ กระจาย ซึ่งบรรดาบริษัทพยายามใช้ สื่อต่างๆ ในการสร้างแบรนด์ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้ประชาชนผู้บริโภค เดินเข้าวงการเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความต้องการใช้จ่ายเพิ่ม การหารายได้เสริม เป็นสิ่งที่พวกเขาคิดถึงการเติบโต ของมูลค่าตลาดรวมขายตรงในปีหน้า มีโอกาสที่จะขยายตัวไม่น้อยกว่า 20%” ประธาน นีโอ ไลฟ์ฯ เผย

ทั้งนี้ เรื่องการแข่งขัน ดร.นพรุจ มองว่า ธุรกิจขายตรงจะเน้นเรื่องของการบริการเป็นสำคัญ ในการนำ ขึ้นมาเป็นอาวุธสร้างยอดขายเพราะ เรื่องของสินค้า และแผน ก็เป็นสิ่งที่หลายบริษัทใช้เป็นอาวุธมานานอยู่แล้ว ซึ่งการบริการจึงเป็นอาวุธที่จะสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบ ของธุรกิจขายตรงในอนาคต

อย่างไรก็ดี ปัญหาที่อาจทำให้ มีผลกระทบต่อธุรกิจขายตรงปีนี้ ดร.นพรุจ เผยว่า “น่าจะเป็นในเรื่องของการขึ้นค่าแรงของรัฐบาล ซึ่งหากค่าแรงขึ้น บรรดาพนักงานอาจมีความพึงพอใจในรายได้ต่อเดือนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบกับธุรกิจขายตรง แต่หากมองในแง่ดี เมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มก็จะมีกำลังในการซื้อเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน”


ด้านพ.ญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด เปิดเผยว่า “การแข่งขันในปีนี้ ธุรกิจขายตรง จะใช้เรื่องของตัวสินค้าเป็น อาวุธในการเก็บเกี่ยวยอดขาย โดยส่วนของแผนการตลาดจะไม่ใช่จุดผู้ค้าจะเอาขึ้นมาใช้ในการทำตลาด เนื่องจากความเหมาะสมที่บรรดาผู้ค้า และนักธุรกิจได้เห็น และสัมผัสในช่วงที่ผ่านมา น่าจะทำให้พวก เขารู้แล้วว่า ตัวเองมีความเหมาะสมกับแผนการตลาดแบบใด”

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันทางสินค้า หมอต้อยก็ได้ขยายความว่า “เรื่องราคาและความต้องการของสินค้า จากผู้บริโภค นับเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากผู้บริโภคจะใช้ เงินในส่วนที่ไม่จำเป็นมากนักน้อยลง การ ขายสินค้าต้องคำนึงถึง 2 ส่วนนี้เป็นหลัก เพราะผู้บริโภคมองไปที่ปัญหา ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต”

โดยปัญหาใหญ่ที่หมอต้อยมองว่า อาจจะเกิดขึ้นในปีหน้า และสร้างผลกระทบ ต่อธุรกิจ ก็น่าจะยังคงเป็นเรื่องของน้ำท่วม ซึ่งหลายภาคส่วน รวมถึงตัวประชาชนเอง ก็ต้องตระหนักถึง แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็ยังมีความมั่นใจในตัวรัฐบาลว่า ไม่น่าจะปล่อย ให้ปัญหาเดิมเกิดขึ้นมาอีก โดยในส่วนของ มูลค่าตลาดรวมของธุรกิจขายตรงนั้น พ.ญ.นลินี มองว่า น่าจะโตที่ 15% ในปีหน้า

นอกเหนือจากเรื่องของการใช้สินค้า และบริการขึ้นมาเป็นอาวุธแล้ว ธุรกิจขาย ตรงยังหันไปใช้เรื่องของเทคโนโลยีในการ เข้าหาผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ โดยนางวิภารัตน์ รัตนพรหมมา ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ตาฮิเตียน โนนิ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศ ไทย) จำกัด มองว่าการเน้นระบบสื่อสาร ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่จะส่งผลดีต่อการทำธุรกิจมากขึ้น เพราะว่าระบบ social network ค่อนข้างที่จะไปเร็ว แต่ในขณะเดียว กันทุกอย่างก็เหมือนกับเป็นเหรียญสองด้าน คือ เมื่อสื่อ social network มีความ ง่ายดายต่อการใช้ ซึ่งใครก็สามารถเรียนรู้ได้ เราผู้ทำธุรกิจก็ต้องให้ความสำคัญกับ ข้อมูลต่างๆ ก่อนว่า เมื่อเราส่งออกไปแล้ว ฟีดแบ็กจะดีขนาดไหน จะส่งผลดีหรือผลเสียแก่ตัวเรา

นอกจากนี้ ในขณะที่เราทำสื่อ social network เราก็ต้องไม่ลืมพื้นฐานของการทำธุรกิจ ที่จะต้องมีการพบปะ พูดคุย สร้าง สัมพันธ์แบบตัวต่อตัว ปากต่อปาก เพราะ ว่า การบอกเล่าเรื่องราวของผลิตภัณฑ์แบบปากต่อปาก ยังถือว่าใช้ได้ดีอยู่ในสังคมไทย คือตนคิดว่าระบบ social network อาจจะใช้ได้ดีเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่ม ที่เขามีความรู้ หรือกลุ่มที่เขาใช้อินเตอร์เน็ตเป็น แต่หากเป็นคนต่างจังหวัด หรือคนที่เขาไม่สนใจตรงจุดนี้ การรับรู้อย่างเต็มที่ของเขาก็คงเป็นโทรศัพท์มือถือ และ เปเปอร์ เพราะฉะนั้นตนมองว่าเราต้องใช้ ผสมผสานกันทั้งสองส่วน

อย่างไรก็ดี ระบบตรงนี้อาจทำให้เด็ก Gen Y หรือกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่เป็นเด็ก โซเชียล ให้มาสนใจในระบบเครือข่ายกันมากขึ้นกว่าเดิม เพราะพวกเขามีลักษณะความเป็นตัวของตัวเองสูง หรืออยากที่จะ เป็นนายตัวเอง ดังนั้นการทำธุรกิจที่ได้เงิน แล้วมีอิสระในชีวิต ก็น่าจะส่งผลให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้หันมาสู่ธุรกิจเครือข่ายมากขึ้น แต่ก็อยู่ที่ว่าแต่ละบริษัทจะได้นำเสนอสิ่งที่ถูกตาต้องใจเขาได้มากน้อยแค่ไหน

ทั้งนี้นางวิภารัตน์กล่าวว่า ขณะนี้ TNI ก็มีโซเชียล หรือมีสิ่งของบริษัทที่ใช้กันได้ทั่วโลก คือบริษัทได้จัดทำโปรแกรมหนึ่งที่เป็นโปรแกรมสื่อสารระหว่างประเทศ เสมือน MSN ที่เราสามารถแชดกันได้ เพื่อ ให้สมาชิก และทีมผู้บริหารได้ใช้ติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: นสพ.สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1274 ประจำวันที่ 11-2-2012 ถึง 14-2-2012

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น